องค์กรหลายที่ไม่เข้าใจและไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคคลากร
สนใจแต่สินค้าที่ผลิตออกมาแล้วเอาไปขาย
ผมตั้งคำถาม 3 ข้อนี้ ลองพิจารณาให้ผมหน่อยว่า ” เราควรพัฒนาพนักงานหรือไม่ ”
– พนักงานทำงานกับเครื่องจักร ราคาเครื่องจักรเท่าไร ?
– พนักงานหรือเจ้าของ(ผู้จัดการ) ใครกันแน่ที่ผลิตสินค้า ?
– คุณภาพของสินค้า ตรวจสอบโดยพนักงานหรือไม่ ?
หากคำตอบเป็น พนักงานทั้งหมด คุณมาถูกทางล่ะครับ
ไม่ว่าจะขั้นตอนไหนก็ต้องมีคนปฎิบัติงานหรือควบคุมดูแล หรือใช้หุ่นยนต์ก็ต้องมีคนคอยซ่อมบำรุง เพราะเครื่องจักรยังบำรุงรักษาตัวเองไม่ได้ !!
ในยุคที่การแข่งขันสูงเช่นนี้ องค์กรต้องพัฒนาอย่างยั่งยืน
AM เป็นอีกทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้อย่างดี เพราะ TPM สร้างมาเพื่อเป็นโปรแกรมพัฒนาบุลคคากร
ให้สามารถดูแลรักษาเครื่องจักรได้ด้วยตัวเองหรือทำหน้าที่แทนช่างซ่อมบำรุงได้บางส่วน (30 : 70)
ผลพลอยได้ที่ตามมายิ่งน่าตกใจ คือ
Operator จะมีความสามารถเพิ่มท้้งหมด 7 อย่าง
พฤติกรรมไคเซ็น
– ความสามารถวิเคราะห์สาเหตุ
– ความสามารถทำไคเซ็น
– ความสามารถกำหนดเงื่อนไข
พฤติกรรมควบคุมรักษา
– ความสามารถปรับปรุงเงื่อนไข
– ความสามารถควบคุมเงื่อนไข
– ความสามารถค้นพบสิ่งผิดปกติ
– ความสามารถจัดการ ฟื้นสภาพ
ซึ่งอันนี้ได้พสูจน์ในประเทศญุี่ปุ่นมาแล้ว ที่เรียกกันว่า Monodzukuri (การผลิตอย่างมีคุณภาพ) การจะได้มาซึ่งผลสำเร็จองค์กรมีหน้าที่ขับเคลื่อน ส่งเสริมการดำเนินการ TPM อย่างเต็มที่ เพื่อให้ Operator ได้เรียนรู้และมีความสามารถ อย่างแท้จริงคุณจำเป็นต้องสอนให้รู้ 4 เรื่อง ดังนี้
- ค้นหาจุดบกพร่องของเครื่องจักร และสามารถคิดและทำ Kaizen ได้
- มีความสามรถในการเข้าใจโครงสร้างกลไกของเครื่องจักร
- มึความเข้าใจความสัมพันธ์ของเครื่องกับคุณภาพ
- มีความสามารถในการซ่อมแซมเครื่องจักรได้
สิ่งที่คุณได้ไม่เพียงพนักงานที่เก่งขึ้น จะรวมไปถึงการลดต้นทุนที่สามารถทวนสอบกลับได้อย่างเป็นระบบ
#TPMInstructor
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#Engiperform