Data loss หรือ ข้อมูลความสูญเสีย เปรียบเสมือนต้นน้ำที่ต้องวางรากฐานให้ดี

Data loss หรือ ข้อมูลความสูญเสีย เปรียบเสมือนต้นน้ำที่ต้องวางรากฐานให้ดี และจัดการข้อมูลให้ดี !!! งานข้อมูลจะมีความสำคัญเสมอกับองค์กรที่ต้องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลมีทั้งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ มันอยู่ที่่ว่าคุณนำกรองจะนำไปใช้อย่างไร องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างมาก เพราะคนที่ใช้ข้อมูลทำงานจะสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุงได้อย่างถูกจุด โดยจะไม่พบการปรับปรุงที่ไม่ตรงจุดหรือแก้ไขมั่วซั่ว หว่าวแหไปเรื่อยๆ TPM เองก็ให้ความสำคัญกับข้อมูลอย่างมาก เพราะหลายครั้งที่เราใช้ข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ทำให้เสียเวลาในการแก้ไขปัญหา TPM ดังนี้นในเสา FI เลยมีขั้นตอนมาตรฐาน 4 ขั้นตอนที่ใช้สำหรับ กลั้นกรองข้อมูลความสูญเสียดังนี้ Losses Structure โครงสร้างความสูญเสีย ที่ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับองค์กรของท่าน โดยส่วนใหญ่จะแบบออกเป็น 3 อย่างเป็นหลัก Machine or Equipment Losses หมายถึง การหยุดของเครื่องจักรทั้งที่วางแผนและไม่ได้วางแผน รวมถึงของเสียด้วย Human or Labor Losses หมายถึง ความสูญเสียด้านเวลา การรอคอย ที่เกี่ยวข้องกับคน Resource Consumption Losses หมายถึง ความสูญเสียด้านทรัพยากรที่รั่วไหล หรือใช้เกินความจำเป็น Losses Definition … Continue reading Data loss หรือ ข้อมูลความสูญเสีย เปรียบเสมือนต้นน้ำที่ต้องวางรากฐานให้ดี

Posted in UncategorizedTagged

TPM คุณเลือกเองได้ แค่ลงมือทำ !!!

TPM เริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในธุรกิจโรงงานอุตสากรรม ที่มีเครื่องจักรเป็นแกนหลักในการผลิตเนื่องจากโลกของการผลิตมีสิ่งสำคัญที่กวนใจทุกโรงงาน คือ Machine Breakdown หรือเครื่องจักรเสีย ผมเองได้ศึกษากระบวนการกำจัดการหยดของเครื่องจักรในหลายๆ รูปแบบ ก็พบว่า TPM นั้นตอบโจทย์ที่สุด เนื่องจากเครื่องมือบริหารที่ชื่อว่า TPM หรือ Total Productive Maintenance นั้นมุ่งเน้นการกำจัดความสูญเสียและป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ และยิ่งไปกว่านั้นการดำเนินด้วย TPM ยังส่งผลต่อค่าใช้จ่ายโดยตรง จึงยิ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริหารสมัยใหม่ แต่การทำหรือปฎิบัติ TPM นั้น เค้าว่ากันว่า ทำยากมาก เพราะมันต้องมีหลายส่วนงานเกี่ยวข้อง แถมระบบเอกสารยังเยอะอีก โรงงานหรือองค์กรเลยไม่นิยมทำ TPM เองก็เหมือนการเล่นหุ้นครับ มีทั้งขาขึ้นและขาลง มันก็แล้วแต่ผู้บริหารและนโยบายในแต่ล่ะปี แต่เรื่องนี้จะหมดไปทันทีถ้าคุณปรับระดับความสำคัญของงาน TPM  ผมเองได้ทดลองการดำเนินการ TPM มาหลายรูปแบบ  และสามารถสรุปการทำที่แบบออกเป็นเชิงรับและรุกได้ดังนี้ เชิงรุก : สร้างเชิงยุทธศาสตร์ เป็นงานริเริ่มใหม่ เป็นงานที่ริเริ่มขึ้นมา เพื่อสนองนโยบายขององค์กร ตั้ง TPM เป็นนโยบาย หรือ KPI และบังคับใช้ประเมินผลอย่างจริงจัง (KPI ส่วนตัวยิ่งดี) … Continue reading TPM คุณเลือกเองได้ แค่ลงมือทำ !!!

