Overall Equipment Efficiency : 5 Process Line

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้เข้าไปศึกษากระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง ได้พบว่าข้อมูลเกี่ยวกับ OEE (Overall Equipment Efficiency ) มากมาย แต่ที่น่าตกใจ

  • การคำนวณ OEE ของโรงงานนี้ สามารถรวมกันได้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเท่าที่ผมได้เรียนและทำเรื่อง OEE ไม่สามารรวมกันได้ จะแบ่งออกและคิดคำนวณตามลักษณะกระบวนการผลิตนั้นๆ
  • จากนั้นไม่พอ ตามมาด้วยค่า OEE 30% กว่าๆ  หากเป็นจริงบอกได้คำเดียวปิดโรงงานไปดีกว่าครับ แต่ผมคิดว่าคงไม่ใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง แต่พอจะสามารถเดาได้เลยว่ามี 2 อย่างที่ผิดพลาด คือ ลงข้อมูลผิดและคำนวณผิด

ไม่เป็นไรครับ ผมได้เริ่มแนะนำในทางที่ถูกต้องตามหลัก TPM ของ JIPM เริ่มจากอธิบายประเภทของ OEE มี 5 ประเภท แบ่งตามลักษณะสายการผลิต  องค์กรที่นำ OEE ไปใช้ต้องนิยามและเลือกใหใช้ให้ถูกต้อง

  1. สายการผลิตที่เครื่องจักรผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous production line)

ความหมาย เครื่องจักรทำหน้าที่แตกต่างกัน ทำงานพร้อมกัน แต่ถ้าเครื่องไหนหยุดจะหยุดทั้งสายการผลิต

การคำนวณค่า OEE : เลือกเครืองจักรที่เป็น คอขวด หรือ Bottleneck Process

CONTINOUS_SANDWICH_PANEL_PRODUCTION_LINE__95932.1456407554.700.700

  1. สายการผลิตแบบเครื่องจักรไม่ต่อเนื่อง (Intermittent Production line)

ความหมาย เครื่องจักรทำหน้าที่แตกต่างกัน ทำงานไม่พร้อมกัน เครื่องจักรใดหยุดจะไม่สงผลกระทบต่อเครื่องจักรอื่นๆ หรือสายการผลิตที่มี WIP (Work in Process) เพื่อจัดสมดุลตามขีดความสามารถของเครื่องจักรของโรงงานนั้น

การคำนวณค่า OEE : สามารถแยกเครื่องจักรทีละเครื่องได้ แต่ผมแนะนำ ให้คิดเครืองจักรที่เป็น คอขวด หรือ Bottleneck Process หรือจุดที่ชิ้นงานเสร็จสิ้น เพราะถ้าเก็บข้อมูล Loss ได้ดี จะสามารถสะท้อนกับค่า OEE ได้อย่างแน่นอน

nc1-d-line-ward

  1. สายการผลิตเครื่องจักรเดี่ยว (Individual Machine)

ความหมาย เครื่องจักรทำหน้าที่ผลิตสินค้าเสร็จภายในเครื่องจักรเดียว

การคำนวณค่า OEE : สามารถแยกเครื่องจักรทีละเครื่องได้ และหากเป็นเครื่องแบบเดียวกันสามารถคิด OEE รวมได้

  •  เพิ่มเติมและผิดกันบ่อย คือ ความเร็วในการผลิตชิ้นงานไม่เท่ากัน แนะนำให้คิดแยกกัน !!!

machine-2406703_960_720

  1. สายการผลิตแบบกระบวนการ (Process industry Plant)

ความหมาย เครื่องจักรทำหน้าที่แตกต่างกัน ทำงานพร้อมกัน แต่ถ้าเครื่องไหนหยุดจะหยุดทั้งสายการผลิต ส่วนใหญจะเป็นโรงงานผลิตน้ำดื่มหรือปิโตเคมี เป็นต้น

การคำนวณค่า OEE : สายการผลิตแบบนี้นิยมคิด OPE เนื่องจากเครื่องจักรทำงาน 24 ชั่วโมง และ 7 วัน/สัปดาห์

industry-1140760_960_720

  1. ระบบสนับสนุนการผลิต (Facility / Utility)  เพิ่มเติม

ความหมาย เครื่องจักรที่สร้างพลังงานต่างๆ และเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต เน้น Critical Machine

การคำนวณค่า OEE : สามารถแยกเครื่องจักรทีละเครื่องได้ และหากเป็นเครื่องแบบเดียวกันสามารถคิด OEE รวมได้ แต่ความเร็วในการผลิตชิ้นงานไม่เม่ากัน แนะนำให้คิดแยกกัน แต่ให้เปลี่ยนหน่วยดังนี้

% A = Uptime เวลาที่เครื่องจักรสามารถเดินได้

% P = Volume or Flow rate ที่สามารถผลิต …/hr.

% Q = การเปลี่ยนแปลงของ Pressure or Temperature

images

ดังนั้น  การเลือกใช้ OEE (Overall Equipment Efficiency )

ต้องพิจารณาและใช้ให้ถูกด้วยนะครับ

เพราะบางครั้ง เลือกผิด แนวทางการปรับปรุงก็จะผิดตามไปด้วย

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

 

Posted in UncategorizedTagged