จากการติดตามความคืบหน้างาน TPM ของโรงงานแห่งหนึ่ง
ผู้จัดการเสาแต่ละท่านต้องมานำเสนอผลตัวเอง
โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ แสดงผลลัพท์ KPI , นำเสนอ Case Kaizen และ Visit Small group
ซึ่งทุกเสามีการแนะนำและสอบถามถึงความคืบแต่ละกิจกรรมปกติ
แต่ผมเองได้สะดุดกับการดำเนินการเสา AM อยู่เรื่องหนึ่ง
ว่าด้วย ผู้จัดการเสา AM ได้บอกว่า การไม่สามารถหาข้อบกพร่องต้องทำทุกวัน
และทำได้เฉพาะเวลาวันศุกร์ 15:30 – 16:00 น. เท่านั้น
เนื่องจาก Small group ได้กำหนดเวลาการหาข้อบกพร่องไว้เวลานั้น
เพราะกล้วจะเสียเวลาการผลิตสินค้า
ถ้าหาเจอก็เขียน หาไม่เจอก็ไม่เขียน
มันทำให้รู้สึกว่าไม่สอดคล้องกันและแบบงงๆ
เพราะการข้อบกพร่อง นั้นเป็นกิจกรรมสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนและการดำเนินการของเสา AM
เพราะก่อนที่เราจะปรับปรุงหรือฟื้นฟู เครื่องจักร จำเป็นต้องรู้สาเหตุก่อนนะ
มันเลยหาข้อบกพร่องไง่ะ
ซึ่งผมขอแนะนำและเสนอแนวทาง ดังนี้
การหาข้อบกพร่องต้องหาทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ต้องทำทั้งก่อนเริ่มและหลังใช้เครื่องจักรหากไม่สามารถเขียน Tagได้
ให้จดไว้ก่อนแล้วค่อยเขียนย้อนหลัง
โดยอ้างองจาก 7 abnormal ซึ่งต้องแยกเป็น Tag แดง,ขาว,เหลือง ต่อไป
7 abnormal หรือข้อบกพร่องที่ต้องหา
ก่อนที่จะสายเกินไป
ในการเตรียมการดำเนินการ AM Step เรื่องนึงที่เป็นปัญหาเสมอ
คือ การติด Tag ต่างๆ หรือเรียกว่า ข้อบกพร่อง 7 ประเภท
1.ข้อบกพร่องเล็กน้อย (Minor Flaws)
2.ขาดปัจจัยขั้นต้น (Unfulfilled basic)
3.บริเวณเข้าถึงได้ยาก (Inaccessible Place)
4.จุดที่เป็นสาเหตุความสกปรก Contamination sources)
5.จุดที่เป็นสาเหตุให้เกิดของเสีย (Quality defect source)
6.สิ่งของไม่จำเป็น (Unnecessary & Non-urgent items)
7.บริเวณที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe places)
ข้อบกพร่องเหมือนการดูแลสุขภาพประจำวัน เพื่อป้องกันความเสื่อมของเครื่องจักร
ยิ่งเรารู้ข้อบกพร่องได้เร็ว ก็สามารถแก้ไขได้เร็ว
#TPMInstructor
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#Engiperform