สร้างผู้จัดการด้วยเครื่องมือ TPM

ปัจจุบันองค์กรที่ต้องการดำเนินการกิจกรรมปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มักจะมีเคลื่อนมือบริหารที่นำมาใช้ภายในองค์กรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบมาตรฐาน ISO9001 ซึ่งเป็นสากล ร่วมถึงมาตรฐานภายในองค์กรที่สร้างขึ้นมาเองตามแนวหลักการบริหารจัดการตามฉบับญี่ปุ่นก็ดีหรือฝั่งตะวันตกก็ดี ยกตัวอย่างเช่น QCC, 5S , TPM (JIPM) ,TQM , Lean , TPS , Six Sigma เป็นต้น

ท่านเคยสงสัยไหมว่าใครคือ “ ผู้ขับเคลื่อนตัวจริง ” ที่ทำให้กิจกรรมพวกนี้สำเร็จและมีประสิทธิผล คือใคร ??

Thought Model: ปีระมิดหน้าที่งานแต่ละระดับ

Untitled

จาก Thought Model จะเห็นระดับหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้จัดการ

โดยงานของผู้จัดการมีเพียง 2 งานเท่านั้น

ทำงานให้เสร็จกับงานสอนลูกน้อง

ทำงานให้เสร็จ  คือ งานที่ผู้จัดการต้องทำเป็นประจำทุกวัน ทุกสัปดาห์  ทุกเดือน หรือการดำเนินให้บรรลุเป้าหมายของแผนกโดยวิธีการบริหาร การวางแผนและประเมินกิจกรรมของแผนก เช่น งานตามKPI , งานตัดสินใจและวิเคราะห์งาน , งานควบคุมตามระบบมาตรฐานสากล ISO 9001,ประเมินความใช้จ่ายและวางแผนของแผนก เป็นต้น กล่าวได้ว่างานนี้คืองาน Routine

            กลุ่มงานนี้ส่วนใหญ่ผู้จัดการจะสั่งผู้ใต้บังคับบัญชาไปดำเนินการให้เสร็จและมาส่งมาให้ตนตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องของที่มาของข้อมูลและการบทสรุปต่างๆ หากงานไม่เป็นไปตามที่ต้องการจะดำเนินการแก้ไขกันต่อไป

งานนี้ลูกน้องมีแต่  ทำดีเสมอตัว ทำมั่ว………..!!  แล้วแต่จะนิยามนะครับ

ส่วนงานที่ 2 นี้เป็น ไฮไลท์เลยครับ  ผู้จัดการสอนงานลูกน้องอะไรบ้าง ?

เท่าที่ผมรู้ตั้งแต่ผมเป็นลูกน้องจนถึงเป็นผู้จัดการ  งานที่ผู้จัดการทั่วไปใช้สอน คืองานที่ตัวเองเคยทำมาแล้วในอดีต ซึ่งสอนเรื่องเดิมๆเหมือนเดิมๆ เลยทำให้เหมือนการมองตัวเองสะท้อนในกระจกแค่เปลี่ยนตัวผู้เล่นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพอะไรเลย พอนานๆไปงานที่หวังจะพัฒนากลับกลายเป็นแค่รักษาสภาพการทำงาน ไม่ให้เกิดความเสียหายเท่านั้นเอง

            แต่ด้วยความโชคดีที่องค์กรผมได้ดำเนินการกิจกรรม TPM และผมเองได้มีโอกาสไปทำงานร่วมกับระดับบริหาร ซึ่งในตอนนั้นมีทำกิจจกรม Autonomous Maintenance จะมีขั้นตอนที่เรียกว่า Manager Model  จุดมุ่งหมายจะเน้นให้ผู้จัดการทำงานด้าน TPM โดยที่ไม่มีลูกน้องอยู่ในกลุ่มแต่จะเป็นระดับผู้จัดการทั้งหมดและทุกแผนก มาช่วยกันทำตั้งแต่ขัดเครื่องจักร หาข้อบกพร่อง ทำเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จนไปถึงการนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาด้าน TPM อย่างเป็นระบบ

ด้วยความสงสัยของผมได้ถามอาจารย์ว่า

“งานนี้เป็นงานของลูกน้อง (Operator) ทั้งหมดไม่ใช่หรือครับ ทำไมระดับผู้จัดการต้องทำด้วย ???

อาจารย์เลยตอบมาสั้นๆว่า

หากคุณทำไม่เป็น ไม่ถูกขั้นตอน ไม่ลงมือทำเอง แล้วคุณจะสอนลูกน้องคุณได้อย่างไร ”

เพียงคำพูดของอาจารย์ของทำให้ผมวางแผนสอนพนักงานทุกคนผ่านการทำกิจกรรม TPM ซึ่งครบถ้วนทั้งหมด

เพราะลักษณะพิเศษและจุดมุ่งหมายของ TPM คือการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิตเพื่อทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้ โดยมีวิธีการกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป ด้วยการทำให้“เป็นศูนย์” และ “ ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด ”  โดย ทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์  ( Zero Loss )

ซึ่งหากมองลงไปในรายละเอียดตำแหน่งผู้จัดการ (Manager) มีงาน 2 มิติ ซึ่งมีอยู่งานในระดับ MD และงาน Operation ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม TPM หากผู้จัดการคนไหนสามารถ สอนงานพนักงาน (Operation) โดยใช้หลักเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมโยงให้ไปถึงนโยบายขององค์กร ได้ ถือว่าผู้จัดการคนนั้นสามารถสร้าง

ความแตกต่างและเป็น “ ผู้ขับเคลื่อนตัวจริง ”

ที่ทำให้กิจกรรมปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำเร็จ เพราะอย่าลืมโดยเด็ดขาดว่า

ผู้จัดการเองเป็นตัวเชื่อมระหว่างกลางระหว่าผู้บริหารกับพนักงาน ทำหรือไม่ขึ้นอยู่คนนี้ล่ะ

สุดท้ายนี้คนไหนที่กำลังจะเป็นผู้จัดการต้องเตรียมตัวสอนงานลูกน้องด้วยนะครับ

ถ้าไม่มีลูกน้องคอยสนับสนุน งานคุณก็ยากจะสำเร็จ อย่าลืมเชื่อมโยงกับดัชนีชี้วัดของผู้บริหารนะครับ

และผู้ที่ถูกสร้างผู้จัดการด้วยเครื่องมือ Total Productive Maintenance (TPM )

จะมึมุมมองการทำงาน Hozen และKaizen ทันที่

The figure of eight method for Quality Hozen

 

แจกฟรีเอกสาร PDF ดัชนีผลลัพธ์ของ TPM และคำจำกัดความ  เพียงกดแชร์ page

https://www.facebook.com/Engiperform

 

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged