AM Tool การพัฒนาอย่างเป็นระบบ

หลายองค์กรอยู๋ในการขับเคลื่อน Small group Activity แต่ประสบปัญหา ว่าพนักงานไม่ทำตามที่อยากให้เป็น ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหามานาน แต่ Autonomous maintenance มีแนวทางปฏิบัติที่ดีและเป็นรูปธรรม

อยู่ด้วย 3 ประการ ประกอบด้วย

One Point Lesson , Activity Board , Meeting

One Point Lesson (เครื่องมือเพื่อถ่ายทอด)  

ใบความรู้เฉพาะเรื่อง 1 ประเด็น มุ่งเน้นสอน 5 นาที ความรู้มีได้ทุกเวลาขณะดำเนินการทำ TPM ไม่ว่าอะไรก็สามารถนำมาสอนได้ เพื่อให้ทุกคนที่เกียวข้องรับทราบ ข้อมูลการเรียนรู้

OPL แบ่งเป็น 3 ประเภท

  • Basic Knowledge หรือ ความรู้พื้นฐาน

วิธีการใช้เครื่องจักรพื้นฐาน คุณภาพ สะสาง สะดวก และ Know how ต่างๆ

  • Troubleshooting หรือ การแก้ไขปัญหา

ปัญหาและการแก้ไขปัญหา โดยมุ่งเน้นสาระสำคัญการซ่อมเปลี่ยนและการตรวจสอบด้วยการใช้สัมผัสทั้ง 5

  • Kaizen Improvement หรือ การปรับปรุง

Know how การKaizen ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ Small group  มีการสรุปเกี่ยวกับวิธีการ – แนวคิด-เนื้อหา-มาตรการ-ผลการKaizen

OPL

รูปภาพเครดิต หนังสือ Monodzukuri Test JIPM ฉบับภาษาไทย

Activity Board

เพื่อดูความคืบหน้าของกิจกกรรมที่ทำ หรือง่ายๆจะเข้าใจในรูปแบบ PDCA  เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนว่า ” ขณะนี้จะต้องทำอะไรบ้าง ” ” มีปัญหาอะไรอยู่บ้าง “และผลที่ได้เป็นอย่างไรบ้างลักษณะข้อมูล แสดงในรูปแบบกราฟ ต่างๆ เพื่อให้เข้า  PQCDSM

AM borad 2 เหมาะกับการอธิบายแบบรวมทุก Step

รูปภาพเครดิต อ.มณี สุวรรณรัตน์ ที่ปรึกษา WCM

Meeting 

การประชุมกลุ่มย่อย เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อเป็นการสื่อสารระหว่างกลุ่ม สร้าง Teamwork ที่ดี ยังรวมไปถึงการแบ่งปันความรู้และแจ้งความสารต่างๆ

 

ลองนำไปใช้จริงนะครับ เกิดผลประโยชน์แน่นอน

*** หากจะได้ใจพนักงาน SGA ควรมีผลต่อการปรับตำแหน่งและเงินประจำปี

เพราะเหมือนเราซื้อความรู้จากพนักงาน 

 

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged