ผู้ดูแลเครื่องจักรเป็นของใคร ???

ครั้งที่แล้ว บทความของผมบอกถึงการเป็นเจ้าภาพหรือเจ้าของเครื่องจักร

ครั้งนี้ผมจะบอกถึงการเป็นผู้ดูแลเครื่องจักรกันบ้าง ว่าเป็นของใคร ???

เริ่มเรื่องจาก วิศวกรที่เก่งหรือช่างที่ชำนาญ ได้บอกกับผมว่า หน้าที่การดูแลเครื่องจักรเป็นของผม ผมจัดการได้สบาย เด็กผมเก่งๆทั้งนั้น พนักงานผลิตแค่เรียกผมไปก็พอ เพราะพนักงานเค้าไม่มีความรู้เรื่องช่างและเครื่องจักร  ทำความสะอาดเครื่องจักรอย่างเดียวพอ !!!

จากนั้นไม่นานเมื่อเจอวิกฤตด้านพนักงานช่าง ลาออก หลังได้โบนัส (เงินที่ไหนดี_เราก็ไป)

คร่าวซวยมาเยือน เพราะพี่เค้า สร้างคนไม่ทัน ,ไม่มีคนช่วยแกซ่อมเครื่องจักร

จากเดิมที่ทำ PM ทุกเดือน ,ทุกสัปดาห์หรือทุกวัน ก็ไม่ได้ทำ สุดท้ายเครื่องจักรก็เริ่มเสียตามเวลาเรื่อยๆ

บทเรียนนี้เป็นเรื่องที่สะท้อนได้อย่างนึง ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน

ดังนั้น หากจะป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ เราต้องหาทางแก้ไขแนว Proactive แต่ก่อนจะไปถึงมาเริ่มจากการแก้ไขง่ายๆก่อน และทำได้เลย

ผมเลยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้ โดยบอกบอกหัวหน้าช่างไปว่า

พฤติกรรมที่นำไปสู่เครื่องจักรขัดข้องมีประมาณ 5 ข้อ

  1. พนักงานไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขพื้นฐาน

  2. พนักงานไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการใช้งาน

  3. เมื่อขัดข้องแล้วแก้ไขเฉพาะจุดนั้น ไม่พิจารณาจุดอื่นๆ

  4. เครื่องจักรออกแบบมาไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานจริง

  5. พนักงานไม่มีทักษะในการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องจักร

ลองคิดคำนวณนะครับ ว่าทุกๆปีมีจำนวนเครื่องจักรที่มากขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย หัวหน้าช่างเองต้องเอาเวลาไปเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ไม่ใช้เอาเวลามาซ่อมเครื่องจักรอย่างเดียว หลังจากคุยกันเสร็จ พี่แกก็เริ่มทำงานรวมกันระหว่าง AM กับ PM  อย่างจริงจัง แบบไม่มีหวงวิชาเลย

(เพราะบางครั้ง ผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่องในนาม ต้องดูแลเครื่องจักรเองด้วยนะครับ)

AM 30 PM 70 Thai

เริ่มจากแบ่งงาน PM ให้กลุ่ม Small group AM เช่น การตรวจเช็ค รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน ที่สามารถตรวจสอบเองได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 (AM Step 3)

จากภาพจะเห็นได้ว่ามีการแบ่งทั้ง 2 ส่วนงาน AM 36% ,PM 55% , ทำร่วมกัน 9 %

ทั้งนี้คุณสามารถแบ่งได้เท่าไรก็ได้นะครับ แล้วแต่ความเหมาะสมแล้วแต่ประเภทธุรกิจ แต่ผมขอเน้นย้ำนะครับว่า  งานไหนที่หัวหน้าช่างยังไม่สอน ก็อย่าแบ่งให้นะครับ เพราะหัวหน้าช่างเองต้องมั่นใจว่า เค้าทำเป็นจริงแล้วถึงจะแบ่งให้ อย่าโยนเฝือกให้เพื่อนะครับ (ภาษาฟุตบอล)

เมื่อเริ่มเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย กิจกรรมต้องดำเนินไปเรื่อยๆ

หัวหน้าช่างเองก็ยกระดับตัวเอง ด้วยทำการสอน 6 basic Maintenance, แนะนำเทคนิคการซ่อมเครื่งจักรต่างๆ  ซึ่งเป็นการเพิ่มทักษะให้พนักงานเก่งขึ้นตามลำดับ

แต่แม่งจะทำดีอย่างไร หัวหน้าฝ่ายผลิตอาจจะไม่ชอบนะครับ เพราะไปวุ่นวายกับคนเข้าเค้ามากไป

แนะนำคุณต้องคุยกันนะครับ  เพราะงานต่างๆมันสอดคล้องและสัมผัส

 

บทความจาก วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ https://goo.gl/UUkMhF

 

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged