หลักจากที่เราได้ทำความรู้จักความสูญเสียทั้ง 16 Major Losses แต่สิ่งที่เราต้องทำก่อน คือ กำหนดและนิยามความสูญเสียที่บริษัทของท่านเกิดปัญหาก่อนครับ
ยกตัวอย่างเช่น : บริษัทท่านทีปัญหาส่งของให้ลูกค้าไม่ทัน เพราะมีสาเหตุเกิดจากเครื่องจักรการผลิตเสียหากเป็นเช่นนี้คุณต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่า การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Efficiency) หรือ OEE เพราะประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร คือ ตัววัดเพื่อตัดสินว่า เวลาที่เครื่องจักรจะต้องเดินนั้น ได้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ( อัตราส่วนของเวลาที่เครื่องจักรสร้างมูลค่าเพิ่ม )
ทำไมต้อง OEE ???
เครื่องจักร ตัองมีดัชนีชี้วัดเพื่อตัดสินว่าเวลาที่เครื่องจักรจะต้องเดิน
ได้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มากน้อยเท่าไร เพราะเวลาที่เครื่องจักรสูญเสีย
หมายถึงการ สร้างมูลค่าเพิ่มและผลกำไร
OEE เป็นเครื่องมือที่ใช้การแผ่หลายและเป็นสากลในอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรใช้ในการผลิตสินค้าเป็นหลัก โดยส่วนประรอบมีด้วยกัน 3 ค่า Availability rate, Performance rate, Quality rate ซึ่งแต่ละหัวข้อจะถูกกำหนดและอย่างชัดเจนใน
8 Major Loss อุปสรรคต่อประสิทธิภาพเครื่องจักร
กลุ่มที่ 1 : Seven major losses that impede overall equipment efficiency
7 ความสูญเสียประเภทเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพเครื่องจักร
Availability rate
- Failure losses = หยุดเครื่องจักรเสีย สาเหตุมาจากปัจจัยภายในเครื่องจักรหรือเครื่องเสีย คือ การหยุดฟังก์ชั่นของเครื่องจักร หรือ การตกต่ำของฟังก์ชั่นของเครื่องจักร
- หน่วยนับ = เวลานาที,จำนวนครั้ง
- ตัวอย่าง = มอเตอร์ไหม้ , สายไฟขาด , ไฟดับ , เพลาขับเคลื่อนขาด เป็นต้น
- Setup and adjustment losses = หยุดการปรับตั้งเครื่องจักรก่อนเริ่มและการปรับแต่งระหว่างการผลิต หรือระหว่างตั้งแต่งานผลิตปัจจุบันสิ้นสุดลง และมีการเปลี่ยนงานเป็นแบบอื่น และปรับลองแปรรูป จนกระทั่งได้เป็นของดีอย่างสมบูรณ์
- หน่วยนับ = เวลานาที,จำนวนครั้ง
- ตัวอย่าง = ตรวจเช็คเครื่องจักรก่อนผลิต , หยุดตรวจชิ้นงานและปรับเครื่องจักร เป็นต้น
- Cutting blade change losses = หยุดการเปลี่ยนใบมีดระหว่างการผลิต หยุดเพื่อเปลี่ยนหินลับ คัตเตอร์ มีดกลึง เป็นต้นหรือการเปลี่ยนต่างๆ
- หน่วยนับ = เวลานาที,จำนวนครั้ง
- ตัวอย่าง = หยุดเปลี่ยนใบมีดตามอายุการใช้งาน , เปลี่ยนล๊อตสินค้าการผลิต เป็นต้น
- Start-up losses =หยุดจากการเริ่มต้นผลิตที่เกิดในตอนเริ่มต้นการผลิต ระหว่างสตาร์ทเครื่องจักร วิ่งลองเครื่อง จนเงื่อนไขการแปรรูปมีความเสถียร
- หน่วยนับ = เวลานาที,จำนวนครั้ง
- ตัวอย่าง = เปิดเครื่องจักรรออุณหภูมิให้ได้ตามที่กำหนด เป็นต้น
Performance rate
- Minor stoppage and idling losses = หยุดจากเครื่องจักรเล็กๆ น้อยๆ และการเดินเครื่องจักรเปล่าหน่วยนับ = เวลานาที,จำนวนครั้ง
- ตัวอย่าง = หยุดเล็กๆน้อยๆ ทั้งทรายสาเหตุและไม่สามารถระบุได้ เช่น Robot Error เป็นต้น
- Speed losses = ความสูญเสียจากความเร็วตกจากมาตรฐานที่กำหนด หรือที่เกิดจากผลต่างของความเร็วในการเดินจริงกับความเร็วที่ออกแบบของเครื่องจักร
- หน่วยนับ = Speed Ratio
- ตัวอย่าง = Run Slow ลดเวลาเดินเครื่องจักรที่สามารถผลิตชิ้นงานได้จาก 1000 ชิ้น/ชั่วโมง เป็น 800 ชิ้น/ชั่วโมง เป็นต้น
Quality rate
- Defect and rework losses = ความสูญจากการผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพกลับมาเข้าขบวนการผลิตซ้ำอีกครั้ง หรือเพื่อทำการซ่อมแซมของดีที่ซ่อมได้ให้เป็นของดี
- หน่วยนับ = เวลานาที/จำนวนชิ้นงานที่เสีย
- ตัวอย่าง = ของเสียทั้งหมดที่ไม่สามารถขายเป็นของดีได้
กลุ่มที่ 2 : Losses that impede equipment loading time
ความสูญเสียประเภทเป็นอุปสรรคต่อเวลาเดินเครื่องจักร
- Shutdown (SD) losses = หยุดตามเวลาที่หยุดเครื่องจักรเพื่อทำการบำรุงรักษาตามแผนที่วางไว้ หรือวันหยุดต่างๆ
- หน่วยนับ = เวลานาที
- ตัวอย่าง = PM Overhaul , Monthly , weekly เครื่องจักรตามแผน , ไม่มี Order , Morning talk เป็นต้น
สูตรการคำนวณ
การใช้ OEE ให้มีประสิทธิภาพคุณต้องทำอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ ทำอย่างต่ออเนื่อง เพราะบ่อยครั้งบริษัทเอาไว้ใช้เพียงดูอย่างเดียวว่าอะไรมีค่ามาก อะไรมีค่าน้อย ถ้าอยากให้เกิดประสิทธิภาพต้องตั้งเป็นหัวข้อในการปรับปรุงและกระจายให้ผู้รับผิดชอบ
การจัดทำ OEE แบ่งได้ 5 ประเภท แบ่งตามลักษณะสายการผลิต องค์กรที่นำ OEE ไปใช้ต้องนิยามและเลือกใหใช้ให้ถูกต้อง
- สายการผลิตที่เครื่องจักรผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous production line)
- สายการผลิตแบบเครื่องจักรไม่ต่อเนื่อง (Intermittent Production line)
- สายการผลิตเครื่องจักรเดี่ยว (Individual Machine)
- สายการผลิตแบบกระบวนการ (Process industry Plant)
- ระบบสนับสนุนการผลิต (Facility / Utility)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/2xGbYZS ดังนั้น การเลือกใช้ OEE (Overall Equipment Efficiency ) ต้องพิจารณาและใช้ให้ถูกด้วยนะครับเพราะบางครั้ง เลือกผิด แนวทางการปรับปรุงก็จะผิดตามไปด้วย
การพัฒนาตัวเองหรือองค์กร โดยวิธีการกำจัดความสูญเสียและสร้างผลกำไรแบบนี้
เป็นปรัญชาของ TPM ว่าด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต เพื่อทำให้บริษัทสามารถ
สร้างผลกำไรได้ โดยมีวิธีการกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป ด้วยการทำให้
“ เป็นศูนย์ ” และ “ ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด ”
โดย ทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Loss) ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ได้รับยอมรับจากบริษัทชั้นนำทั่วโลก
#Coach_Art
#Engiperform
#TPMInstructor
You must be logged in to post a comment.