System approach วิธีการคิดเชิงระบบ
หมายถึง ระบบหรือขั้นตอนที่มีการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ หรือการสร้างขั้นตอนการทำงาน โดยมีการตรวจสอบย้อนกลับที่สามารถประเมินผลงานและเป็นวิทยาศาสตร์ สามารถทำซ้ำได้
การได้ที่มาของกิจกรรม ขั้นตอน ธุรกิจต่างๆ คุณต้องมีระบบคิดแบบนี้ โดยประกอบไปด้วย 4 ส่วน
Input = สิ่งที่ป้อนเข้าไป
Process = กระบวนการหรือการแปรรูป
Output = ผลผลิตจากผ่านกระบวน
Feedback = การตรวจสอบผลย้อนกลับ
แต่คนส่วนใหญ่จะทำการแค่ข้อ 1,2,3 ลืมข้อ 4 ไป เพราะคิดว่าเมื่อได้ผลผลิตแล้วถือว่าสำเร็จแล้ว
ซึ่งข้อ 4 เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างมากเพื่อตรวจสอบและยืนยันขั้นตอน Input กับ Process ว่าสิ่งที่เราทำมานั้นมาจากที่เราได้ทำหรือไม่
หากมองให้เห็นชัดเจน โรงงานหริอบริษัทไหนทำระบ ISO 9000 จะมีการใช้วิธีการเชิงระบบอย่างชัดเจนในการขับเคลื่อนระบบแบบวงจร PDCA
ผมเองได้มีโอกาสเข้าไปช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานฟาร์ม เพื่อลดต้นทุนการผลิตของฟาร์ม ซึ่งขั้นตอนการดำเนินการนั้นมี 3 ข้อเท่านั้น เมื่อมีผู้คนถามก็ตอบได้ไม่เต็มปากว่าทำแล้วดีอย่างไร รู้แต่เพียงว่ามันดีนะ !!
โดยกระบวนการมีดังต่อไปนี้
Input = อาหาร, กระบวย
Process = ตักอาหารตามที่กำหนด xxx kg.
Output = ให้อาหารสัตว์
ขาดขั้นตอน Feedback =?????
ซึ่งผมเองได้ลองทวนสอบการทำงานของระบบการให้อาหารสัตว์ โดยใช้การตั้งคำถาม 5W1H
How Many?
- ให้อาหารจำนวนเท่าไร ?
How do know?
- รู้ได้อย่างไรว่าให้อาหารตามโปรแกรม ?
- รู้ได้อย่างไรว่าสัตว์กินอาหารหมด ?
- รู้ได้อย่างว่าให้อาหารครบทุกตัว ?
ซึ่งข้อมูลที่ผมตั้งคำถามเป็นการทวนสอบกลับหรือ Feedback นั้นเอง เพราะการทวนสอบนั้นจะเป็นการยืนยันผลผลิตที่ออกมา ว่าได้เป็นไปตามที่คุณปฎิบัติกระบวนการและสิ่งที่ป้อนเข้าไป และสามารวัดผลได้ก็จะครบตามองค์ประกอบ ที่เรียกว่า ” วิธีการเชิงระบบ (System approach) “
แต่ถ้าไม่สามารถวัดผลตามกระบวนหรือสิ่งที่ป้อนเข้าไปได้ แต่ผลผลิตออกมาให้ที่ดีหรือตามที่ต้องการ แสดงว่าเป็นวิธีแบบ Fluke Management
การปรับปรุง : หลังจากทราบว่ากระบวนการนี้ไม่มีการFeedbackข้อมูล ผมก็ได้สร้างระบบทวนสอบย้อนกลับโดยการใช้เครื่องชั่ง Digital Measuring Cup and Scale สำหรับการตักอาหารสัตว์และการสุ่มตรวจสอบตาม Acceptance Quality Level/ระดับคุณภาพที่ยอมรับ จากนั้นก็ดำเนินการทำมาตรฐานงานหรือ Work Instruction ซึ่งทั่งหมดสามารถตรวจสอบย้อนกลับ ประเมินผลงานและเป็นวิทยาศาสตร์ สามารถทำซ้ำได้
สรุปหลักการของการคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking หรือ System approach)
-
การคิดใน “ภาพใหญ่” (Big Picture)
-
ทราบถึงหน้าที่ ปัจจัย รวมไปถึงผลกระทบต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
-
งานมาตรฐานที่สามารถทำซ้ำได้
เพียงแค่คุณปรับวิธีคิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพิ่มขึ้นแน่นอน !!!
#Coach_Art
#TPMInstructor
You must be logged in to post a comment.