คิดแบบ TPM พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ

ปัญหาในโรงงานหรือองค์กรไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร

มันจะแตกต่างตอนที่คุณแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ

ผมเองทำงานด้านวิศวกรรมการผลิต ในระบบอุตสาหกรรมกว่า 13 ปี

มีคนถามผมว่า ทำไมก้าวกระโดดจัง  เปลี่ยนงานบ่อยไม่ดีนะ หรือกลับมาช่วยงานพี่หน่อย

ผมเองก็ตอบไปว่า สิ่งที่บริษัทให้ผม มันไม่คุ้มค่ากับผลงานที่ผมทำให้

หรือเรียกได้ว่า ผลงานที่ผมทำมันถูกต้อง แต่ไม่ถูกใจ

เมื่อผมต้องการทำงานในแบบที่คนอื่นเค้าไม่ทำกัน มันเลยเป็นลักษณะเด่นที่ทำให้ผู้คนไม่ค่อยชอบ

แต่การทำงานแบบผม ที่ทำให้ผมสำเร็จตามเป้าหมาย

เพราะในบางครั้งคุณจำเป็นต้องพูดเรื่องพวกนี้แบบตรงไปตรงมานะ ไม่ต้องอ้อมค้อม และนั่นคือสิ่งที่ต้องทำ

เพราะการทำอะไรแบบเกรงใจ มันจะฆ่าคุณในเวลาต่อมาและเคล็ดลับที่ผมทำอยู่ตลอดเวลา คือ การพัฒนาตัวเอง ให้มีความสามารถเฉพาะทาง ด้าน TPM ซึ่งผมใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากินอย่างจริงจัง ไม่ว่าบริษัทไหนก็ต้องการลดต้นทุนและ TPM เป็นคำตอบที่ดีที่สุด หากคุณจะประสบความสำเร็จ คุณต้องชอบและรักงานที่ตัวเองทำ

ผมเข้าใจมากขึ้น ตอนที่เปลี่ยนงานและสามารถใช้ความรู้ด้าน TPM เป็นตัวต่อรองด้านจำนวนเงินเดือนที่ผมได้ เพราะหากมันสามารถตอบโจรย์บริษัทได้

อย่างที่ผู้ประสพความสำเร็จหลายท่านบอก หากคุณเข้าใจงานที่ทำ คุณพัฒนาตัวเอง คุณทำตามเป้าหมาย และคุณรู้จักการให้ ก็จะเหมือนกับดังเช่นคำนี้

” งานที่เธอทำ เธอจะได้รับค่าตอบแทน

เท่ากับผลงานที่เธอทำ “

ยกตัวอย่างแบบง่ายๆ

เช่น คุณทำงานส่งของด้วยรถนยนต์ ที่ใครทำกันก็ได้ เงินเดือนก็จะน้อย เพราะจ้างใครก็ได้แต่ถ้าคุณทำงานที่เป็นงานเฉพาะทาง ทำได้ไม่กี่คน ต้องฝึกฝนเป็นเวลานาน เงินเดือนก็จะมากตามลำดับไป

สุดท้ายผมเองก็ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมเงินเดือนของบุคคลากร ดานงานปรับปรุงด้วยเครื่องมือ

TPM TQM TPS จะเยอะเป็นพิเศษ เพราะ จำนวนคนพวกนี้สามารถทำงานให้บริษัท โดยใช้ต้นทุนต่ำ และทำงานในสิ่งที่คนในโรงงานไม่ชอบทำอีกด้วย

คิดแบบ TPM พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #HozenKaizen

Posted in UncategorizedTagged