Startup for the 12 Steps of TPM

               TPM เป็นเครื่องมือบริหารที่เหมาะสมกับองค์กรที่มีเครื่องจักรเป็นฐานการผลิตหลัก และถือเป็นเครื่องมือที่เป็นลิขสิทธิ์ของ JIPM ซึ่งการดำเนินการนั้นจะมาลักษณะแบบแผนเป็นขั้นเป็นตอน แม้แต่การที่คุณจะเริ่มดำเนินการ TPM ก็จะมีรูปแบบที่ชัดเจนเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จากหนังสือ “ การดำเนินการกิจกรรม TPM เพื่อการปฎิรูปการผลิต ” ได้ระบุไว้ด้วยกัน 12 ขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นตอนก็จะมีสาระสำคัญต่างกันไป เริ่มกันเลยครับ

1.ผู้บริหารสูงสุดประกาศให้นำ TPM เข้ามาใช้พัฒนาองค์กร   (Declaration by Top Management Introduce TPM)

สาระสำคัญ : การประกาศให้ทุกคนในบริษัทรับทราบ ว่าเราจะทำ TPM เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต  เพื่อทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้โดยมีวิธีการคือการกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป ด้วยการทำให้  “เป็นศูนย์” และ “ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด”

2.อบรมให้ความรู้ TPM แก่พนักงานทุกคนและประชาสัมพันธ์ ( Education and Campaign to Introduce TPM )

สาระสำคัญ : อบรมให้ความรู้ฝ่ายบริหาร และแยกตามระดับของตำแหน่งงาน , พนักงานทั่วไป : อบรมบรรยายด้วยสไลด์ โดยองค์กรส่วนใหญ่จะเน้นกับฝ่ายบริหารมากจนเกินไป ทำให้ละเลยพนักงานทั่วไป ซึ่งผลที่ตามมาส่วนใหญ่ คือการดำเนินการ TPM ที่ล้มเหลว (ทำแค่นำเสนอ ไม่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมได้ หรือเปลี่ยนการทำงานได้ )  ย้ำอีกครั้งนะครับการให้ความรู้นั้นสำคัญ

ตัวอย่างคอร์สการอบรม

Slide1

3.แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริม TPM ( Establishment of a TPM Promotion Organization and Formal Organization Model )

สาระสำคัญ : การแต่งตั้งคณะการทำงานทุกเสาสำหรับขับเคลื่อนกิจกรรม เพราะทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์  (Zero Loss)

Slide2

4.กำหนดนโยบายและตั้งเป้าหมาย ( Setting the Basic Policy and Goals of TPM )

สาระสำคัญ : กำหนดเป้า Benchmark และ Road map ให้ชัดเจน สำหรับการดำเนินการTPM โดยต้องวางแผนอย่างน้อย 10 ปี เพื่อให้สามารถมองเห็นเป้าหมายทั้งระยะใกล้และไกล เพราะองค์กรคุณ คงไม่ได้อยู่แค่ 1-2 ปีใช่ไหมครับ

5.เขียนแผนดำเนินงานหลัก (Master Plan)

สาระสำคัญ : จัดทำแผนตั้งแต่เริ่มต้นจนขอตรวจประเมิน เพราะMaster Plan (แผนแม่บท) คือ การวางแผนงานในอนาคตและเป็นแผนงานหลักที่องค์กรจะดำเนินงาน เป็นแผนการหรือนโยบายหลักที่ใช้เป็นต้นแบบซึ่งแผนการย่อยต่าง ๆ ที่มี อยู่จะต้องมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับแผนแม่บท แผนหลัก หรือ Master Plan

การจัดทำ Master Plan เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการดำเนินการของหน่วยงานหรือองค์กรปริษัทต่าง ๆ และจะบรรลุวัตถุประสงค์ก็ต่อเมื่อบุคลากรที่ใช้เห็นความสำคัญและสามารถใช้งานได้จริง รวมถึงผลลัพธ์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพที่ได้นั้นต้องเพิ่มขึ้นคุ้มค่ากับการลงทุน

Slide3

6.พิธีเปิด

สาระสำคัญ : เชิญผู้บริหาร ลูกค้า เข้าร่วมพิธีเปิด เพื่อประกาศความชัดเจนให้ทุกท่านให้ทราบถึงความจริงจังของการดำเนินการTPM  ขององค์กรของคุณ

7.สร้างองค์ประกอบให้ระบบการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด

สาระสำคัญ :  แสวงหาประสิทธิภาพสูงสุด  โดยจากการเริ่มจาก 4 เสาหลักก่อน

7.1 การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (เสาที่ 1)  Kobetsu Kaizen (Individual Improvement)

สาระสำคัญ : การปรับปรุงเฉพาะจุด เน้นการสร้างผลกำไร มุ่งกำจัดความสูญเสียทั้งหมดภายในองค์กร

7.2 การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (เสาที่ 2) Jishu Hozen (Autonomous Maintenance)

สาระสำคัญ : สร้างพัฒนาบุคลากรให้เก่งในเครื่องจักร ซึ่งเป็นกิจกรรมเด่นที่สุดของ TPM

7.3 การบำรุงรักษาตามแผนงาน (เสาที่ 3) Keikaku Hozen (Planned Maintenance)

สาระสำคัญ: สร้างบริหารการบำรุงรักษาเครื่องจักร มุ่งไปสู่ Zero Breakdown

7.4 การศึกษาและฝึกอบรม (เสาที่ 4) Upgrading Operation and Maintenance Skills

สาระสำคัญ : ออกแบบการเพิ่มทักษะการเดินเครื่องและการบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบ

 

8.การจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (เสาที่ 8) Safety, Health and Environment Management System

สาระสำคัญ : สร้างระบบที่จะทำให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ และมลภาวะเป็นศูนย์

 

9.การบริหารจัดการตั้งแต่เริ่มแรก (เสาที่ 5) Early Management

สาระสำคัญ : พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ง่าย และสร้างเครื่องจักรที่ใช้งานได้ง่าย

 

10.การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ (เสาที่ 6) Hinshitsu Hozen (Quality Maintenance)

สาระสำคัญ : กำหนดเงื่อนไขการผลิตที่ไผลิตของเสียและควบคุมเงื่อนไขเหล่านั้น

 

11.การปรับปรุงสำนักงาน (เสาที่ 7) Office Improvement

สาระสำคัญ : สนับสนุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพของฝ่ายงานของตนเอง เพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์เครื่องจักร

 

12.ดำเนิน TPM อย่างต่อเนื่องและยกระดับเป้าหมายให้สูงขึ้น Thorough Implementation and Continuous Improvement of TPM

สาระสำคัญ : รับการตรวจประเมินเพื่อรองรับรางวัลTPM Excellence award และท้าทายเป้าหมายที่สูงขึ้นต่อไป

 

หากใครจะเริ่มทำ TPM ขอให้เริ่มจาก 12 ขั้นตอนนี้นะครับ ส่วนรายละเอียดแต่ละข้อคุณต้องสร้างมันขึ้นมาเอง เพราะปัญหาของแต่ละโรงงานไม่เหมือนกัน ดังนั้นคุณต้องสร้างระบบหรือดำเนินการระบบ TPM ในแบบของคุณ

 

เอกสารอ้างอิง JIPM – TPM® 600 Forms Manual

Sample Formats for the12 Steps of TPM Compiled by Japan Institute of Plant Maintenance

 

😎😎😎😎😎

#Coach_Art

#TPMInstructor

#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

#Engiperform

Posted in UncategorizedTagged