Cost Reduction ที่มีรากฐานจาก TPM จะทำให้องค์กร อยู่อย่างมั่นคง
ผมไม่รู้ว่าคุณทำระบบอะไรบ้างนะครับแต่ทุกองค์กรต้องมีงานที่เรียกว่า Cost Reduction หรือการลดต้นทุนการลดต้นทุนมีได้หลายวิธี แต่ที่เห็นเป็นตัวเงินมากที่สุด
หากทว่า องค์กรเน้นเครื่องจักรในการผลิตสินค้า ก็ต้องลดต้นทุนด้วยหลักการ TPM
ทำให้ต้อง TPM อะไรๆก็ TPM ไม่แปลกใจเหรอครับ
ระบบ TPM เน้นการมีส่วนรวมของคนทั้งองค์กร ให้มีกิจกรรมในการปรับปรุงแบบต่อเนื่อง
มุ่งหวังการกำจัดความสูญเสียและป้องกันการเกิดปัญหา
ตัวอย่าง โรงงานนึงว่าด้วย เรื่อง Cost Reduction กับ TPM
ระดับผู้จัดการแผนก มองเรื่องนี้ออกเป็น 2 นัย
Cost Reduction = เรื่องอะไรก็ได้ที่ปรับปรุงแล้วได้เงิน ไม่สนใจรูปแบบ
TPM = งานเพิ่มที่ทำให้งานยุ่งยาก
ผมเองก็งง แต่ไม่เป็นไร ผมเลยบอกไปว่าในความเป็นจริงแล้ว คือ เรื่องเดียวกันครับ
แค่ TPM ทำงานเป็นระบบกว่าและเน้นการมีส่วนหลากหลายส่วนงาน โดยมีเป้าหมายเป็นระดับตามหลักการ JIPM มุ่งเน้นปัญหาความสูญเสียที่เครื่องจักร และขยายผลทาสู่คนและทรัพยากร
เมื่อเปรียบเทียบกับ Cost Reduction เป็นแค่กิจกรรมที่ทำแล้วจบไป เอาเรื่องอะไรก็ได้ขอแค่ทำแล้วลดต้นทุน ไม่มีรูปแบบ ไม่มีที่มาที่ไป หรือเรียกว่า รบแบบกองโจรเว้น แต่คุณจะทำเป็นระบบที่เป็นมาตรฐาน
ลองตั้งคำถามตามนี้นะครับ
- กิจกรรม Cost Reduction ต้นทุนขององค์กรคุณลดลง จริงหรือไม่
- การปรับปรุงฝังรากลงกับงค์กรคุณหรือไม่
- รูปแบบการปรับปรุง สามารถสอบย้อนกลับได้หรือไม่
หากคำตอบของคุณสามารถตอบได้หมดทุกคำถาม ลองถามต่อว่า
- เครื่องจักรหยุดนอกจากแผน หรือไม่
- เครื่องจักรผลิตของเสีย หรือไม่
- เครื่องจักรทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือไม่
หากเกิดเหตุการณ์ทั้ง 3 ข้อนี้หรือข้อใด ข้อนึง แนะนำให้ใช้เครื่องมือบริหารเครื่องจัรกที่ชื่อ TPM
เพราะเครื่องมือบริหารเครื่องจักร ที่เรียกว่า TPM พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถลดต้นทุนได้จริง
และเป็นที่ยอมรับในระบบสากล ร่วมถึงการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ประสบความสำเร็จ
** ใครสนใจเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมสามารถติดต่อผมได้ทาง Inbox นะครับ บริการให้คำปรึกษาฟรี
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#Engiperform