ปัญหาครั้งคราวกับปัญหาเรื้อรัง ต่างกันยังไง

ปัญหาเป็นอะไรที่ทุกคนไม่อยากให้เกิด เพราะการที่มีปัญหาขึ้นมาก จะเกิดความสูญเสียมากมายตามมาก เราเองก็ต้องแก้ไขปัญหาให้ได้ ไม่งั้นชีวิตเราก็จะอยู่ยาก และเราจัดการและกำจัดปัญหานั้นอย่างไร ตามทฤษฎีปัญหาจะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ ปัญหาเรื้อรังกับปัญหาครั้งคร่าว ซึ่งเครื่องมือการแก้ไขปัญหาก็จะมีแตกต่างกัน

ปัญหาครั้งคร่าวหรือปัญหากระทันหัน (Sporadic Problem)

นิยาม คือ ปัญหาที่เกิดกระทันหันหรือนานๆเกิดที ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย  เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเกิดปัญหาแล้วจะรู้ปัญหาหรือสาเหตุที่ชัดเจน สามารถแก้ไขหรือหามาตรการตอบโต้ ได้อย่างรอดเร็วไม่ต้อง ยกตัวอย่างเช่น รถจักรยานโซ่ตกจากจานปั่น ทำให้ไม่สามารถปั่นจักรยานได้ ซึ่งเกิดเป็นครั้งคร่าวเหนือจาก นานๆ เกิดที และรู้สาเหตุด้วยและสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที

มาตรการตอบโต้ คือ มาตรการฟื้นฟูสภาพ นั่นคือ การนำเอาเงื่อนไขหรือปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปนั้นกลับสู่สภาพเดิม

ปัญหาเรื้อรัง (Chronic Problem)

นิยาม คือ ปัญหานี้จะมีปัญหาเล็กๆน้อยๆ จำนวนมากหลายเรื่องรวมๆกัน จึงไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น Why – Why Analysis , PM-Analysis เป็นต้น ในการหาปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา โดยการถามทำไมหรือการวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์แบบละเอียด  การแก้ไขปัญหานี้จะไม่ใช้แก้ไขเรื่องเดี๋ยวแล้วจบ แต่จะเป็นแก้ไขหลายเรื่อง

ยกตัวอย่างเช่น ปั่นจักรยานไม่ได้ตามความความเร็วที่มาตรฐาน 30 km./hr. ซึ่งเป็นปัญหามานานและมีหลายสาเหตุ เช่น ปริมาณลมยางไม่ได้ต่าที่กำหนด , น้ำหนักจักรเพิ่มจากการติดตามกระบอกน้ำเพิ่ม , ฝุ่นเกาะเฟืองขับเป็นจำนวนมาก , ร่างกายคนปั่นขาดการฝึกซ้อม เป็นต้น  เห็นไม่ว่า ปัญหาเรื้อรังเรื่องเดียว แต่มาจากหลายสาเหตุ

คุณเองซึ่งเป็นคนสร้างปัญหา ไม่สามารถไปหวังพึ่งคนอื่นให้มาแก้ไขให้นะครับ

ปัญหาคุณ คุณต้องแก้ไขปัญหาเอง !!!

ปัญหาที่คุณเข้าใจ  ใช้อย่างที่ผมบอกหรือไม่  เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าปัญหาตัวเป็นแบบไหน

เพราะปัญหาที่ท่านพบ ท่านไม่มีการแยกประเภทมันอย่างชัดเจน คุณจงเริ่มแยกปัญหาและลงมือกำจัดมันได้แล้ว

 

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged