เมื่อเครื่องจักรเสีย ปัญหาที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น !!!
กับคำถามยอดฮิต : เกิดจากอะไร? ทำไมต้องเสีย ? ไม่เสียได้ไหม ?
คำถามมากมายเกิดจากปัญหาเดียว แล้วใครจะเป็นคนตอบปัญหานี้
หรือต้งเป็นหน่วยงานซ่อมบำรุงต้องตอบ เพราะเป็นคนซ่อมเครื่องจักร
แล้วล่ะคุณคิดว่าอย่างไร ?
แต่ในของโลกความเป็นจริง เราเองไม่มีเวลาการทำตามขั้นตอนอะไรมากนะ เพราะทุกอย่างเป็นเงินเป็นทอง
ดังนั้น การแก้ไขจึงมีด้วยกัน 2 ประเภทหลักๆ
1. ซ่อมเพื่อให้ใช้ได้ทันที ไม่สนวิธีการ เอาเครื่องจักรเดินให้ได้ก่อน
2. ป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ
ข้อแรก : ยังไงก็ต้องทำอยู่แล้วครับ มันขึ้นอยู่ทักษะการซ่อมหรือจัดการ ว่าจะใช้เวลามากหรือน้อย
ผมเองสนใจข้อ 2 มากกว่า เพราะมันเป็นสิ่งที่ใช้วัดความสามารถของทีมงานได้อย่างดี หากต้องการป้องกันอย่างเป็นระบบต้องดำเนินการแบบนี้
ขั้นแรกการแยกสาเหตุเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหา เราต้องทำความรู้จักกันก่อนว่า เครื่องจักรหยุด มีสาเหตุด้วยกัน 9 อย่าง
- การสูญเสียจากการชัตดาวน์ (Shutdown losses)
- การสูญเสียจากการปรับการผลิต (Production adjustment losses)
- การขัดข้องของเครื่องจักร (Equipment failure losses)
- การขัดข้องในขบวนการผลิต (Process failure losses)
- การสูญเสียขณะเริ่มเดินเครื่อง/หยุดเครื่อง (Normal Production losses)
- การสูญเสียจากการผลิตที่ไม่ปกติ (Abnormal Production losses)
- การเกิดของเสีย (Quality Defect losses)
- การนำกลับมาผลิตซ้ำ (Reprocessing losses)
- การสูญเสียจากการจัดการ (Management losses)
เมื่อรู้แล้วก็ต้องแยกสาเหตุให้ได้ จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการวิคราะห์และแก้ไขให้เสร็จ อย่าลืมทำให้เป็นมาตรฐาน เพื่อป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำและกระจายความรู้นี้ต่อไปยังผู้อื่น ด้วยวิธีที่มีชื่อเรียกว่า THEME RESOLUTION SUMMARY หรือ สรุปบทวิเคราะห์
ขั้นสอง : เป็นประเภทนึงที่เราไม่ค่อยทำกัน แต่มีประสิทธิภาพมาก คือ Autonomous maintenance (AM) หรือ การบำรุงรักษาด้วยตัวเอง มันจะเป็นเครื่องมือบอกคุณว่าจะทำอย่างไรให้รู้ล่วงหน้าหรือสามารถแก้ไขก่อนเครื่องจักรจะเสีย หน้าที่นี้ควรเป็นของใคร คำตอบ 100% จากทุกคนในโรงงาน จะมุ่งไปที่ส่วนงานซ่อมบำรุง แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่นะครับ ต้องเป็นของเจ้าของเครื่องจักรที่ใช้งานทุกวันหรือตลอดเวลาเท่านั้น และขั้นตอนแรกที่ต้องทำ พื้นฐานมีด้วยกัน 3 Step
Step 1 : กิจกรรมง่ายๆที่ทรงประสิทธิภาพ พื้นฐานของขั้นแรกของ AM
” Cleaning is inspection “
การทำความสะอาด คือ การตรวจสอบที่ดี
การทำความสะอาดเครื่องจักร ไม่ใช่เพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ทำเพื่อตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติ และเมื่อพบสิ่งผิดปกติก็ดำเนินการแก้ไขคืนสภาพเครื่องจักรให้เหมือนใหม่ เมื่อครั้งซื้อมาตั้งแต่แรก
Step 2 : กำจัดแหล่งกำเนิดความสกปรกและบริเวณเข้าถึงได้ยาก มี 2 อย่างที่ต้องคำนึงถึง
- ค้นหาและกำจัดแหล่งกำเนิดการรั่วไหล
- ปรับปรุงจุดที่ยากแก่การเข้าถึง
จากนั้นลงมือทำ Kaizen เน้นให้เราเองทำความสะอาดจะตรวจสอบเครื่องจักรได้ง่าย
Step 3 : สร้างมาตรฐานการทำความสะอาด ตรวจเช็คและหล่อลื่น
เน้นการดำเนินการในรูปแบบของการควบคุมด้วยสัญญลักษณ์ภาพ หรือ Visual Control
ลองทำพื้นฐานก่อนนะครับ ถ้าไม่ดีขึ้นค่อยว่ากันอีกที เพราะ AM มีทั้งหมด 7 Step
“ เครื่องจักรมันพูดไม่ได้ เราต้องดูแลมัน
เพราะเครื่องจักรมีเสียงว่า เงิน เงิน เงิน ”
My machine, I take care it I Love my Machine
** ใครสนใจเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมสามารถติดต่อผมได้ทาง Inbox นะครับ บริการให้คำปรึกษาฟรี
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#Engiperform