สร้างกำไรจากความสูญเสีย EP3 : Target Deployment and Monitoring

จากวิธีสร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.1 : 16 Major Losses , EP.2 : what is OEE กันแล้ว ซึ่งเราเองได้รู้ความสูญเสียและกำหนดนิยาม ความหมายความสูญเสียให้เหมาะสมกับบริษัทของท่านแล้ว ขั้นตอนต่อมาจะเป็นบทสรุปของการทำกำไร ( Profit up ) อย่างป็นระบบ ซึ่งผมจะบอกทีละขั้นตอนเพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าใจอย่างง่ายๆ หรือเรียกว่า การตั้งเป้าหมายและการติดตามผล

เริ่มแรกเราต้องรู้ก่อนว่าปัญหาที่เจอเป็นแบบไหน ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็น 2 แบบ คือ Sporadic (ปัญหาฉับพลัน) และ Chronic (ปัญหาเรื้อรัง) ซึ่งการทำ Focus Improvement นั้นจะเน้นปัญหาเรื่องที่เป็น Chronic (ปัญหาเรื้อรัง) เป็นหลัก เนื่องจากปัญหากลุ่มนี้มีปัจจัยที่หลายเรื่องทำให้เกิดความสูญเสีย

ว่ากันด้วยการตั้งเป้าหมายหรือ Target Deployment นั้นอาจจะได้มาจาก KPI ของแต่ละโรงงาน เพราะแต่ละโรงงานมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กรต่างกัน หรืออะไรอีกมากมายตามที่ต้องการซึ่งการได้มาจะต้องกำจัดความสูญเสียให้หมด แต่ที่เห็นส่วนใหญ่ผู้บริหารจะกำหนดเป้าหมายลดต้นทุนให้เลย กี่% ก็ว่ากันไป และส่วนบริษัทก็จะเริ่มลดจากที่ไม่สำคัญก่อน เช่น ลดการใช้กระดาษ,เปิด-ปิด แอร์-ไฟฟ้า ,ลดการเบิกค่าโน้น นี้ นั้น, ลดOT แบบงงๆ หรืออะไรก็ได้ที่เห็นได้เร็ว เป็นต้น

การตั้งเป้าหมายต้องสามารถทำได้จริง มีที่มาที่ไป มีเหตุและผล ไม่ใช่ทำไปทุกเรื่องหรือทำแบบไม่มีการวิเคราะห์อะไรเลย อยากทำอะไรก็ทำ ซึ่ง Target Deployment นั้นสามารถแบ่งได้หลักๆ 3 อย่าง คือ

1. Key Management indicator (KMI) ที่ได้มาจาก TPM Policy

ค่าดัชนีชี้วัดนี้จะสอดคล้องกับนโยบายบริษัทหลัก โดย KMI สอดคล้องใหญ่จะยึดตามหลัก PQCDSME ดัชนีชี้วัดนี้เป็นของผู้บริหารระดับสูง

Slide1

Slide2
2. Key Performance indicator (KPI)

ดัชนีแสดงผลลัพธ์การดำเนินการว่าของเป้าหมายขององค์กร ที่สอดคล้องกับ KMI และตัวชี้บ่งว่ามีกำไรหรือได้โบนัสได้เลยเพราะถ้าคุณไม่ทำ KPI ก็จะไม่ส่งผลต่อ KMI ดัชนีชี้วัดนี้เป็นของผู้บริหารระดับกลางหรือผู้จัดการแผนกต่างๆ

Slide3
3. Key Activity indicator (KAI)

เพื่อแสดงผลลัพธ์การดำเนินการกิจกรรมนั้นๆ ว่าส่งผลต่อเป้าหมายหลักขององค์หรือไม่ กิจกรรมจะเป็นการยืนยันผลว่าถ้าทำกิจกรรมนี้แล้วจะต้องส่งกับ KPI ซึ่งกิจกรรมนี้ล่ะ จะได้มาจากการกำหนดความสูญเสีย 16 Major Loss ดัชนีชี้วัดนี้เป็นของระดับ Operation , Engineer , Supervisor เป็นต้น

Slide4

ต่อมาเราต้องดำเนินการแบ่งหัวเรื่องการของปัญหาออกเป็น 2 เรื่อง คือ เพิ่มยอดขายกับการลดต้นทุน ซึ่งเป็นพื้นฐานการเพิ่มกำไร “ Increasing sales ” and “ Reduce cost” งานที่ระดับนี้ต้องเป็นระดับจัดการและผู้บริหารกำหนดหรือเรียกว่า Top down management เพราะการทำกำไรทำได้ 2 ส่วนเท่านั้น ตามมาด้วยการเลือกปัญหามาดำเนินการซึ่งเราจะไม่ได้กำจัดทั้งหมด แต่เราจะเลือกปัญหาที่ตอบ KMI , KPI ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่ๆส่งผลกระทบโดยตรง หรือได้มาจาก Losses Cost Matrixจากนั้นท้ายที่สุดที่ต้องทำคือ การแตกย่อยปัญหาให้เล็กลง เพื่อกระจายหัวเรื่องหรือ Theme ให้กับผู้รับผิดชอบ

Slide5

** ซึ่งการกำหนดผู้รับผิดชอบนั้นยากลำบากที่สุด เพราะการเลือกปัญหาต่างๆให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานจะบ่งบอกได้ถึงความสามารถในการแก้ไขปัญหาและผลของความสำเร็จได้ด้วย

ตัวอย่าง

Slide6

จากนั้นการดำเนินการจะต้องสรุปเป็น Chart for Monitoring Kobetsu-Kaizen หรือตารางติดตามงาน เพื่อสามารถผู้บริหารสามารถเผ้าติดตามการ หากให้ดีควรจะนำงานแก้ไขปัญหานี้ ไปใช้วัดผลเพื่อเลื่อนตำแหน่งและปรับเงินเดือน ตามตัวอย่างที่ดีในประเทศญี่ปุ่นการติดตามงานจะทำโดยผู้จัดการโรงงานหรือผู้บริหารระดับสูง เพราะเค้าต้องการสนใจและใส่ใจการพัฒนาบุลคคลากรให้สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาเองได้อย่างเป็นระบบ

Slide7

สรุป จากการทำ Target Deployment แล้วเราจะเห็นได้ถึงขั้นตอนการนำปัญหามากระจายจากผู้บริหาร Top Management เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง KMI = Key Management indicator , KPI = Key Performance indicator และ Key Performance indicator (KAI) ของเป้าหมายขององค์กร เพื่อหวังผลกำไรอย่างแท้จริงโดยผ่าน กำจัดปัญหาแบบจับปูตัวใหญ่ก่อน แล้วค่อยแตกรายละเอียดย่อยๆของปัญหา และสุดท้ายเราจะได้คนที่เหมาะสมกับงานอย่างแทเจริงและสามารถหวังผลสำเร็จได้อย่างเป็นระบบโดยแท้จริง

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged