TPM เริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในธุรกิจโรงงานอุตสากรรม ที่มีเครื่องจักรเป็นแกนหลักในการผลิตเนื่องจากโลกของการผลิตมีสิ่งสำคัญที่กวนใจทุกโรงงาน คือ Machine Breakdown หรือเครื่องจักรเสีย
ผมเองได้ศึกษากระบวนการกำจัดการหยดของเครื่องจักรในหลายๆ รูปแบบ ก็พบว่า TPM นั้นตอบโจทย์ที่สุด
เนื่องจากเครื่องมือบริหารที่ชื่อว่า TPM หรือ Total Productive Maintenance นั้นมุ่งเน้นการกำจัดความสูญเสียและป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ และยิ่งไปกว่านั้นการดำเนินด้วย TPM ยังส่งผลต่อค่าใช้จ่ายโดยตรง จึงยิ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริหารสมัยใหม่
แต่การทำหรือปฎิบัติ TPM นั้น เค้าว่ากันว่า ทำยากมาก เพราะมันต้องมีหลายส่วนงานเกี่ยวข้อง แถมระบบเอกสารยังเยอะอีก โรงงานหรือองค์กรเลยไม่นิยมทำ
TPM เองก็เหมือนการเล่นหุ้นครับ มีทั้งขาขึ้นและขาลง มันก็แล้วแต่ผู้บริหารและนโยบายในแต่ล่ะปี
แต่เรื่องนี้จะหมดไปทันทีถ้าคุณปรับระดับความสำคัญของงาน TPM ผมเองได้ทดลองการดำเนินการ TPM มาหลายรูปแบบ และสามารถสรุปการทำที่แบบออกเป็นเชิงรับและรุกได้ดังนี้
เชิงรุก : สร้างเชิงยุทธศาสตร์ เป็นงานริเริ่มใหม่ เป็นงานที่ริเริ่มขึ้นมา เพื่อสนองนโยบายขององค์กร
- ตั้ง TPM เป็นนโยบาย หรือ KPI และบังคับใช้ประเมินผลอย่างจริงจัง (KPI ส่วนตัวยิ่งดี)
- Linkage ระหว่าง TPM และระบบมาตรฐานอื่นๆ (เน้นการทำอย่างเดียวตอบโจทย์ทั้งหมด)
- สร้างการทำTPM อย่างต่อเนื่อง (แม้ว่าจะไม่ค่อยเห็นผลก็ตาม)
TPM เชิงรุก = มุ่งพัฒนาคนและเครื่องจักร
เชิงรับ : เน้นการทำงานประจำ ซึ่งเป็นงานที่กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้โดยเฉพาะ และปฏิบัติอยู่เป็นประจำ
- เน้นพื้นฐานการทำงานตามระบบมาตรฐาน (ISO 9001 เป็นต้น)
- เน้นดำเนินการตามกฏหมายที่ระบุไว้หรือเกี่ยวข้องกับโรงงานนั้นๆ
TPM เชิงรับ = รักษาสภาพมาตรฐานตามสากล
หากคุณเป็นผู้บริหาร ผู้จัดการแผนก ลองปรับเปลี่ยนทัศนคติการบริหารคนและบริหารเครื่องจักร
เพราะการจะแข่งขันด้านธุรกิจ จำเป็นต้องมีเครื่องมือบริหารที่ใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจทิศทางและแนวปฏิบัติที่เป็นสากล
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#Engiperform