Posted in UncategorizedTagged

Overall Equipment Efficiency : 5 Process Line

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้เข้าไปศึกษากระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง ได้พบว่าข้อมูลเกี่ยวกับ OEE (Overall Equipment Efficiency ) มากมาย แต่ที่น่าตกใจ การคำนวณ OEE ของโรงงานนี้ สามารถรวมกันได้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเท่าที่ผมได้เรียนและทำเรื่อง OEE ไม่สามารรวมกันได้ จะแบ่งออกและคิดคำนวณตามลักษณะกระบวนการผลิตนั้นๆ จากนั้นไม่พอ ตามมาด้วยค่า OEE 30% กว่าๆ  หากเป็นจริงบอกได้คำเดียวปิดโรงงานไปดีกว่าครับ แต่ผมคิดว่าคงไม่ใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง แต่พอจะสามารถเดาได้เลยว่ามี 2 อย่างที่ผิดพลาด คือ ลงข้อมูลผิดและคำนวณผิด ไม่เป็นไรครับ ผมได้เริ่มแนะนำในทางที่ถูกต้องตามหลัก TPM ของ JIPM เริ่มจากอธิบายประเภทของ OEE มี 5 ประเภท แบ่งตามลักษณะสายการผลิต  องค์กรที่นำ OEE ไปใช้ต้องนิยามและเลือกใหใช้ให้ถูกต้อง สายการผลิตที่เครื่องจักรผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous production line) ความหมาย เครื่องจักรทำหน้าที่แตกต่างกัน ทำงานพร้อมกัน แต่ถ้าเครื่องไหนหยุดจะหยุดทั้งสายการผลิต การคำนวณค่า OEE : เลือกเครืองจักรที่เป็น … Continue reading Overall Equipment Efficiency : 5 Process Line

Posted in UncategorizedTagged

TPM , KPI , KAI ความต่อเนื่องที่ต้องมาพร้อมกัน!!

เป้าหมายสูงสุงของบริษัท คือ ???? นอกจากยอดขายแล้ว คุณนึกถึงอะไร   หากเน้นที่โรงานการผลิตหรือบริการต่างๆ งานขายจะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีสินค้าที่มีคุณภาพหรือบริการต้องเป็นที่ยอมรับของลูกค้า แต่มันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าไม่มีนโยบายหรือเป้าหมาย ( KPI ) ที่ชัดเจน ?? KPI : ABCD A = Accident B = Breakdown C = Complain D = Defect KPI Basic สำหรับโรงานการผลิตหรือบริการต่างๆ KPI: ABCD ต้องมีบทบาทเข้าไปมีผลต่อตัวเองหรือทุกคนในองค์กร หรือพูดง่ายๆ ส่งผลต่อเงินเดือนหรือปากท้องโดยตรง คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเข้าใจคำว่า KPI เนื่องจาก เข้าใจว่ามันเป็นเรื่องของผู้บริหารหรือผู้จัดการ ไม่ใช่หน้าที่ของลูกน้องหรือผู้ปฏิบัติแบบ shop floor ผมจะยกตัวอย่าง โรงงานที่ใช้เครื่องจักรผลิตสินค้าเป็นหลัก ผมได้นำหลักการบริหารงานแบบ TPM เป็นตั้ง KPI  และสิ่งที่ผมเน้นมีแค่ 4 เรื่องตาม … Continue reading TPM , KPI , KAI ความต่อเนื่องที่ต้องมาพร้อมกัน!!

