Maintenance Cost Management

ค่าใช้จ่ายส่วนประกอบของต้นทุนการผลิตหลักๆ มีด้วยกันดังนี้ วัตถุดิบทางตรง (Direct Materials)            วัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วน สำคัญในการผลิตสามารถทราบได้โดยง่ายว่าใช้ไปเพื่อการผลิตสินค้าใดหรือแผนก ไหนเป็นผู้ใช้เช่น ผ้าเป็นวัตถุ ดิบทางตรงในการตัดเย็บเสื้อผ้าสาเร็จรูป ค่าแรงทางตรง (Direct Labour)           ค่าจ้างแรงงานในการแปร สภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป เป็นค่าแรงของคนงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต โดยตรง แต่ไม่รวมถึงค่าแรงของคนงานที่ไม่ใช่แรงงานสำคัญในการผลิต  เช่น เงินเดือนผู้ควบคุม   หัวหน้าโรงงาน แรงงานกรรมกรขนย้าย หรือแรงงานของช่างซ่อม เป็นต้น ค่าใช้จ่ายโรงงาน (Factory Overhead)           ต้นทุนการผลิตอื่น ๆ ที่ไม่ใช่วัตถุดิบทางตรงและค่าแรงทางตรง แต่เป็นค่าใช้จ่ายของโรงงานเพื่อให้สามารถทำการผลิตได้ เช่น ค่าซ่อมแซมบำรุงเครื่องจักร , ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำ , ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร , ค่าวัสดุโรงงาน เป็นต้น           แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ การลดต้นทุนเป้นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง รวมไปถึงต้องทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  ค่าใช่จ่ายที่สามารถลดต้นทุนได้ง่าย คือ  ค่าแรงทางตรง (Direct Labour) หรือ การปลดคนงาน เพราะเป็นวิถีทำแล้วส่งผลเร็วที่สุด  … Continue reading Maintenance Cost Management

Posted in UncategorizedTagged

7 Abnormal (AM Step 1) จัดการกันยังไง !!

ตามแนวความคิด " เราจะดูแลเครื่องจักรของเราเอง " ของกิจกรรม Autonomous Maintenance หรือ การบำรุงรักษาด้วยตนเองซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของกิจกรรม TPM ไม่เหมือนกิจกรรมปรับปรุงประเภทไหน  โดยการดำเนินการจะเน้นการการพัฒนาพนักงานระดับปฎิบัติการซึ่งมีการดำเนินการเป็น Step มากที่สุดแล้ว เพราะ Pillar อื่นจะใช้แค่ปัญญาในการดำเนินการนำไปปฎิบัติและสิ่งที่ช่วยให้การบำรุงรักษาด้วยตนเองจะเป็นการกำจัดความผิดปกติของเครื่องจักรและบริเวณโดยรอบหลายครั้งที่คนงงกันว่าจะจัดการกับ  ความผิดปกติ 7 ประเภท หรือ  7 Abnormal  ได้อย่างไรได้บ้างเพราะแต่ละคนมีประกบการณ์การแก้ไขปัญหาไม่เหมือนกัน ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการปรับปรุงผมขอเสนอแนวทางการปรับปรุง เครื่องมือการปรับปรุง : 5S  Maintenance 1. ข้อบกพร่องเล็กน้อย (Minor Flaws) สกปรก, ขีดข่วน, โยกเยก, หลวม, ผิดปกติ (เสียงดัง, กลิ่นไหม้, สั่น, ความดัน, กระแสไฟ), เกาะติด, อุดตันและหมักหมม ต่าง ๆ 2.ขาดปัจจัยขั้นต้น (Unfulfilled basic) ขาดการหล่อลื่น, น้้ามันสกปรก, ระบบท่อทางหล่อลื่นผิดปกติดน้้ามันผิดชนิด, เกจวัดผิดปกติ, การขันแน่นของ … Continue reading 7 Abnormal (AM Step 1) จัดการกันยังไง !!

Posted in UncategorizedTagged

ทำไมต้องลีน ?

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั่วโลกมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงมากขึ้น ซึ่งการที่จะลงทุนเพื่อตั้งฐานการผลิตแห่งใหม่ อาจเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้มากขึ้น   แต่อีกทางเลือกนึงที่สำคัญ คือการ รีดเร้น เอาศักยภาพในองค์กร ณ.ขณะนี้เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุดก่อน นั่นคือแนวทางแบบ...ลีน   เมื่อคนส่วนใหญ่มองว่าการลดราคาสินค้าของตนเอง จะทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การยอมรับว่าผลกำไรที่ได้จะน้อยลงตามไปด้วย แต่หากมองในมุมมองของลีน องค์กรที่รู้จักลีน จะแยกต้นทุนออกเป็น ต้นทุนที่แท้จริงและความสูญเปล่า จากนั้นจะมุ่งทำลายความสูญเปล่าให้ลดลง ผลที่ได้คือ ต้นทุนที่ลดลงส่งผลให้เกิดกำไรที่มากขึ้น หากต้องมีการแข่งขันทางการตลาด องค์กรที่รู้จักลีนก็จะมีความพร้อมในการแข่งขันมากกว่าในอนาคต คำถามต่อไปก็คือ องค์กรของคุณอยากรู้จักลีนตอนนี้ หรืออยากรู้จักลีนตอนเกิดวิกฤตแล้ว #Coach_Pound #Lean_Master

Losses-Cost Matrix ทำแล้วได้อะไร

การชี้เป้าหมายที่แม่นย้ำ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ TPM มีบทบาทสำคัญสำหรับองค์กร เพราะ TPM เมื่อปรับปรุงแล้วจะทำให้เกิดผลกำไรอย่างแท้จริงแล้ว เนื่องจากว่า TPM มีเทคนิคการปรับปรุงโดยการแยกปัญหาที่เกิดขึ้นของบริษัทในเชิงปริมาณและมูลค่าของความสูญเสียและค่าใช้จ่าย (Cost)  ที่ไม่สร้างกำไรและคัดเลือกหัวข้อการปรับปรุงที่สามารถสร้างผลกำไรได้จริง การค้นหาการสูญเสียที่เป็นตัวไม่สร้างผลกำไร ผู้บริหารจะสามารถมองเห็นได้ จากการรวบรวมข้อมูลในรูปของ Losses-Cost Matrix Cost-Loss Matrix จะมีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่การนิยาม Loss อย่างชัดเจน เน้นการระบุค่าใช้จ่ายที่สูญเสียให้กับ 16 major loss  https://goo.gl/j5ycvm โดยผู้ที่ดำเนินการทำนั้นต้องเข้าใจโครงสร้างค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนอย่างดี ไม่งั้นเป้าหมายคุณอาจจะคาดเคลื่อนได้ ตัวอย่าง Losses-Cost Matrix ตัวอย่าง โครงสร้างต้นทุนการผลิต   เพราะยิ่งคุณสามารถค้นหาความสูญเสียได้มากเท่าไร คุณก็จะต้องรีบกำจัดมากตามไปด้วย จงเปลี่ยนความสูญเสีย ให้เป็นผลกำไร   Coach_Art #TPMInstructor

Posted in UncategorizedTagged

ปัญหาครั้งคราวกับปัญหาเรื้อรัง ต่างกันยังไง

ปัญหาเป็นอะไรที่ทุกคนไม่อยากให้เกิด เพราะการที่มีปัญหาขึ้นมาก จะเกิดความสูญเสียมากมายตามมาก เราเองก็ต้องแก้ไขปัญหาให้ได้ ไม่งั้นชีวิตเราก็จะอยู่ยาก และเราจัดการและกำจัดปัญหานั้นอย่างไร ตามทฤษฎีปัญหาจะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ ปัญหาเรื้อรังกับปัญหาครั้งคร่าว ซึ่งเครื่องมือการแก้ไขปัญหาก็จะมีแตกต่างกัน ปัญหาครั้งคร่าวหรือปัญหากระทันหัน (Sporadic Problem) นิยาม คือ ปัญหาที่เกิดกระทันหันหรือนานๆเกิดที ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย  เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเกิดปัญหาแล้วจะรู้ปัญหาหรือสาเหตุที่ชัดเจน สามารถแก้ไขหรือหามาตรการตอบโต้ ได้อย่างรอดเร็วไม่ต้อง ยกตัวอย่างเช่น รถจักรยานโซ่ตกจากจานปั่น ทำให้ไม่สามารถปั่นจักรยานได้ ซึ่งเกิดเป็นครั้งคร่าวเหนือจาก นานๆ เกิดที และรู้สาเหตุด้วยและสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที มาตรการตอบโต้ คือ มาตรการฟื้นฟูสภาพ นั่นคือ การนำเอาเงื่อนไขหรือปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปนั้นกลับสู่สภาพเดิม ปัญหาเรื้อรัง (Chronic Problem) นิยาม คือ ปัญหานี้จะมีปัญหาเล็กๆน้อยๆ จำนวนมากหลายเรื่องรวมๆกัน จึงไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น Why – Why Analysis , PM-Analysis เป็นต้น ในการหาปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา โดยการถามทำไมหรือการวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์แบบละเอียด  การแก้ไขปัญหานี้จะไม่ใช้แก้ไขเรื่องเดี๋ยวแล้วจบ … Continue reading ปัญหาครั้งคราวกับปัญหาเรื้อรัง ต่างกันยังไง

Posted in UncategorizedTagged