การรดำเนินการและบริหาร Overall Equipment Efficiency (OEE) แบบง่ายๆ

ตัวชี้วัดที่เรียกว่า Overall Equipment Efficiency (OEE) ตามหลักการของ JIPM แบ่งความสูญเสียหรือ Losses ทั้งหมด 16 ความสูญเสียเป็นหลัก ประเด็นไม่ใช่ตัวเลข แต่สิ่งที่ต้องเน้น คือ การหาความสูญเสียขององค์กรคุณให้ได้ !!!  (คุณต้องหาเอง) และกำจัดมันอย่างเป็นระบบ

ทำไมผมถึงมาพูดเรื่องนี้นะเหรอ เพราะมีเพื่อนร่วมงานผมมาถามผมว่า

” OEE คืออะไรและทำไม Small Group Activity ต้องรู้และร่วมทำ “

ผมเองก็งงกับคำถามตอนแรกๆ  จากนั้นผมเลยไป Gamba หน้างาน พร้อมดูระบบการจัดการ OEE ของเค้าก็สามารถสรุปคร่าวได้ดังนี้

  1. การคำนวณ OEE คิดแบบรวมทั้งหมด ไม่แยกไลน์การผลิตหรือสินค้า
  2. การแก้ไขปัญหา ไม่มีการแบบ Rank หรือผู้รับผิดชอบ นำปัญหามาทำ Pareto graph แล้วให้ Small Group Activity หรือ SGA นำไปแก้ไขเอง (TOP Five)
  3. SGA เลือกเรื่องในการกำหนด losses เอง (ไม่รู้ทำ Pareto graph ทำไม)
  4. ไม่มีการตั้งเป้าหมายการกำจัด Losses ว่าต้องทำ Losses เรื่องใดบ้าง ถึงจะได้ตามเป้ามาย

** กำจัดLoss เดือนละ 5 เรื่อง แล้วปีไหน Loss ถึงจะหมด

จากข้อมูลข้างบนทำให้ผมได้ออกแบบการดำเนินงานให้ใหม่โดยเน้นให้มีประสิทธิภาพและไม่ต้องเยอะ โดยผมเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ คือ ตั้งแต่การลงข้อมูลกันเลย

การออกแบบของผมแบ่งออกเป็น 4 Phase  อย่างง่ายๆ

Phase 1

– ทำความเข้าใจไลน์การผลิตของตัวเอง เพื่อกำหนดการคิด OEE  https://goo.gl/UQwSQY

– กำหนดและนิยาม Losses เพื่อให้ทุกคนภายในองค์กรเข้าใจความหมายความสูญเสีย

– ลงข้อมูลเฉพาะความจริง (อ้างอิงมาตรฐาน) และดำเนินการลงข้อมูลให้ถูกต้อง

หลักการตาม JIPM : 16 Major Losses

8 Major Loss อุปสรรคต่อประสิทธิภาพเครื่องจักร (ใช้คิด OEE)

5 Major Loss อุปสรรคต่อประสิทธิภาพของคน

3 Major Loss อุปสรรคของประสิทธิภาพทรัพยากร

FI Public_HO_22 Jun 17

Phase 2

– คำนวณ OEE : เพื่อเป็นตัวชี้วัดและหาความสูญเสียที่เกิดขึ้น

– ตั้งทีมงาน FI Theme  แบ่งออกเป็น Project team , Manager , SGA

– การสังเหตุค่าว่ามีผิดปกติหรือไม่ เพราะทุกค่าที่ใส่มีความหมายทั้งหมด

A ,P, Q  ≤ 100% (ถ้ามากกว่าให้พิจารณาว่าผิดไว้ก่อน)

 

Phase 3

– Logic Tree Deployment : หาความสัมพันธ์ของการตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับองค์กรและนโยบาย

–  การทำโครงสร้าง loss cost matrix : ทำงานร่วมกับบัญชี เพื่อหายอดเงินที่เรา Saving ที่แท้จริง

– การตั้งเป้าหมายการกำจัด Losses (เทคนิคผม Action plan 135)

– การแบ่ง Rank และผู้รับผิดชอบตามความเหมาะสม

 

Phase 4

– การติดตามงานแบบฟอร์มสรุปผล (Theme Resolution Summary)

– ติดตามผลงานทุกเดือน/สัปดาห์  แล้วแต่จะตกลงกัน

 

การดำเนินการและบริหาร Overall Equipment Efficiency (OEE) แบบง่ายๆ

ลองนำไปปรับใช้กันนะครับ

#TPM ไม่ได้ทำยาก แค่คุณลงมือทำอย่างต่อเนื่องและมีเป้าหมาย

 

 

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged