TPM  ( Total Productive Maintenance) คืออะไร ???

TPM  ย่อมาจาก Total Productive Maintenance  ซึ่งพื้นฐานของ TPM มาจาก PM = Preventive Maintenance  และเมื่อเวลาผ่านหน่วยงาน  Japan Institute of Plant Maintenance (JIPM) ของประเทศญี่ปุ่น   และ JIPM ได้พัฒนาจาก PM จนกลายเป็น TPM และเป็นที่รู้จักกันดีในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรเป็นหลัก และมีการทำกิจกรรมความเข้มข้นในบริษัทที่มีสัญชาติหรือลูกครึ่งจากประเทศญี่ปุ่น

หลักจากที่ได้ทำการศึกษาจากอาจารย์หรือผู้มีประสบการณ์มากมาย ผมเองก็เช่นเดียวกัน จนสามารถสรุปตามฉบับวิศวกรเค้นประสิทธิภาพ ได้ว่า

จุดมุ่งหมายของ TPM  คือ

การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต  เพื่อทำให้บริษัทสามารถ สร้างผลกำไรได้โดยมีวิธีการ คือ

การกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป  ด้วยการทำให้  “เป็นศูนย์”  และป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด

 โดย ทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์ 

(Zero Loss)

หากคุณทำTPM อย่างจริงจังจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนด้วยกัน 2 อย่างคือ

การปรับปรุงระบบคน

  • ผู้ปฎิบัติการ : ความสามารถในการบำรุงรักษาด้วยตนเอง
  • ช่างซ่อมบำรุง : ความสามารถในการบำรุงรักษาเครื่องจักร Mechatronics
  • วิศวกรการผลิต : ความสามารถวางแผนเครื่องจักรที่ไม่ต้องบำรุงรักษา

การปรับปรุงระบบเครื่องจักร

  • ปรับปรุงระบบเครื่องจักรปัจจุบันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
  • การออกแบบ LCC เครื่องจักรใหม่และการเริ่มต้นผลิตทันที

รวมถึงส่งผลต่อการสร้างระบบการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสร้างวัฒนธรรมขององค์กรอย่างแท้จริง

กิจกรรม TPM ประกอบไปด้วยกันทั้ง 8 Pillar  โดยแต่ละ Pillar มีความพิเศษเฉพาะด้านแต่ทุก Pillar เชื่อมโยงกันทั้งหมด  และจะมุ่งเน้นการกำจัดความสูญเสียและสร้างระบบป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ

เพื่อเป็นง่ายต่อการเข้าผมจะชื่อและวัตถุประสงค์ของแต่ละ pillar ดังนี้

บทสรุป TPM 8 Pillar

Pillar 1 : Focus Improvement

ไทย : การปรับปรุงเพื่อลดการสูญเสีย

วัตถุประสงค์ : การปรับปรุงเฉพาะจุด เน้นการสร้างผลกำไร มุ่งกำจัดความสูญเสียทั้งหมดภายในองค์กร

 

Pillar 2 : Autonomous Maintenance

ไทย : การบำรุงรักษาด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์ : พัฒนาบุคลากรให้เก่งในเครื่องจักร ซึ่งเป็นกิจกรรมเด่นที่สุดของ TPM

 

Pillar 3 : Planned Maintenance

ไทย : การบำรุงรักษาตามแบบแผน

วัตถุประสงค์ : บริหารการบำรุงรักษาเครื่องจักร มุ่งไปสู่ Zero Breakdown

 

Pillar 4 : Education and Training

ไทย : ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการเดินเครื่องและการบำรุงรักษา

วัตถุประสงค์ : ออกแบบการเพิ่มทักษะการเดินเครื่องและการบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบ

 

Pillar 5 : Early Management

ไทย : การจัดการเครื่องจักรใหม่

วัตถุประสงค์ : กิจกรรมที่สร้างมาเพื่อป้องปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น ( Vertical Startup ) ทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่และเครื่องจักรใหม่

Pillar 6 : Quality Maintenance

ไทย : การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ

วัตถุประสงค์ :  สร้างจิตสำนึก ด้านคุณภาพ กำจัดของเสีย เน้นการควบคุมเงื่อนไขและกำจัดเงื่อนไข ( Quality Processing )  มุ่งไปสู่ Zero Defect

 

Pillar 7 : Office Improvement

ไทย : การปรับปรุงสำนักงาน

วัตถุประสงค์ :  ทำให้ส่วนงานสนับสนุนมีประสิทธิภาพ สร้างมาตรฐาน มีความสามารถหลากหลายและสร้างที่ทำงานที่ทำให้ทำงานง่าย

 

Pillar 8 : Safety Health and Environment Management

ไทย : การจัดการด้านความปลอดภัย อนามัยและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ :  กำจัดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยง  มุ่งไปสู่ Zero Accident

เห็นหรือไม่ว่า TPM ถือเป็นเครื่องมือบริหารที่ครบเครื่องมาก และเน้นกับการสร้างผลกำไรอย่างแท้จริง

 

#Coach_Art

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

 

Posted in UncategorizedTagged