ข้อดีของ TPM คือ การใช้ข้อมูลความจริง และข้อมูลตัวเลขที่ชี้วัดผลได้

ณ ห้องประชุมแห่งนึง ได้ประชุมเรื่อง ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร ที่ประชุมมีผู้เข้าร่วมมากกมาย ตั้งแต่ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการแผนกผลิต ผู้จัดการแผนกวิศวกรรม ผู้จัดการแผนกคุณภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย รวมถึงผมด้วย ทุกๆ 2 หน้าสไลด์ที่มีการนำเสนอผลงาน (ทั้งหมด 30 หน้า) จะมีคำถามนึงถูกถามขึ้นมาตลอด ซึ่งคำถามคือ

“เอาข้อมูลมาจากไหน “  “ข้อมูลถูกต้องหรือไม่”

ผมเองก็สงสัยและได้หาคำตอบจนถึงบางอ้อว่า  ข้อมูลที่ใช้งานส่วนใหญ่ 50% เป็นข้อมูลที่ไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง หนักไปกว่านั้นบางข้อมูลเป็นการแต่งตัวเลขมาด้วย

ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับองค์กรเลยนะครับ เพราะหลายครั้งที่พบคนในองค์กรใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือภาษาชาวโลกทั่วไป คือ บอกปัญหาหรือข้อมูลไม่หมด

การทำเช่นนี้จะทำให้ ความรุนแรงของปัญหาจะน้อยลง ทำให้หัวหน้าหรือผู้บริหาร เห็นว่าไม่สำคัญและคนกลุ่มนี้จะรีบ ตั้งกระทู้หรือหัวข้อใหม่ทันที เพื่อหลีกเลี่ยงที่ตนเองจะตอบปัญหา

อีกประเด็นที่สำคัญมากๆ คือ การแก้ไขจะไม่สามารถระบุหรือแก้ไขที่ต้นเหตุได้ริงและปัญหาเดิมก็จะเกิดขึ้นเหมือนเดิม ซ้ำไปซ้ำมา

ผมเองเจอประสบปัญหาและเหตุการณ์เช่นนี้กับตัวเองมันต้องเสียสละ กันบ้างนะ

ผมเองได้ใช้เครื่องบริหาร TPM ในการทำงาน ทำให้พบทางสว่างและหลุดพ้นได้ คือ

” ยอมรับความจริงและใช้ข้อมูลตัวเลขที่ชี้วัดผลได้ “

การใช้ข้อมูลตัวเลขที่ชี้วัดได้ เป็นกลยุทธ์ที่ผมใช้ตลอด

หากคุณมีปัญหาแล้วบอกแต่ปัญหา  หัวหน้าหรือผู้บริหารจะตัดสินใจช่วยคุณยังไง !!!

หากคุณมีปัญหาและตัวเลขชี้วัดผลได้ การตัดสินใจบางอย่างก็จะง่ายขึ้น

เช่น

แบบที่ 1 : เครื่องจักรเสีย ทำอย่างไรดีครับหัวหน้า ?

แบบที่ 2 : เครื่องจักรเสีย เป็นเวลา 10 นาที แล้วครับ ทำอย่างไรดีครับหัวหน้า ?

หากคุณเป็นหัวหน้าคุณชอบแบบไหน 1 หรือ 2 ???

หลังจากใช้ข้อมูลตัวเลขที่วัดผลได้ + การใช้ข้อเท็จจริงในการทำงาน ปัญหาต่างๆ ลดลงอย่างมาก  และผลลัพธ์ที่ได้จากการทำแบบนี้ไม่ได้มีแค่นี้ ผมสามารถสรุปเป็นดังนี้

5 ข้อดี ของการใช้ข้อมูล ความจริงและใช้ข้อมูลตัวเลขที่ชี้วัดผลได้

 

  1. สามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ
  • ยิ่งเราใช้ข้อมูลจรอง ปัญหาก็จะแก้ไขได้เร็วและชัดเจน เพราะได้รับการวิเคราะห์และแก้ไข อย่างเป็นเหตุและผล รวมถึงการป้องกันการเกิดซ้ำอย่างเป็นระบบ

 

  1. ชี้วัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผลที่ตามมาจากคือ ตัวชี้วัดที่เป็นตัวเลข จะสะท้อนในรูปแบบของเงินได้ง่าย เนื่องจาก เงินเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างมาก เช่น ยกลดต้นทุนได้เยอะเท่าไร กำไรก้จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

 

  1. ใช้วิเคราะห์แนวโน้มและวางแผน ได้อย่างประสิทธิภาพ
  • สามารถใช้พยากรณ์ในการทำงาน เพื่อแก้ไขหรือเปลี่ยนการตรวจวินิจฉัยเครื่องจักรโดยใช้ Tools ต่างๆ เพื่อหาแนวโน้มการเสื่อมสภาพ ใช้กับชิ้นส่วนกับอุปกรณ์อายุไม่แน่นอน (Condition base maintenance)

 

  1. สร้างความหน้าเชื่อถือให้กับตัวเอง
  • ข้อมูลที่ดีถือเป็นการแสดงถึงการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ไม่ต้องเสียงว่าตรวจสอบซ้ำซ้อน เพราะข้อมูลที่เป็นเท็จถือ เป็น Muda อย่างนึงนะครับ

 

  1. ทำงานแบบมืออาชีพ
  • มืออาชีพจะไม่เสียเวลากับเรื่องที่ไม่ก่อเกิดมูลค่า เช่นเดียวกับข้อมูลที่เป็นเท็จ ยิ่งเสียเวลามากกับแก้ไขไม่ตรงจุดนานเท่าใดก็เกิดเป็นความสูญเสีย  ยิ่งไปกว่านั้นหากคิดเป็นเงินอาจมีมูลค่าสูงหรือส่งผลต่อองค์กรเลยทีเดียว

 

TPM  เป็นเครื่องมือบริหารที่กำจัดความสูญเสียและเน้นลดต้นทุนเป็นหลัก ( Machine Base )

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged