ตัวชี้วัดสำคัญอย่างมากสำหรับ TPM
หากไม่มี ก็ไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร
เงินเดือนก็ไม่ขึ้น แถมเหนื่อยเลือดตาแถมกระเด็นกว่าจะได้มา !!!
สุดท้ายไม่ว่างานจะเป็นแบบไหนก็ยังจำเป็นต้องมีตัวชี้วัด
พอพูดในแง่มุมมอง TPM ตัวชี้วัดที่ชอบใช้กันจะเรียกว่า
PQCDSME หรือ ดัชนีชี้วัดกิจกรรม
P = ประสิทธิภาพเครื่องจักร ,จำนวหยุด,จำนวนเสีย เป็นต้น
Q = อัตราของเสีย , จำนวนเคลมจากลูกค้า เป็นต้น
C = ต้นทุนการผลิต เป็นต้น
D = สินค้าคงคลัง , การจัดส่ง เป็นต้น
S = ความปลอดภัย จำนวนอุบัติเหตุหยุดงานและไม่หยุดงาน เป็นต้น
M = จำนวนข้อเสนอแนะ , อัตราการลาออก เป็นต้น
E = ยอดเงินการประหยัดพลังงาน,ปริมาณของเสีย , ไคเซ็นด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ตัวชี้วัดเล่านี้เป็นแค่ตัวอย่างของหลายๆโรงงานที่ผมได้เข้าไปสังเกตการณ์
แต่จะมี KPI บ้างอย่างที่ไม่ควรตั้งเป็น KPI เช่น
ต้นทุนค่าเสียโอกาส
การคำนวณหาต้นทุนค่าเสียโอกาสนั้นส่วนใหญ่ทำได้ยาก
เพราะเป็นการคำนวณจากการคาดคะเนเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง หรือ เครื่องจักรหยุด เนื่องจากรอคอยหน่วยงานจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง (Machine waiting time due to procurement) : ที่ต้องรอส่วนงานสนับสนุนแล้วส่งผลกระทบต่อ OEE (อันนี้ต้องอธิบายดีๆและยาวๆ )
แต่ยังไงแล้วท้ายที่สุด KPI แต่ละโรงงานต้องขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละโรงงานนั้น แม้โรงงานเครือเดี๋ยวกัน
ยังมีปัญหาไม่เหมือนกัน
เพิ่มเติมครับ KPI ที่ดี ควรมีความสอดคล้องหรือผลกระทบกับผู้ดำเนินการ โดยตรงครับ
ตัวอย่าง KPI ที่ผมทำขึ้นมาเพื่อแสดงความสัมพันธ์กับ 8 Pillar
#TPMInstructor
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#Engiperform
You must be logged in to post a comment.