ข้อดีของ TPM คือ การใช้ข้อมูลความจริง และข้อมูลตัวเลขที่ชี้วัดผลได้

ณ ห้องประชุมแห่งนึง ได้ประชุมเรื่อง ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร ที่ประชุมมีผู้เข้าร่วมมากกมาย ตั้งแต่ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการแผนกผลิต ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม ผู้จัดการแผนกคุณภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย รวมถึงผมด้วย ทุกๆ 2 หน้าสไลด์ที่มีการนำเสนอผลงาน (ทั้งหมด 30 หน้า) จะมีคำถามนึงถูกถามขึ้นมาตลอด ซึ่งคำถามคือ “เอาข้อมูลมาจากไหน “  “ข้อมูลถูกต้องหรือไม่" ผมเองก็สงสัยและได้หาคำตอบจนถึงบางอ้อว่า  ข้อมูลที่ใช้งานส่วนใหญ่ 50% เป็นข้อมูลที่ไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง หนักไปกว่านั้นบางข้อมูลเป็นการแต่งตัวเลขมาด้วย ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับองค์กรเลยนะครับ เพราะหลายครั้งที่พบคนในองค์กรใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือภาษาชาวโลกทั่วไป คือ บอกปัญหาหรือข้อมูลไม่หมด การทำเช่นนี้จะทำให้ ความรุนแรงของปัญหาจะน้อยลง ทำให้หัวหน้าหรือผู้บริหาร เห็นว่าไม่สำคัญและคนกลุ่มนี้จะรีบ ตั้งกระทู้หรือหัวข้อใหม่ทันที เพื่อหลีกเลี่ยงที่ตนเองจะตอบปัญหา อีกประเด็นที่สำคัญมากๆ คือ การแก้ไขจะไม่สามารถระบุหรือแก้ไขที่ต้นเหตุได้ริงและปัญหาเดิมก็จะเกิดขึ้นเหมือนเดิม ซ้ำไปซ้ำมา ผมเองเจอประสบปัญหาและเหตุการณ์เช่นนี้กับตัวเองมันต้องเสียสละ กันบ้างนะ ผมเองได้ใช้เครื่องบริหาร TPM ในการทำงาน ทำให้พบทางสว่างและหลุดพ้นได้ คือ " ยอมรับความจริงและใช้ข้อมูลตัวเลขที่ชี้วัดผลได้ " การใช้ข้อมูลตัวเลขที่ชี้วัดได้ เป็นกลยุทธ์ที่ผมใช้ตลอด หากคุณมีปัญหาแล้วบอกแต่ปัญหา  … Continue reading ข้อดีของ TPM คือ การใช้ข้อมูลความจริง และข้อมูลตัวเลขที่ชี้วัดผลได้

Posted in UncategorizedTagged