สรุปเครื่องจักรเป็นของใคร? ใครต้องรับผิดชอบ !!!

ชีวิตโรงงานหรือบริษัทที่มีเครื่องจักรเป็นหลัก

สิ่งนึงที่เป็นปัญหาอย่างมาก หากถามถึงผู้รับผิดชอบเครื่องจักรกันแน่ๆ

ผมอยากแชร์ประสพการณ์โดยตรง เผื่อช่วยให้ทุกท่านมีข้อสรุป

เครื่องจักรนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.เครื่องจักรหลัก เช่น เครื่องจักรที่ผลิตสินค้าหรือเครื่องจักรที่ผลิตของออกไปขายได้

2.เครื่องจักรสนับสนุน เช่น ปั๊มลม เครื่องผลิตไฟฟ้าสำรอง เป็นต้น

เครื่องจักรที่เรากำลังพูดถึงนี้ เป็นเครื่องจักรหลักนะครับ

ซึ่งคำตอบแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอย่างนี้

กลุ่มแรก เป็นคำตอบของฝ่ายผลิต

– เครื่องจักรเป็นของฝ่ายวิศวกรรม เพราะเป็นคนติดตั้ง คนซ่อม และยังรู้เครื่องจักรดีด้วย

ผลิตจะรู้เรื่องอะไร ไม่ได้เรียนช่างมา

กลุ่มสอง เป็นคำตอบฝ่ายวิศวกรรม

– เครื่องจักรป็นของฝ่ายผลิต ใช้งานทุกวัน ทุกนาที ต้องรู้สิว่าเครื่องเป็นไร เสียต้องไหน

สรุปแล้วเป็นของใครกันแน่!!!   ผมเองก็เคยซับสน

โดยผมเองเริ่มจากที่คิดว่าเครื่องจักรเป็นของฝ่ายวิศวกรรม เพราะทุกครั้งที่มีประเด็นเรื่องเครื่องฝ่ายวิศวกรรมตอบได้หมด ไม่ว่าจะเรื่องอะไร เสียตรงไหน ใช้เครื่องยังไง ดูแลยังไง

แต่เมื่อทำงานไปนานๆ  เมื่อมีการซื้อเครื่องจักรใหม่ ผมได้อ่านคู่มือเครื่องจักรที่ผู้ขายให้มา ทำให้รู้ว่าเรื่องนึงว่า คู่มือนี้บอกการดูแลรักษาเบื้องต้นเพื่อทำให้เราเข้าใจเครื่องจักรทั้งหมดอยู่แล้ว แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่เคยนำสอนเพื่อเป็นประโยชน์เลย

จากนั้นเมื่อผมทำงานเก่งขึ้นและรู้ชิ้นส่วนเครื่องจักรมากขึ้น ก็ได้ผันตัวเองมาทำงานด้าน New Machine โดยรับหน้าที่เขียน TOR หรือ Term of Reference หมายถึงข้อกําหนดของผู้ว่าจ้าง ซึ่งกระบวนการนี้เป็นการเครื่องข้อกำหนดของการซื้อเครื่องจักรใหม่ โดย ต้องระบุรายละเอียดตั้งแต่ ระบบไฟ ระบบลม input process output ร่วมไปถึงกำหนดการจ่ายเงินต่างๆ และเมื่อซื้อเครื่องจักรเสร็จก็จะต้อง ติดตั้งและตรวจรับเครื่องจักร ซึ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตาม TOR เท่านั้น

หลักจากที่ทำงานด้าน New Machine เสร็จ

ทำให้แน่ใจว่าเครื่องจักรเป็นความรับผิดชอบของ ” ฝ่ายผลิต “

แต่ยิ่งแน่ชัดยิ่งขึ้นก็ตอนที่ผมทำกิจกรรม TPM แบบจริงจังนี้ล่ะ

เพราะการทำ TPM นั้นจะมีกิจกรรมพิเศษที่เป็นเฉพาะคือ

กิจกรรม AM หรือ Autonomous maintenance ระบุชัดเจนว่าเป็นฝ่ายผลิตเท่านั้น

แต่ยิ่งแน่ใจไปอีกเพราะการทำ AM ว่าด้วย Step 0 ว่าด้วยการเตรียมความพร้อมของ Small group และยังตอกย้ำอีกก็คือ การแบ่งงานของฝ่ายงานวิศวกรรม วิธีคิดการแบ่งประเภทและแบ่งหน้าที่การบำรุงรักษา

หลักจากที่เล่ามาทั้งหมด พอสรุปได้ว่า เครื่องจักรหลักนั้นเป็นของฝ่ายผลิต  แต่ท้ายที่สุดแล้วก็แล้วแต่ล่ะองค์กรจะกำหนดอีกนะครับ ว่าใครจะรับผิดชอบอะไรไม่มีอะไรตายตัวนะครับ

ส่วนฝ่ายวิศวกรรมต้องทำหน้า สอน อบรม และทำทุกวิธีทางเพื่อให้ฝ่ายผลิตหรือ Small group สามารถทำงานแทนท่านให้ได้

 

บทความจาก วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

https://goo.gl/UUkMhF

 

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged