วันนึงผมได้ไปสรุปงาน TPM ให้ผู้บริหารท่านนึงฟังวันนึงผมได้ไปสรุปงาน TPM ให้ผู้บริหารท่านนึงฟังกำลังอธิบายว่าแต่ละPillar มีใจความสำคัญอย่างไร พออธิบายถึงเสา AM ผมต้องหยุดการอธิบายเพราะคำตอบว่า ” แค่การล้างเครื่องจักรธรรมดา”
หลังจากนั้นผมกลับไปคิดว่า ทำไมผู้บริหารทันนี้ถึงได้คิดว่า AM แค่การทำความสะอาด ผมกลับไปคิดอยู่นานจนเลยตั้งสมมติฐานว่าถ้าไม่ทำความสะอาดแล้วจะตรวจสอบความผิดปกติอย่างไร สุดท้าย ก็ไม่มีทางไหนที่จะตรวจสอบได้ดีที่สุดเท่ากับการทำความสะอาดแบบ Depp cleaning ของ AM Pillar เนื่องจาก AM Pillar เป็นโปรแกรมฝึกการทำงานจากพนักงานคนธรรมดา ให้เป็น Operator ที่เก่งเก่งอย่างไร ทำไมต้องฝึก แล้วไม่ฝึกแล้วจะเกิดอะไร ในการรAM Pillar มีคำตอบให้คุณ
คุณต้องเริ่มจากต้องมีแนวคิดที่ถูกหรือสมมติฐานที่ใช่การแก้ไขปัญหาถึงจะไปทิศทางที่ถูกต้อง เช่น แนวคิดที่ว่าด้วยพฤติกรรมที่นำไปสู่เครื่องจักรขัดข้องโดยเริ่มจากไม่ทำตามขั้นตอน , ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการใช้งาน
ส่งผลให้เครื่องจักรขัดขัองเล็กๆ น้อยๆ จนไปถึงเสียแบบอาหารหนักจอดซ่อมนานหากเราจะคิดกำจัดเครื่องจักรขัดข้องต้องใช้แนวคิดตามนี้
1. สร้างแรงจูงใจ (AM : Step 0)- เติมความรู้- รู้เงื่อนไข- เชื่อมโยงได้- ทำไมต้องทำ
2. เปลี่ยนเครื่องจักร (AM : Step 1-3)- ฟื้นฟู , คืนสภาพ- Kaizen , Visual control- สร้างมาตรฐาน
3. เปลี่ยนคนและเปลี่ยนความคิด (AM : Step 4-5)- เมื่อฟื้นสภาพ และไคเซ็น คือ ผลงาน- ผลงานเมื่อบรรลุ
เกิดเป็นความยินดีหากไม่เกิดผล คนและแนวคิดย่อมไม่เปลี่ยน
ผลลัทธ์ที่ได้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
AM : Step 0
- Machine : เพื่อทำความเข้าใจความจำเป็นของการดำเนินการของ AM การรักษาความปลอดภัยอบ่างจริงจัง เรียนความรู้ความคิดพื้นฐาน วิธีการดำเนินการและวิธีการ ของการทำStep Am เพื่อขยายผลการดำเนินการอย่างราบรื่น
- Man : รู้พื้นฐานการทำงานของเครื่องจักร
AM : Step 1-3
(AM : Step 1)
- Machine : กำหนดจัดความเสียหายเล็กน้อยที่มีจากขยะ ความสกปรก ป้องกันการเสื่อมสภาพ ทำให้จุดบกพร่องปรากฏขึ้น แล้วทำการฟื้นฟูสภาพ ทำKaizen จัดเตรียมเงื่อนไขพื้นฐาน (ทำความสะอาด ขันแน่น เติมน้ำมัน) ป้องกันสภาพเสื่อมแบบบังคับ
- Man : พัฒนาการหา จุดบกพร่อง เรียนรู้แนวคิด วิธีการฟื้นฟูสภาพ kaizen รับรู้ความสนุกของkaizen
(AM : Step 2)
- Machine : ดำเนินมาตรการแก้ไขต่อเศษขยะ-ความสกปรก-รอยรั่วต่างๆ เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพบังคับ ดำเนินการแก้ไขต่อจุดเข้าถึงยากลำบากในการทำความสะอาด-เติมน้ำมัน-ตรวจสอบ ทำKaizen ให้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษา
- Man : เสริมสร้างการแตกยอดในการkaizen เรียนรู้แนวคิด วิธีการ Kaizen รู้รสชาติความสนุกของ Kaizen
(AM : Step 3)
- Machine ทำความสะอาดสิ่งสกปรกใน Step 1 รักษาระดับที่ด้ฝื้นฟูสภาพจุดบกพร่องแล้ว รักษาระดับของมาตรการต่อแหล่งที่เกิด-จุดที่ยากลำบาก ที่ได้Kaizen ในstep 2 ปรับปรุงการควบคุมโดยดูด้วยตา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำความสะอาดตรวจสอบ
- Man จัดทำการป้องกันการเสื่อมสภาพให้ได้อย่างแน่นอนในเวลาอันสั้นหรือมาตรฐานการดำเนินการในการเตรียมเงื่อนไขพื้นฐาฯ เสริมสร้างคนที่สามารถ ” กำหนดให้แน่ชัดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด”
AM : Step 4-5
(AM : Step 4)
- Machine : ทำจุดเสียหายที่ซ่อนเร้นของเครื่องจักรปรากฎให้เห็น แล้วทำการฟื้นฟูสภาพ Kaizen เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้ครับเครื่องจักร
- Man : ทำความเข้าใจกลไก โครงสร้าง หลักการและสภาพที่ควรจะเป็นเครื่องจักรเรียนรู้ทักษะ ที่สามารถทำการตรวจสอบได้โดยไม่ตกหล่น
(AM : Step 5)
- Machine : Kaizen การควบคุมโดยสายตา ป้องกันความผิดพลาดจากการเลินเล่อสร้างประสิทธิภาพ ของการตรวจสอบ เพื่อให้สามารถที่จะทำงาน AM ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำการกำจัด Defect , Failure และป้องกันการเกิดซ้ำให้มากขึ้น
- Man : สร้างระบบดูแลรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองและยกระดับของหน้างานที่สร้างขึ้นด้วย กิจกรรมใน Step 1-4
หากคุณทำได้ตามนี้ รับรองได้เลยว่าพนักงานคุณจะเป็น Operator ที่เก่งเครื่องจักรอย่างแน่นอน !!!
#TPMInstructor
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#Engiperform