TPM style with Bonus

ในสภาวะเศรษฐกิจที่นิ่ง สิ่งที่เราเจอกับคือ ยอดขายไม่ได้เท่าเดิมและไม่มีอะไรวือเว้ามากนะ เราต้องก็ทำงานตามหน้าที่กันต่อไป

แต่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นอีกครั้ง คือ Bonus ปลายปีออก คำถามของพนักงานตามมามากมาย

– ทำไม Bonusน้อยจัง

– ทำไม Bonus ได้แค่นี้

– ย้ายงานไปที่ได้ Bonus เยอะดีกว่า

ผมเองก็มานั่งคิดอยู่ว่าทำไม Bonus คิดน้อย จึงได้เริ่มพูดค่อย (ทางลับ) กับระดับผู้จัดการด้วยกันตั้งแต่ Section , Department จนถึง Factory Manager  จนมาเอ๊ะใจกับคำถามของผู้บริหารเหล่านี้

คำตอบที่ได้คือ ทุกวันนี้แม้เราขายสินค้าได้เยอะกว่าเดิม 10 % แต่สินค้าก็มีปํญหาทั้งปีและเสียค่าเคลมไป  ไม่น้อยหรือพูดง่ายๆ ว่า แม้เราขายสินค้าได้เยอะ แต่ต้นทุนการผลิตเราก็เพิ่มขึ้นไปด้วย (ตัวเลขความเสียมาก และเป็นความลับ บอกได้อย่างเดียวว่าส่งผลกระทบต่อ Bonus )

เมื่อหารสัดส่วนกันแล้ว กำไรก็จะน้อยตามระบบ เลยไม่แปลกใจที่จะได้ Bonus น้อยตามลำดับ

ในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ได้  Bonus ดีในปีหน้าสิ่งที่เราทีมงานควรทำคือ เพิ่มผลผลิตหรือประสิทธิผลด้านการผลิตทุกมิติให้ดีขึ้น

ดังนั้น ผมขอแชร์ประสบการณ์การทำงานด้านเพิ่มผลผลิต โดยใช้ TPM เป็นแนวทางปฏิบติหลักสั้นตามนี้ครับ

  • ก่อนที่จะทำการปรับปรุงผมนำข้อมูลความสูญเสียของแผนกตัวเองออกมาตรวจสอบ ว่ามีอะไร (16 Major loss) https://goo.gl/Aw99RH

  • ตามนำงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำปีของแผนกตัวเองมาตรวจสอบ ว่ามียอดการใช้งานเท่าไร ( Budget )

เมื่อได้ทั้ง 2 ส่วนแล้วนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างความสูญเสียและเงิน หรือเรียกว่า Loss – Cost Matrix

เพื่อเป็นการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลความถูกสำหรับการเลือกที่จะทำการปรับปรุง อย่างสมเหตุ-สมผล

ตัวอย่าง Loss – Cost Matrix

Loss Cost Martix

ข้อดีของการทำ Loss – Cost Matrix

  • – ได้รับรู้ความจริงว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบกับงบประมาณอะไรบ้าง

  • – สามารถประเมินการทำและใช้ Budget ของเรามีประสิทธิภาพหรือไม่

  • – สามารถระบุปัญหาหรือชี้เป้าหัวข้อได้อย่างถูกต้อง

  • – การปรับปรุงหรือแก้ไขจะส่งผลต่อ Budget โดยตรง ( เรื่องที่เราเลือก )

  • – เพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนทำงาน ( Master plan และ Action plan )

 

ผมลองใช้วิธีนี้แล้ว การทำงานของผมยากแค่ตอนเริ่มลงมือทำ จากนั้นง่ายมาโดยตลอด

เพียงแค่ Update ข้อมูลความสูญเสียและงบประมาณค่าใช้จ่ายเท่านั้น

และที่ได้อย่างมาก คือ สามารถช่วยตัดสินใจเรื่องการปรับปรุง ได้เร็วขึ้นถึง 38%

สุดท้ายแล้วเสีย Bonus ที่ทุกท่านต้องการจะหนีไปไหนได้ ลงแรงทั้งที่มันต้องแบบมีกลยุทธ์และประสิทธิภาพ  ลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับองค์กรตัวเองนะครับ

 

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged