สร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.4 ( 7 Step for Problem solving and 10 step Theme Resolution Summary )

ผ่านไป 3 EP ทุกท่านที่ติดตามเพจเราก็พอจะประติดประต่อการสร้างกำไรจากความสูญเสียได้แล้ว เพื่อทบทวนลองกลับไปอ่านเพื่อทำความเข้าใจนะครับ

สร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.1 : What are Losses ?
สร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.2 : What is OEE ?
สร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.3 : Target Deployment and Monitoring

ขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างผลกำไร สิ่งที่ท่านต้องทำอย่างจริงจังคือ การลงมือแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ ซึ่งขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาจะอ้างอิงจาก QC Story ซึ่งมี 7 ขั้นตอน สำหรับแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและเข้าใจง่าย

  1. เลือก Theme ระบุหัวข้อปัญหา ให้ชัดเจน ระบุกรอบเวลา ระบุชี้ชัดว่าทำเรื่องอะไร
  2. ศึกษาสภาพปัจจุบัน “ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้” เน้นข้อเท็จจริง
  3. ตั้งเป้าหมาย (Target Setting)
  4. วิเคราะห์สาเหตุ และวางแผนปรับปรุง (Analysis)
  5. ดำเนินการ ปรับปรุง (Do)
  6. ตรวจสอบผลลัพธ์ (Check)
  7. ยับยั้ง และสร้างมาตรฐานคุมระยะยาว (Action)

ตัวอย่าง ตารางความสัมพันธ์ของแต่ละวิธีการที่ใช้ในขั้นตอน QC Story  โดยทุกท่านสามารถ

35853478_208122856673589_4784085215414845440_n (1)

Cr. หนังสือคู่มือ Monodzukuri Test

ข้อที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ จุดอ่อนคนไทยพอได้หัวข้อปัญหา (1) แล้วมักจะกระโดดข้ามมาหัวข้อ (4) การวิเคราะห์หาสาเหตุเลย โดยไม่ค่อยลงไปตรวจสอบสภาพจริงหรือเรียกได้ว่า วิธีนั่งเทียน  ดังนั้นการ “ศึกษาสภาพปัจจุบัน” เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ต้องศึกษาสภาพปัจจุบันอย่างถ่องแท้ การวิเคราะห์หาสาเหตุจึงจะตรงประเด็น

Theme Resolution Summary  : เป็นการสรุปปรับปรุงที่เขียนให้เสร็จภายใน 1 แผ่น สำหรับการยืนยันผล ควรเล่าเรื่องราวอย่างเรียบง่าย โดยเริ่มจากด้านบนซ้าย สิ้นสุดมุมล่างขวา โดยด้านซ้าย ระบุปัญหา ด้านขวาระบุแนวทางแก้ไขควรเล่าเรื่องราวได้อย่างสมบูรณ์ในหน้ากระดาษเดียวขสามารถยืดหยุ่นได้ไม่มีรูปแบบที่ถูกที่สุด เป็นจิตวิญญาณการเล่าเรื่อง ไม่สําคัญที่กระดาษตราบใดที่ยังใช้เล่าเรื่อง จะใช้รูปแบบใดก็ได้ที่เห็นสมควร เป้าประสงค์ไม่ใช่เติมคําในช่องว่าง แต่เป็นประโยชน์ของการนําแนวคิดมาใช้

รายละเอียดของแต่ละช่องจะเป็นข้อมูลที่ระบุที่มาที่ไปอยางเป็นเหตุและผล

FI 10 Step

  1. Theme = หัวเรื่อง
  2. Reason for selection of theme = เหตุผลที่คัดเลือก Theme (แสดงให้เห็นความจำเป็นที่ต้องทำ Case นี้)
  3. Improvement target = เป้าหมาย (แสดงเป็นกราฟแท่ง)
  4. Outline of equipment and processes = สังเขปของเครื่องจักร กระบวนการ ให้อธิบายภาพรวมของกระบวนการ และระบุจุดที่เกิดปรากฏการณ์ หรือ ปัญหา
  5. Understanding of current conditions = ศึกษาสภาพปัจจุบัน ทำการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง
  6. Main contents of improvement = สรุปเนื้อหาการปรับปรุงหลัก ๆ ของแต่ละสาเหตุ
  7. Results = ผลที่ได้และสรุปเป็นกราฟ เส้น แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มเข้าใกล้เป้าหมายหรือไม่ ?
  8. Measures taken to prevent recurrence = การจัดทำเป็นมาตรฐาน
  9. Horizontal replication plan = แผนการขยายผลในแนวรา
  10. Future issues = สิ่งที่จะทำต่อไปและทำอะไรต่อ ด้วยเหตุผลอะไร

ตัวอย่างเอกสาร 

Theme Resolution Summaary Format

            สรุปการสร้างกำไรจากความสูญเสีย EP.4  นี้เป็นการแก้ไขตามแนวทาง QC Story ซึ่งแบ่งเป็น 7 Step for Problem solving จากนั้นเมื่อทำการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยจะต้องเขียนบทสรุปการปรับปรุงหรือ 10 step Theme Resolution Summary ) เพื่อเป็นการยืนยันผลหลับของการไขปรับปรุง เมื่อคุณทำได้เช่นนี้แล้วจะแสดงให้เห็นความหมายที่แท้จริงของคนที่ทำงานเก่ง คือ

คนที่คิดหาวิธีการทำงานที่มีผลิตภาพสูง ให้ผลงานดี แต่ลงทุนน้อย พร้อมทั้งบันทึกวิธีการทำงานเพื่อให้คนอื่นทำได้ด้วย และตัวเองก็นะลองท้าทายงานใหม่ๆ ต่อไป แล้วองค์กรที่คุณอยู่ก็จะสามารถสร้างผลกำไรอย่างแท้จริง

 

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged