Autonomous Maintenance กับแนวคิดสร้างกิจกรรมป้องกันความสูญเสีย

                ในการดำเนินการกิจกรรม TPM นั้นมีอยู่เสาที่เป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะพิเศษอย่างแท้จริง ไม่มีเครื่องมือไหนที่จะเน้นการพัฒนาคนอย่างเป็นระบบจริงจัง โดยแนวคิดมาจากว่า “ เราจะดูแลเครื่องจักรของเราเอง ” โดยเน้นการการปรับปรุงสภาพหน้างานจริง เสานั้นก็คือ Autonomous Maintenance  นั้นเอง หากมองบริบทของเสานี้จะพบว่าเป็นการพัฒนาบุคคลอย่างเป็นขั้นตอน เพราะพัฒนาบุคคลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มผลผลิตขององค์กร  การฝึกให้พนักงานรู้และชำนาญด้านเครื่องจักรเป็นเป้าหมายสูงสุดของกิจกรรม Pillar 2 : Autonomous Maintenance             หลายคนเคยสงสัยว่าทำไมต้องทำกิจกรรม Autonomous Maintenance ผมเองก็เช่นเดียวกัน  เพื่อให้ภาพชัดๆ คุณลองจินตนาการเป้นพนักงานฝ่ายผลิตและกำลังใช้เครื่องจักรในขณะเดียวกันนั้นเครื่องจักรของคุณก็หยุดจะเสียตามลำดับ ทำให้ต้องตามช่างบำรุงมาซ่อม หากใช้เวลาซ่อม  5-10 นาที ก็คงดีแต่ในความเป็นจริงแล้วใช้เวลาเป็นชั่วโมงและอีกอย่างนึงที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ คือ การเจริญเติบโตของเหล่าหุ่นยนต์มีมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งทำให้ความต้องการ บุคคลทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาแต่ละครั้งนั้น จะมีแต่มนุษย์เพียงคนเดียวเท่านั้น ที่สามารถเป็นผู้ป้อนข้อมูลคำสั่งเข้าไปในระบบ เพื่อออกคำสั่งให้แก่หุ่นยนต์ได้ และซ่อมบำรุงเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ    … Continue reading Autonomous Maintenance กับแนวคิดสร้างกิจกรรมป้องกันความสูญเสีย

Posted in UncategorizedTagged

กิจกรรมลดความสูญเสีย ตามแบบฉบับ TPM

             เครื่องมือบริหาร TPM เป็นระบบการจัดการที่หมาะกับองค์กรที่มีการใช้เครื่องจักรผลิตเป็นหลัก โดยกิจกรรมลดความสูญเสียเป็นกิจกรรมหลักของ Focus Improvement (Kobetsu Kaizen) หรือ การปรับปรุงเฉพาะจุด   โดยเป็นเสาที่ 1 ของ TPM  หากมองลงไปในบริบทของการดำเนินการกิจกรรมนี้ จะเห็นได้ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ทำกำไรให้องค์กรอย่างแท้จริง เพราะการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต  เพื่อทำให้บริษัทสามารถ สร้างผลกำไร ได้โดยมีวิธีการคือการกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป ด้วยการทำให้  “เป็นศูนย์”  และ “ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด” โดย ทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์  (Zero Loss)  ซึ่งเป็นภารกิจหลักและลักษณะเด่นของกิจกรรม TPM             ซึ่งผมได้เขียน Thought Model ของ Pillar 1 : Focus Improvement Model ซึ่งจะเห็นได้ว่าการกิจกรรมทั้งหมดจะมาจากนโยบายบริษัทหรือ Policy Deployment ตามด้วยการตั้งเป้าหมายจากข้อมูลจริง … Continue reading กิจกรรมลดความสูญเสีย ตามแบบฉบับ TPM

Posted in UncategorizedTagged

7 Waste + 1

         การกำจัดความสูญเสีย (7 Waste หรือ Muda 7 ประเภท )เป็นกุญแจดอกหนึ่งในระบบ Lean Manufacturing เป็นระบบกำจัดความสูญเสียและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกิจกรรมหรืองานที่ดำเนินการ              ข้อเสียจากการมี 7 Waste หรือ Muda 7 ประเภท  คือ ใช้เวลาการผลิตนาน สินค้ามีคุณภาพต่ำ และต้นทุนสูง กระบวนการผลิตมักจะพบว่ามีความสูญเสียต่างๆแฝงอยู่ไม่มากก็น้อย ซึ่งเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงมีแนวคิดเพื่อพยายามจะลดความสูญเสียเหล่านี้เกิดขึ้นมากมาย แนวคิดหนึ่งที่คิดค้นโดย Mr.Shigeo Shingo และ Mr.Taiichi Ohno คือ ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota production system) Muda 7 ประเภทไม่มีมุดะไหนมาก่อนมาหลัง ในภาษาญี่ปุ่นคำว่าเจ็ด (なな – NANA หรือ … Continue reading 7 Waste + 1

Startup for the 12 Steps of TPM

               TPM เป็นเครื่องมือบริหารที่เหมาะสมกับองค์กรที่มีเครื่องจักรเป็นฐานการผลิตหลัก และถือเป็นเครื่องมือที่เป็นลิขสิทธิ์ของ JIPM ซึ่งการดำเนินการนั้นจะมาลักษณะแบบแผนเป็นขั้นเป็นตอน แม้แต่การที่คุณจะเริ่มดำเนินการ TPM ก็จะมีรูปแบบที่ชัดเจนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จากหนังสือ “ การดำเนินการกิจกรรม TPM เพื่อการปฎิรูปการผลิต ” ได้ระบุไว้ด้วยกัน 12 ขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นตอนก็จะมีสาระสำคัญต่างกันไป เริ่มกันเลยครับ 1.ผู้บริหารสูงสุดประกาศให้นำ TPM เข้ามาใช้พัฒนาองค์กร   (Declaration by Top Management Introduce TPM) สาระสำคัญ : การประกาศให้ทุกคนในบริษัทรับทราบ ว่าเราจะทำ TPM เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต  เพื่อทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้โดยมีวิธีการคือการกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป ด้วยการทำให้  “เป็นศูนย์” และ “ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด” 2.อบรมให้ความรู้ TPM แก่พนักงานทุกคนและประชาสัมพันธ์ ( Education … Continue reading Startup for the 12 Steps of TPM

Posted in UncategorizedTagged

พัฒนาคนกับเครื่องมือบริหาร TPM

เมื่อคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ งานพัฒนาคนจึงเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือบริหาร TPM ทักษะ คือ ความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  โดยใช้ความรู้  ประสบการณ์อย่างถูกต้องในทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดทักษะที่แท้จริง  การสอนในห้องเรียนจึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อการสอน เช่น   OPL ,คู่มือ ,ประชุมกลุ่ม, ฝึกปฏิบัติ , แก้ไขปรับปรุง, ปฏิบัติจริงในงาน, ปรับปรุงแก้ไข เป็นต้น TPM มีรูปแบบการพัฒนาที่เด่นชัดในเรื่องนี้ ซึ่งมีองค์ประกอบด้วย Pillar 4 : Education and Training และ Pillar 2 : Autonomous Maintenance (Jishu hozen) เป็นแกนหลักในการพัฒนาคนโดย Pillar 4 จะเป็นการขับเครื่อนทั้งองค์กร คุณอยากได้พนักงานแบบไหนก็สามารถออกแบบได้  ส่วน Pillar 2 Autonomous Maintenance (Jishu hozen) เป็นการพัฒนาคนโดยผ่านการดูแลรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของ TPM แต่ก่อนที่จะไปถึง Pillar 2 เรามาดู … Continue reading พัฒนาคนกับเครื่องมือบริหาร TPM

Posted in UncategorizedTagged