เมื่อคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ งานพัฒนาคนจึงเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือบริหาร TPM
ทักษะ คือ ความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยใช้ความรู้ ประสบการณ์อย่างถูกต้องในทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดทักษะที่แท้จริง การสอนในห้องเรียนจึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อการสอน เช่น OPL ,คู่มือ ,ประชุมกลุ่ม, ฝึกปฏิบัติ , แก้ไขปรับปรุง, ปฏิบัติจริงในงาน, ปรับปรุงแก้ไข เป็นต้น
TPM มีรูปแบบการพัฒนาที่เด่นชัดในเรื่องนี้ ซึ่งมีองค์ประกอบด้วย Pillar 4 : Education and Training และ Pillar 2 : Autonomous Maintenance (Jishu hozen) เป็นแกนหลักในการพัฒนาคนโดย Pillar 4 จะเป็นการขับเครื่อนทั้งองค์กร คุณอยากได้พนักงานแบบไหนก็สามารถออกแบบได้ ส่วน Pillar 2 Autonomous Maintenance (Jishu hozen) เป็นการพัฒนาคนโดยผ่านการดูแลรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของ TPM
แต่ก่อนที่จะไปถึง Pillar 2 เรามาดู Pillar 4 Education and Training โดยเริ่มจากการกำหนด นโยบายพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของกิจกรรมและจุดเน้นหลักของกิจกรรมการให้การศึกษาฝึกอบรม เพราะการพัฒนาบุคคลกรสามารถยกระดับขีดความสามารถของแต่ละคน จะส่งผลถึงการยกระดับผลประกอบการของบริษัท พร้อมกับเป็นการเชื่อมโยงถึงความภูมิใจในการใช้ชีวิต หรือการทำงานของแต่ละคนๆ ด้วย
หลักแนวความคิด มีด้วยกันมี 4 เรื่อง
- How to set up Education and Training Activities : สร้างระบบการฝึกอบรมและฝึกฝนอย่างไร
คุณต้องสร้างระบบนี้ขึ้นมาเอง โดยการอ้างอิงจากธุรกิจของคุณเป็นหลักว่าต้องการพนักงานแบบไหน คุณก็ต้องสร้างบุคคลากรตามนั้น หากคุณมุ่งแต่จะทำเหมือนคนอื่น
ตัวอย่างเช่น การดำเนินการ 6 step ของกิจกรรมการให้การศึกษาฝึกอบรม
- กำหนด นโยบาย มาตรการสำคัญ โดยการสำรวจ ตรวจสอบ สภาพปัจจุบันของการให้การศึกษา ฝึกอบรม
- จัดทำระบบการให้การศึกษา ฝึกอบรม เพื่อยกระดับทักษะ ของ การเดินเครื่อง และ บำรุงรักษา
- ยกระดับทักษะของการเดินเครื่องและบำรุงรักษา
- จัดทำระบบการพัฒนาเสริมสร้างขีดความสามารถ และดำเนินการตามนั้น
- จัดระเบียบให้เกิดสภาพแวดล้อม ทีให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- ประเมินกิจกรรมและพิจารณาการดำเนินการในอนาคต
2. How to develop versatile operator : พัฒนาความหลากหลายของพนักงานปฎิบัติการอย่างไร
งานนี้จะชัดเจนอย่างมากถ้าคุณทำ Pillar 2 Autonomous Maintenance (Jishu hozen) เพราะการยกระดับพนักงานจะทำให้มุ่งสู่ Zero loss อย่างเป็นระบบ
ตัวอย่าง หลักสูตรการศึกษาฝึกอบรมทักษะการบำรุงรักษาแก่ operator (ระดับต้น)
- How to develop Maintenance Professional: พัฒนาช่างซ่อมบำรุงผู้ชำนาญการได้อย่างไร
คุณสมบัติที่ช่างซ่อมบำรุงผู้ชำนาญการต้องมี คือ สามารถให้คำแนะนำโอเปอเรเตอร์เรื่องการเดินเครื่อง และบำรุงรักษาเครื่องจักรรายวันอย่างถูกต้อง สามารถบอกได้ว่าเครื่องจักรปกติหรือผิดปกติ ค้นหาสาเหตุความผิดปกติและซ่อมให้กลับสู่สภาพปกติได้อย่างถูกต้อง ปรับปรุงความสามารถของเครื่องจักรและชิ้นส่วนให้สูงขึ้น เช่น ยืดอายุเครื่องจักรและป้องกันการเสื่อมสภาพแบบเร่งของเครื่องจักรได้ เข้าใจวิธีวินิจฉัยเครื่องจักร การใช้งานและกำหนดเป็นมาตรฐาน รวมถึงควบคุมค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เครื่องจักรให้อยู่ในจุดที่พอดี และทำให้เกิดความคุ้มทุนมากที่สุด และงานนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นจะเน้นการสร้าง Karakuri Kaizen เป็นตัวชี้วัดสำคัญด้วยนะ
ตัวอย่างการหลักสูตรขั้นสูงของช่างบำรุงมืออาชีพ
- How to set up Environment to motivate people. : การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อจูงใจคน
( Monozdukuri-test , Dojo ,Others.)
ข้อนี้ผมสนใจ Dojo เป็นพิเศษ เพราะ โดโจไม่ใช่ยิม ซึ่งที่ประเทศญี่ปุ่น คำว่า “โด” มีความหมายถึงวิธีหรือแนวทาง ส่วน “โจ” มีความหมายถึงห้องโถงหรือสถานที่ขนาดใหญ่ ดังนั้นคำว่า “โดโจ” ถึงมีความหมายถึงสถานที่ ๆ ใช่ฝึกวิถีทางต่าง ๆ เช่น สถานที่สอนศิลปะโบราณ สอนพิธีชงชา และ มักใช้ในสถานสอนศิลปะการป้องกันตัวด้วย ลักษณะพิเศษนี้เป็นเหมือนงานอบรมเชิงปฏิบัติการ (Jishuken and Dojo) รับผิดชอบด้านการประเมินผลและติดตามผลกิจกรรมต่างๆ และหากจะให้ดีผมแนะนำให้ใช้คู่กับ กฎ 21 วัน ทำให้เป็นความเคยชิน ของ Dr.Maxwell Maltz ได้นำเสนอทฤษฎี 21-Day Habit Theory ได้เขียนลงในหนังสือ Psycho-Cybernetics โดยมีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมได้ว่า เกิดขึ้นจากตัวเอง โดยเชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยการตั้งมโนภาพในจิต เกี่ยวกับการปรับปรุงพฤติกรรมของเรา และกระทำซ้ำต่อเนื่องกันจนถึงยี่สิบเอ็ดวัน ก็จะตกผลึกกลายเป็นพฤติกรรมถาวรของเรา
Cr. ภาพประกอบจากศุนย์ฝึกอบรม SCG ท่าหลวง
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Engiperform.com
Line@ : https://line.me/R/ti/p/%40bui8216v
.
.
😎😎😎😎😎
#Coach_Art
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#Engiperform
You must be logged in to post a comment.