ก่อนจะเริ่มสร้างกำไร ต้องมารู้จักและเรียนรู้ศัตรูเราก่อนว่ามีหน้าตาอย่างไรบ้าง และศัตรูเราก็คือความสูญเสียหรือ Losses นั้นเอง แล้วอะไรคือความสูญเสีย หน้าตาเป็นอย่างไร ? ในความสำเร็จขององค์กรหรือการทำงานสมัยใหม่ เน้นเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งคน เครื่องจักร เพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุนเมื่อเทียบกับต้นทุนการการผลิต
อะไรคือความสูญเสีย ความหมาย สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหรืออุปสรรคทำให้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งสามารถมีตัวชี้วัดในหลายมิติทุกธุรกิจเองก็มีความสูญเสียรูปแบบต่างๆ โดยแบ่งเป็น 8 มิติ ดังนี้
คุณภาพ (Q) , ต้นทุน (C) ,การส่งมอบ (D),ผลิตภาพ (P),
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย (S,H) , สิ่งแวดล้อม (E) ,
ระดับความพึงพอใจของพนักงาน (ES) , ขวัญกำลังใจ (M)
แล้วแต่ว่าธุรกิจไหนจะนำตัวชี้วัดไปใช้สำหรับเป็นตัวตั้งต้นสำหรับการพัฒนาธุรกิจของตัวเอง
หากมองให้ลึงลงไปในรายละเอียดแล้ว ดัชนีชี้วัดสามารถกำหนดและแยกความสูญเสียกลุ่มนี้ได้ด้วยกัน 4 กลุ่มใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นฐานของความสูญเสียเป็ยสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในบริษัททุกที ทุกเวลา ทุกอริยาบท
ทำไมผมถึงให้ทุกท่านทำความรู้จักกับความสูญเสียก่อน เพราะมนุษย์เรานี้มีความสามารถในการพัฒนาและปรับปรุงงานในตัวเอง แค่เพียงทุกท่านยังไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน การทำความรู้จักความสูญเสียพวกนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นเส้นทางสำหรับการวางแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาอย่างเป็นระบบ
การพัฒนาตัวเองหรือองค์กร โดยวิธีการกำจัดความสูญเสียและสร้างผลกำไรแบบนี้ เป็นปรัญชาของ TPM ว่าด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต เพื่อทำให้บริษัทสามารถ สร้างผลกำไรได้ โดยมีวิธีการกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป ด้วยการทำให้ “เป็นศูนย์” และ “ ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด ” โดย ทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Loss) ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ได้รับยอมรับจากบริษัทชั้นนำทั่วโลก
กลุ่มที่ 1 : Seven major losses that impede overall equipment efficiency
7 ความสูญเสียประเภทเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพเครื่องจักร
(1) Failure losses = หยุดเครื่องจักรเสีย สาเหตุมาจากปัจจัยภายในเครื่องจักรหรือเครื่องเสีย คือ การหยุดฟังก์ชั่นของเครื่องจักร หรือ การตกต่ำของฟังก์ชั่นของเครื่องจักร
(2) Setup and adjustment losses = หยุดการปรับตั้งเครื่องจักรก่อนเริ่มและการปรับแต่งระหว่างการผลิต หรือระหว่างตั้งแต่งานผลิตปัจจุบันสิ้นสุดลง และมีการเปลี่ยนงานเป็นแบบอื่น และปรับ ลองแปรรูป จนกระทั่งได้เป็นของดีอย่างสมบูรณ์
(3) Cutting blade change losses = หยุดการเปลี่ยนใบมีดระหว่างการผลิต หยุดเพื่อเปลี่ยนหินลับ คัตเตอร์ มีดกลึง เป็นต้นหรือการเปลี่ยนต่างๆ เช่น เปลี่ยนล๊อตสินค้าการผลิต
(4) Start-up losses =หยุดจากการเริ่มต้นผลิตที่เกิดในตอนเริ่มต้นการผลิต ระหว่างสตาร์ทเครื่องจักร วิ่งลองเครื่อง จนเงื่อนไขการแปรรูปมีความเสถียร
(5) Minor stoppage and idling losses =หยุดจากเครื่องจักรเล็กๆ น้อยๆ และการเดินเครื่องจักรเปล่า
(6) Speed losses = ความสูญเสียจากความเร็วตกจากมาตรฐานที่กำหนด หรือที่เกิดจากผลต่างของความเร็วในการเดินจริงกับความเร็วที่ออกแบบของเครื่องจักร
(7) Defect and rework losses = ความสูญจากการผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพกลับมาเข้าขบวนการผลิตซ้ำอีกครั้ง หรือเพื่อทำการซ่อมแซมของดีที่ซ่อมได้ให้เป็นของดี
ธุรกิจที่เหมาะสม : อุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลัก
กลุ่มที่ 2 : Losses that impede equipment loading time
ความสูญเสียประเภทเป็นอุปสรรคต่อเวลาเดินเครื่องจักร
(8) Shutdown (SD) losses = หยุดตามเวลาที่หยุดเครื่องจักรเพื่อทำการบำรุงรักษาตามแผนที่วางไว้ หรือวันหยุดต่างๆ
ธุรกิจที่เหมาะสม : ใช้ได้ทุกธุรกิจ
กลุ่มที่ 3 : Five major losses that impede worker efficiency
5 ความสูญเสียประเภทเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของคน
(9) Management losses =ความสูญเสียจากการิหาร รอคำสั่ง รอการตัดสินใจ หรือจากการรอที่เกิดจากการควบคุม เช่น การรอวัสดุ รอรถเข็น รอเครื่องมือ รอคำสั่ง รอซ่อม เป็นต้น
(10) Motion losses = ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว คือ Loss ของชั่วโมงแรงงานอันเกิดจากทักษะที่แตกต่าง เช่น ทักษะในงาน Setup・ Adjust การเปลี่ยนใบมีด เป็นต้น อีกทั้งยังรวมถึง Loss อันเนื่องจากทักษะที่แตกต่างของงาน Loading, unloading ด้วย
(11) Line organization losses = ความสูญเสียจากการจัดไลน์ คือ Loss จากการว่างมือในการดูแลหลายกระบวนการ หลายเครื่องจักรและรวมถึง Loss จากการจัดสรรคนด้วย
(12) Distribution losses = การแจกจ่ายการสูญเสียแรงงานชั่วโมงเนื่องจากการขนส่งวัสดุผลิตภัณฑ์ (ผลิตภัณฑ์แปรรูป)
(13) Measurement and adjustment losses = ความสูญเสียLoss จากการตรวจวัด ปรับแต่ง คือ Loss ของการทำงานตรวจวัด ปรับแต่งบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเกิดและหลุดรอดออกไปของของเสียด้านคุณภาพ
ธุรกิจที่เหมาะสม : อุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้คนเป็นหลัก เช่น
กลุ่มที่ 4 : Three major losses that impede efficient use of production subsidiary resources
3 ความสูญเสียประการที่ขัดขวางการใช้วัตถุดิบสำหรับผลิตที่มีประสิทธิภาพ
(14) Energy losses = ความสูญเสียจากLoss จากพลังงาน คือ พลังงานที่ใส่เข้าไป (ไฟฟ้า แก๊ส น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น) แต่ไม่ได้ถูกใช้ในการแปรรูปอย่างมีประสิทธิผล เช่น Loss จากการ Start up แล้วรอจนกว่าอุณหภูมิจะเข้าที่, Loss จากการแผ่ความร้อนระหว่างแปรรูป, Loss จาก Idling (การเดินเครื่องเปล่า) เป็นต้น
(15) Die, jig and tool losses = ความสูญเสียจากแม่พิมพ์ จิ๊กเครื่องมือ คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเสียหายตามอายุของแม่พิมพ์ จิ๊ก เครื่องมือ และ ค่าใช้จ่ายต่อผลผลิต เช่น การจัดการลับ เจียร Re-Nitride รวมถึงวัสดุสิ้นเปลืองอื่น ๆ (น้ำมันตัดกลึง) เป็นต้น
(16) Yield losses = ความสูญเสียจากผลต่างของน้ำหนักของดีที่ผลิตได้กับวัตถุดิบ (น้ำหนัก) ที่ใส่เข้าไป เช่น
Loss จากของเสีย, Loss จากการตัด, Loss จากการสูญเสียน้ำหนัก, Loss จาก Start up เป็นต้น
ธุรกิจที่เหมาะสม : ใช้ได้ทุกธุรกิจ
เมื่อท่านรู้จักความสูญเสียทั้งหมดแล้ว ลองนำไปหาในธุกริจของท่านดูนะครับ ใช้สำหรับเทียบเป็น Gap analysis และสร้างเส้นทางสำหรับการวางแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อไป
#Coach_Art
#Engiperform
#TPMInstructor
You must be logged in to post a comment.