หลายองค์กรลงทุนไปกับ TPM มากมาย ไม่ว่าจะค่าที่ปรึกษา , ค่าอุปกรณ์ทำความสะอาด , ค่าการทำบอร์ด , ทำกิจกรรม หรือต่างๆ มากกมาย และบริษัทบางที่ทำเกือบ 10 ปี จนรวมไปถึงส่งผลให้คนลาออกก็เยอะ เปลี่ยนอาจารย์ก็เยอะ วนไปวนมา
แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับเป็นแบบ ” การตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ “
หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ผมเองหาคำถามนี้มาเกือบ 10 ปี เลยได้พบว่า การทำ TPM ไม่ได้มีสูตรสำเร็จ แต่เป็นการปรับใช้แนวคิดการบริหารที่เรียกว่า TPM
บริษัทหรือคนที่สามารถทำได้สำเร็จ จะมีกลุ่มคนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากคนกลุ่มนี้สามารถประยุกต์ TPM ให้เหมาะสมกับปัญหาหรือแนวทางการปฏิบัติที่ดี ตามแนวทางของตัวเอง
หากคุณลองศึกษารายละเอียดของเนื้อหา TPM มันมีอยู่แค่ 2 อย่าง
Hozen กับ Kaizen
ดังนั้น TPM จึงเป็นโปรแกรมสำหรับการพัฒนาบุคคลากร รวมไปถึงการกำจัดความสูญเสียและความสูญเปล่า รูปแบบการดำเนินการคุณต้องตีโจทย์ให้เหมาะสมกับบริษัทหรือคนของคุณเอง
หากคุณอยากดำเนินการขับเคลื่อนหรือบริหาร TPM ให้สำเร็จ ผมเสนอแนวทางตามที่ผมได้ไปศึกษากับโรงงานที่สำเร็จ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็จะซ้ำๆกัน แต่ที่เป็นประเด็นมีด้วยกัน 3 เรื่อง คือ
-
การให้ความสำคัญกับงานปรับปรุง Kaizen
องค์กรที่สามารถส่งเสริมระบบการทำ Kaizen ให้ทุกระดับสามารถคิด แก้ไข ปรับงาน ของตัวเองได้ ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง อีกครึ่ง คือ การสร้างระบบทำอย่างสร้างความต่อเนื่องจนเป็นนิสัย การเดินระบบจะหมุนไปตาม PDCA แบบไม่หยุดยั้ง
-
ผลตอบแทนจากการทำ TPM
หากคิดให้ดี บริษัทจ้างพนักงานที่ความรู้ตามการศึกษา แต่ความรู้ Kaizen เปรียบเสมือนลิขสิทธิ์ทางปัญญาบริษัทที่ต่อยอดเรื่องนี้ได้ดี จะมีผลตอบแทนให้งาน Kaizen ทุกระดับ ตั้งแต่ รางวัลเป็นเงินสด, ตำแหน่ง , เพิ่มในเงินเดือน จนไปถึงการแบ่ง % ผลตอบแทนที่ทำได้เลยที่เดียว
-
ผู้บริหารขับเคลื่อนเอง
อยากสำเร็จหัวหน้าแก๊ง ต้องลงมือเอง : กำหนดทิศทาง กำหนดเป้าหมาย แนะนำทางออกพาทุกคนไปสู่งความสำเร็จ เกือบ 100 % ของความสำเร็จอยู่ตรงนี้ รวมไปถึงว่าจะยั้งยืนหรือหายไป ก็อยู่กับคนๆนี้ล่ะและที่เน้นกันชัดๆ คือ ผู้บริหารเป็นผูุ้กำหนดเป็นทั้ง Policy และ KPI ประจำตัวของทุกคน
หาก 3 องค์ประกอบ ครบนะ ผมมีความเชื่อว่าการบริหารด้วยเครื่องมือ TPM จะสามารถส่งผลให้
การลดต้นทุนและพัฒนาบุคลลากร มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
ผมเองก็ขับเคลื่อนโดยใช้ 3 ข้อนี้ หากใครได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร มาแจ้งข่าวสารกันด้วยนะครับ
#TPMInstructor
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#Engiperform
You must be logged in to post a comment.