Posted in UncategorizedTagged

Build up Cost Reduction from TPM จะทำให้องค์กร อยู่อย่างมั่นคง

Cost Reduction ที่มีรากฐานจาก TPM จะทำให้องค์กร อยู่อย่างมั่นคง ผมไม่รู้ว่าคุณทำระบบอะไรบ้างนะครับแต่ทุกองค์กรต้องมีงานที่เรียกว่า Cost Reduction หรือการลดต้นทุนการลดต้นทุนมีได้หลายวิธี  แต่ที่เห็นเป็นตัวเงินมากที่สุด หากทว่า องค์กรเน้นเครื่องจักรในการผลิตสินค้า ก็ต้องลดต้นทุนด้วยหลักการ TPM ทำให้ต้อง TPM อะไรๆก็ TPM ไม่แปลกใจเหรอครับ ระบบ TPM เน้นการมีส่วนรวมของคนทั้งองค์กร ให้มีกิจกรรมในการปรับปรุงแบบต่อเนื่อง มุ่งหวังการกำจัดความสูญเสียและป้องกันการเกิดปัญหา ตัวอย่าง โรงงานนึงว่าด้วย เรื่อง Cost Reduction กับ TPM ระดับผู้จัดการแผนก มองเรื่องนี้ออกเป็น 2 นัย Cost Reduction = เรื่องอะไรก็ได้ที่ปรับปรุงแล้วได้เงิน ไม่สนใจรูปแบบ TPM = งานเพิ่มที่ทำให้งานยุ่งยาก ผมเองก็งง แต่ไม่เป็นไร  ผมเลยบอกไปว่าในความเป็นจริงแล้ว คือ เรื่องเดียวกันครับ แค่ TPM ทำงานเป็นระบบกว่าและเน้นการมีส่วนหลากหลายส่วนงาน โดยมีเป้าหมายเป็นระดับตามหลักการ JIPM มุ่งเน้นปัญหาความสูญเสียที่เครื่องจักร และขยายผลทาสู่คนและทรัพยากร … Continue reading Build up Cost Reduction from TPM จะทำให้องค์กร อยู่อย่างมั่นคง

Posted in UncategorizedTagged

” เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ” ใช้ไม่ได้กับ TPM

" เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย " นิยมใช้กับคนที่เมื่อถึงเวลาต้องจ่ายน้อยๆไม่ยอมจ่ายแต่กลับปล่อยเอาไว้จนบานปลายและต้องเงินมากมายในการรักษาหรือซ่อมบำรุง สำหรับโรงงานที่แข่งขันกับเวลา คุณภาพ ราคา การเตรียมเครื่องจักรให้พร้อมนั้น สำคัญพอๆกับขายสินค้า ถ้าเครื่องจักรเสียคุณจะผลิตสินค้ายังไง #TPM มีระบบการดูแลเครื่องจักรที่ใช้ขับเคลื่อนอย่างที่เรียกว่า #Autonomous #maintenance (AM) ซึ่งเป็นระบที่สร้างกิจกรรม ให้พนักงานหรือผู้ดูแลเครื่อง สามารบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองได้ ระบบนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในญุี่ปุ่น เพราะระบบนี้ทำให้พนักงานได้ค่าแรงงานที่สูงขึ้น และบริษัทก็พร้อมยอมจ่าย เพื่อแลกกับพนักงานที่มี Skill AM  ค่าเหนื่อยที่รู้คร่าวๆ จากอาจารย์ที่ปรึกษา ค่าเหนื่อยอยู่ที่ประมาณ 1,800,000 เยน/เดือน หรือ ประมาณ 60,000 บาท/เดือน ทำไมถึงลงทุนกับพนักงานที่มี Skill AM เพราะมันคุ้มที่จะแลกกับเครื่องจักรไม่ Break down แค่คิดก็คุ้มแล้ว !!!!! หน้าที่หลักของพนักงานที่ต้องทำเบื้องต้น ทำความสะอาด เพื่อตรวจสอบ ขันแน่น เมื่อหลอมและสั่นคลอน เติมสารหล่อลื่น เมื่อระดับพร่อง หากอันนั้นไม่สามารแก้ไขได้ ก็จะดำเนินการติด Abnormal tag เพื่อให้ส่วนงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงแก้ไขต่อไป Next … Continue reading ” เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ” ใช้ไม่ได้กับ TPM

Posted in UncategorizedTagged