อ้าวCoach ถ้าผมสอนให้ Operator ซ่อมเองได้หมด
ผมก็ตกงานสิ คำพูดของ หัวหน้าช่างซ่อมบำรุง
คำพูดนี้เกิดจากที่ผมไปความรู้เรื่อง AM กับ PM สัมผัสกันยังไง
ผมเองก็อยากจะบอกว่ามันไม่ง่ายนะครับที่จะสอน Operator ให้สามารถทำงานแค่ช่างซ่อมบำรุงได้
มันเริ่มจากการกำจัดสภาพเสื่อมสภาพและต้องลดความผันแปร ปัจจัย 5 ข้อ
- การดำเนินการ ดูแลเงื่อนไข (Autonomous maintenance)
- การรักษาเงื่อไขที่ใช้
- ฟื้นฟูเครื่องจักร
- Kaizen จุดอ่อนของเครื่องจักร
- เพิ่มทักษะและยกระดับ การซ่อมบำรุง
แต่มันก็เป็นได้และพิสูจน์มาแล้วมากมายกับโรงงานที่ดำเนินกงาน TPM ตามฉบับ JIPM
ความสำคัญของ PM ที่หัวหน้าช่างซ่อมบำรุงกล่าวมา มันแค่ Step 1 ยังมีอีก 9 Step ที่คุณต้องทำให้ได้ หากคุณทำได้ตามขั้นตอนเครื่องจักรคุณ มุ่งสู่ Zero Breakdown แน่นอน
10 Step เทพ :Planned Maintenance
1. สนับสนุนกิจกรรม AM – PM แบ่งความความรับผิดชอบให้ส่วนงานผลิต AM แล้วแต่ละโรงงานนั้นๆ จะต้องเตรียมให้ความรู้และข้อมูลไปสอนพนักงาน AM แนะนำ AM:PM = 40%:60% ( ใช้กิจกรรม AM มาช่วยในการแบ่งงาน เน้น การทำความสะอาด, ขันแน่น, หล่อลื่น, ตรวจสอบ ง่ายๆ)- ปลด Red Tag ของส่วนงานซ่อมบำรุงตามเป้าหมาย
2. PM 7 Step : (เลือกเครื่องจักรหรือไลน์การผลิต 1 Model เราต้องสามารถ Model แห่งความสำเร็จ)
- – Step 1 : จัด Rank ตามตารางการจัด Rank เครื่องจักร , รวบรวมข้อมูล ,กำหนดมาตรฐานฟื้นฟู , Breakdown Matrix
- – Step 2 : กำหนดมาตรการ สำหรับเครื่องเสียอย่างเป็นระบบเมื่อเครื่องจักรเสีย ห่วยงานซ่อมบำรุงต้อง บันทึกเอกสาร Failure Analysis Report Technical OPL จากส่วนงานซ่อมบำรุง
- – Step 3: กำหนดมาตรฐานการบำรุงรักษา (พร้อมจัดทำ KPI รวม AM และ PM) จัดทำการเก็บข้อมูลของช่างซ่อมบำรุงแต่ละตัว-
- – Step 4: การยืดอายุเครื่องจักร โดยใช้การวิเคราะห์ Why – why analysis, PM Analysisเพิ่ม MTBF ของแต่ละPart
- – Step 5: เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษา เช่น ตรวจสอบง่าย, Karakuri kaizen เป็นต้น
- – Step 6: ใช้เครื่องมือในการวินิจฉัย ความผิดของเครื่องจักร เช่น supersonic wave, การวัดด้วยแสงเลเซอร์ เป็นต้น
- – Step 7: การประเมินผลการดำเนินการ
3.การดำเนินการ Correction maintenance : (Kaizen Maintenance)กำหนดขั้นตอนการเลือกหัวข้อมาปรับปรุง เช่น มูลค่าสูง , เสียบ่อย , สำคัญต่อการผลิต , ส่งผลเสียต่อพนักงาน เป็นต้นKarakuri kaizen ? สนับสนุนส่วนงานการผลิต
4.MP activities- การจัดทำ MP Information เพื่อเก็บข้อมูลบกพร่องต่างๆ เพื่อใช้สำหรับการออกแบบเครื่องจักรใหม่หรือซื้อเครื่องจักรไม่ผิดพลาด- ช่างซ่อมบำรุง MP Information sheet คือ ข้อมูลจากการ CM เครื่องจักร
5.Research of predictive maintenance การตรวจวินิจฉัยเครื่องจักรโดยใช้ Tools ต่างๆ เพื่อใช้ทำนาย เพื่อหาแนวโน้มการเสื่อมสภาพ ใช้กับชิ้นส่วนกับอุปกรณ์อายุไม่แน่นอน (Condition base maintenance)
6.Maintenance work planning and management สร้างระบบ Work Flow การบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time base Maintenance) เพื่อให้ได้ Maintenance Calendar
7.Maintenance information management: ระบบบริหารการจัดข้อมูลซ่อมบำรุงแบบอัตโนมัติ
8.Maintenance spare pats & lubrication management : การจัดการ spare pats และสารหล่อลื่น กำหนดวิธีการให้เหมาะสมและชัดเจน
9.Maintenance cost management การบริหารข้อมูลซ่อมบำรุง โดยต้องแบ่งโครงสร้างค่าซ่อมบำรุงของแต่ละโรงงาน
10.Enhance maintenance technology and skills : การพัฒนาความสามารถของส่วนงานซ่อมบำรุง **เน้น ต้องพัฒนาจนสามารถซ่อมเครื่องจักรยากๆ ได้..
” ลองนำไปปรับใช้ดูนะครับ ดีกว่า วิ่งซ่อมเครื่องจักรไปเรื่อยๆ นะ
#พี่ใหญ่สายบำรุงรักษาเครื่องจักร “
#TPMInstructor
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#Engiperform