” เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ” ใช้ไม่ได้กับ TPM

” เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย “

นิยมใช้กับคนที่เมื่อถึงเวลาต้องจ่ายน้อยๆไม่ยอมจ่ายแต่กลับปล่อยเอาไว้จนบานปลายและต้องเงินมากมายในการรักษาหรือซ่อมบำรุง

สำหรับโรงงานที่แข่งขันกับเวลา คุณภาพ ราคา

การเตรียมเครื่องจักรให้พร้อมนั้น สำคัญพอๆกับขายสินค้า

ถ้าเครื่องจักรเสียคุณจะผลิตสินค้ายังไง #TPM มีระบบการดูแลเครื่องจักรที่ใช้ขับเคลื่อนอย่างที่เรียกว่า #Autonomous #maintenance (AM)

ซึ่งเป็นระบที่สร้างกิจกรรม ให้พนักงานหรือผู้ดูแลเครื่อง สามารบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองได้ ระบบนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในญุี่ปุ่น เพราะระบบนี้ทำให้พนักงานได้ค่าแรงงานที่สูงขึ้น

และบริษัทก็พร้อมยอมจ่าย เพื่อแลกกับพนักงานที่มี Skill AM  ค่าเหนื่อยที่รู้คร่าวๆ จากอาจารย์ที่ปรึกษา ค่าเหนื่อยอยู่ที่ประมาณ 1,800,000 เยน/เดือน หรือ ประมาณ 60,000 บาท/เดือน

ทำไมถึงลงทุนกับพนักงานที่มี Skill AM

เพราะมันคุ้มที่จะแลกกับเครื่องจักรไม่ Break down

แค่คิดก็คุ้มแล้ว !!!!!

หน้าที่หลักของพนักงานที่ต้องทำเบื้องต้น

  • ทำความสะอาด เพื่อตรวจสอบ
  • ขันแน่น เมื่อหลอมและสั่นคลอน
  • เติมสารหล่อลื่น เมื่อระดับพร่อง

หากอันนั้นไม่สามารแก้ไขได้ ก็จะดำเนินการติด Abnormal tag เพื่อให้ส่วนงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงแก้ไขต่อไป

Next step ส่วนงานวิศวกรรมจะช่วยยกระดับพนักงานที่มี Skill AM เบื้องต้น ให้สามารถซ่อมบำรุงแทนไปวิศวกรรมได้อย่างดีเยี่ยมและเกื้อหนุนอย่างเป็นระบบ

++ แต่สิ่งแรกที่องค์กรที่ทำ TPM  ลืมและไม่ค่อยใส่ใจ คือ การไม่แก้ไข Abnormal tag

เพราะกล้วแต่ว่าจะเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ แต่ระบบ TPM ในหมวดของ  Autonomous maintenance (AM)   ได้พิสูจน์ให้ห็นแล้วว่าสามารถทำได้จริง และส่งผลต่อค่าซ่อมบำรุงที่ลดลงอย่างแน่นอน

 

AM เป็นพื้นฐานของการจัดการเครื่องจักรอย่างเป็นระบบ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับ Planned maintenance

 

แค่คุณต้องเชื่อมั่นในระบบและลงมือทำอย่างต่อเนื่องตามหลักการ TPM

ดังนั้น  ยังไม่สายเกินไปที่องค์กรคุณจะเริ่มระบบ #TPM ในหมวดของ  #Autonomousmaintenance (AM)  เพื่อมุ่งสู่ Zero Break down

 

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged