สร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.1 ( What are Losses ? )

                 ก่อนจะเริ่มสร้างกำไร ต้องมารู้จักและเรียนรู้ศัตรูเราก่อนว่ามีหน้าตาอย่างไรบ้าง และศัตรูเราก็คือความสูญเสียหรือ Losses นั้นเอง แล้วอะไรคือความสูญเสีย หน้าตาเป็นอย่างไร ?  ในความสำเร็จขององค์กรหรือการทำงานสมัยใหม่ เน้นเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งคน เครื่องจักร เพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุนเมื่อเทียบกับต้นทุนการการผลิต อะไรคือความสูญเสีย ความหมาย สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหรืออุปสรรคทำให้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งสามารถมีตัวชี้วัดในหลายมิติทุกธุรกิจเองก็มีความสูญเสียรูปแบบต่างๆ โดยแบ่งเป็น 8 มิติ ดังนี้ คุณภาพ (Q) , ต้นทุน (C) ,การส่งมอบ (D),ผลิตภาพ (P), ความปลอดภัย อาชีวอนามัย (S,H) , สิ่งแวดล้อม (E) , ระดับความพึงพอใจของพนักงาน (ES) , ขวัญกำลังใจ (M) แล้วแต่ว่าธุรกิจไหนจะนำตัวชี้วัดไปใช้สำหรับเป็นตัวตั้งต้นสำหรับการพัฒนาธุรกิจของตัวเอง หากมองให้ลึงลงไปในรายละเอียดแล้ว ดัชนีชี้วัดสามารถกำหนดและแยกความสูญเสียกลุ่มนี้ได้ด้วยกัน 4 กลุ่มใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นฐานของความสูญเสียเป็ยสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในบริษัททุกที ทุกเวลา … Continue reading สร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.1 ( What are Losses ? )

สร้างผู้จัดการด้วยเครื่องมือ TPM

ปัจจุบันองค์กรที่ต้องการดำเนินการกิจกรรมปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มักจะมีเคลื่อนมือบริหารที่นำมาใช้ภายในองค์กรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบมาตรฐาน ISO9001 ซึ่งเป็นสากล ร่วมถึงมาตรฐานภายในองค์กรที่สร้างขึ้นมาเองตามแนวหลักการบริหารจัดการตามฉบับญี่ปุ่นก็ดีหรือฝั่งตะวันตกก็ดี ยกตัวอย่างเช่น QCC, 5S , TPM (JIPM) ,TQM , Lean , TPS , Six Sigma เป็นต้น ท่านเคยสงสัยไหมว่าใครคือ “ ผู้ขับเคลื่อนตัวจริง ” ที่ทำให้กิจกรรมพวกนี้สำเร็จและมีประสิทธิผล คือใคร ?? Thought Model: ปีระมิดหน้าที่งานแต่ละระดับ จาก Thought Model จะเห็นระดับหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้จัดการ โดยงานของผู้จัดการมีเพียง 2 งานเท่านั้น ทำงานให้เสร็จกับงานสอนลูกน้อง ทำงานให้เสร็จ  คือ งานที่ผู้จัดการต้องทำเป็นประจำทุกวัน ทุกสัปดาห์  ทุกเดือน หรือการดำเนินให้บรรลุเป้าหมายของแผนกโดยวิธีการบริหาร การวางแผนและประเมินกิจกรรมของแผนก เช่น งานตามKPI , งานตัดสินใจและวิเคราะห์งาน , งานควบคุมตามระบบมาตรฐานสากล ISO 9001,ประเมินความใช้จ่ายและวางแผนของแผนก เป็นต้น … Continue reading สร้างผู้จัดการด้วยเครื่องมือ TPM

Posted in UncategorizedTagged

Visual Control ใช้แบบไหนดี !!!

จากการประสบการณ์ทำงานในโรงงานหลายสายธุรกิจตั้งแต่สายอาหาร สายบรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นเวลา 10 ปีลVisual Control ถือเป็นเทคนิคการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนกิจกรรม TPM ที่ใช้ Visual เยอะๆ ได้แก่ Autonomous maintenance ซึ่งจะใช้ใน Step 2-3 สำหรับการปรับปรุงการตรวจสอบ ขันแน่น ความสะอาด และการหล่อลื่น และเทคนิค Visual Control จึงเป็นเทคนิคพื้นฐานในการเพิ่ม Productivity ที่สามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สามารถแบ่งชนิดของ Visual Control : บอร์ด เส้น ภาพ-เงา ป้าย สี โคมไฟ แต่การใช้นั้นคุณต้องพิจารณาอย่างมาก เพราะต้องสามารถสื่อสารให้กับผู้คนให้เข้าใจด้วย เทคนิคที่ผมใช้เป็นการตั้งคำถาม 5 W 1 H เพื่อหาเหตุและผลในการประยุกต์ใช้เทคนิค Visual Control นั้น ๆ เช่น … Continue reading Visual Control ใช้แบบไหนดี !!!

Posted in UncategorizedTagged

วิธีการคิดเชิงระบบ

System approach วิธีการคิดเชิงระบบ หมายถึง ระบบหรือขั้นตอนที่มีการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ หรือการสร้างขั้นตอนการทำงาน  โดยมีการตรวจสอบย้อนกลับที่สามารถประเมินผลงานและเป็นวิทยาศาสตร์ สามารถทำซ้ำได้ การได้ที่มาของกิจกรรม ขั้นตอน ธุรกิจต่างๆ คุณต้องมีระบบคิดแบบนี้ โดยประกอบไปด้วย 4 ส่วน Input = สิ่งที่ป้อนเข้าไป Process = กระบวนการหรือการแปรรูป Output = ผลผลิตจากผ่านกระบวน Feedback = การตรวจสอบผลย้อนกลับ แต่คนส่วนใหญ่จะทำการแค่ข้อ 1,2,3 ลืมข้อ 4 ไป เพราะคิดว่าเมื่อได้ผลผลิตแล้วถือว่าสำเร็จแล้ว ซึ่งข้อ 4 เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างมากเพื่อตรวจสอบและยืนยันขั้นตอน Input กับ Process ว่าสิ่งที่เราทำมานั้นมาจากที่เราได้ทำหรือไม่ หากมองให้เห็นชัดเจน โรงงานหริอบริษัทไหนทำระบ ISO 9000 จะมีการใช้วิธีการเชิงระบบอย่างชัดเจนในการขับเคลื่อนระบบแบบวงจร PDCA ผมเองได้มีโอกาสเข้าไปช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานฟาร์ม เพื่อลดต้นทุนการผลิตของฟาร์ม  ซึ่งขั้นตอนการดำเนินการนั้นมี 3 ข้อเท่านั้น เมื่อมีผู้คนถามก็ตอบได้ไม่เต็มปากว่าทำแล้วดีอย่างไร รู้แต่เพียงว่ามันดีนะ !! … Continue reading วิธีการคิดเชิงระบบ

Posted in UncategorizedTagged

ปรัญชา Office Improvement

อะไรคือความสูญเสียในงาน Office ??? บทความนี้เกิดจากที่ผมเมื่อผมติดต่องานกับโรงงานแห่งหนึ่ง โดยเป็นงานฝากจากเพื่อน ซึ่งบทสนทนาเป็นไปอย่างเรียบร้อย แต่มีคำลงท้ายที่ทำให้ผม   เอ๊ะ !!! " ข้อมูลจะส่งให้ช้าหน่อยนะค่ะ เพราะตอนนี้ยุ่งมาเลย " จากข้อความข้างบน ทำให้ผมนึกถึงงานเก่าที่เคยช่วยเป็นที่ปรึกษาภายในบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง เรื่อง Office Improvement ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงสาเหตุ แนวทางคือทำให้งานโดนคลี่ออกมาอย่างระเอียด ทำให้เราได้รู้ว่างานไหนสามารถแก้ไขได้หรือเข้าไปยุ่งไม่ได้ ส่วนงานที่ผมเข้าไปช่วยสามารถบรรลุตามเป้าหมายได้ 100% ขั้นตอนแรกก่อนจะเริ่มปรับปรุง คุณต้องกำหนดนิยามความสูญเสียของคุณก่อน การนิยามความสูญเสียในงานนั้นขึ้นอยู่ว่าปัญหาของคุณขึ้นอะไร เพราะปัญหาแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แม่งแต่บริษัทในเครือเดียวกัน จากนั้นมาแบ่งประเภทและคำจำกัดความของความสูญเสียสำหรับระบุให้เห็นอย่างชัดเจน สาเหตุที่ทำแบบนี้ เพราะต้องให้คนใน Office เข้าใจตรงกันก่อน ตัวอย่าง ต่อมาคุณ การทำเมทริกซ์ของความสูญเสีย (Losses) - กระบวนการ (Process)  เพื่อหางานที่มีความสูญเสียมากที่สุด จากนั้นก็เริ่มดำเนินการทำ Kaizen เพียงคุณทำตามขั้นตอนนี้ คุณก็สามารถแก้ไขปัญหางานต่างๆ ของคุณได้อย่างเป็นลำดับ ปรัญชา Office Improvement ทำให้สามารถทำงานสนับสนุหรืองานทางอ้อม  ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างมาตรฐานของงาน โดยการสร้างให้มีความสามารถหลากหลาย  และสร้างที่ทำงานที่ทำให้ทำงานง่าย !!! #Coach_Art #TPMInstructor

Posted in UncategorizedTagged