ก่อนจะเริ่ม AM Step 1 ผมมีประเด็นการติด Tag ยังคงเป็นประเด็นง่าย แต่เข้าใจผิดกันเยอะ ซึ่งผมขอได้อธิบายไปตามหลัก TPM (#TPMInstructor ) ดังนี้
Tag มีวัตถุประสงค์ สำหรับระบุจุดบกพร่องของเครื่องจักร และยังบ่งบอกถึงผู้รับผิดชอบในการแก้ไขและปรับปรุงอีกด้วย
ปัจจุปัน #TPM มีการนำ Tag ไปใช้อยู่ 3 สี และแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
———————————————————————————-
#Red Tag คือ กลุ่มของตนเองไม่สามารถแก้ไขไม่ได้ ต้องให้หน่วยงานอื่นช่วย ( หน่วยงานซ่อมบำรุง)
#White Tag คือ จุดบกพร่องที่กลุ่มสามารถแก้ไขเองได้
#Yellow Tag คือ ใช้สำหรับค้นหาจุดอันตราย (แก้ไขด้วยตัวเองหรือหน่วยงานซ่อมบำรุงก็ได้)
———————————————————————————
เนื้อหาของความบกพร่องที่ต้องติด Tag มีตัวอย่าง มาจากความผิดปกติ 7 ประเภท หรือ #7Abnormal
ซึ่งนิยมกันอย่างมาก ยิ่งหาจุดบกพร่องได้เยอะเท่าไร ก็จะแก้ไขและปรับปรุงได้ดีขึ้น
1.ข้อบกพร่องเล็กน้อย (Minor Flaws): สิ่งเปรอะเปื้อน, ชำรุด, การทำงานของเครื่องจักร, การหย่อน, หลวม, อาการผิดปกติ, การเกาะติด
เช่น
ความสกปรก : สิ่งที่เกาะอยู่บนพื้นผิวบนอุปกรณ์ เครื่องจักร
การกระเด็นเปื้อน : ผลิตภัณฑ์จากการผลิตหรือบรรจุกระเด็นไปโดนอุปกรณ์ เครื่องจักร (ภายนอกเครื่องจักร)
หลวม-คลาย : จุดที่มีการยึดแน่น หรือขันแน่น เกิดการหลวมคลาย
2.ขาดปัจจัยขั้นต้น (Unfulfilled basic): การหล่อลื่น, จุดเติมสารหล่อลื่น, เกจวัดระดับ, การขันกวด
เช่น
รั่ว : การหยด รั่ว ออกจากภาชนะ, ท่อ, หน้าแปลน
หลุด (สิ่งที่ไม่ได้ยึดด้วย Bolt & Nut) : ขอเกี่ยว หรือชุดล็อคหลุดหาย
หลุด (สิ่งที่ยึดด้วย Bolt & Nut) : น็อตหลุดหาย
3.บริเวณเข้าถึงได้ยาก (Inaccessible Place): ทำความสะอาดยาก, ตรวจเช็คยาก, เติมสารหล่อลื่นยาก, เข้าไปเดินเครื่องยาก, ขันกวดยาก, ปรับแต่งยาก
เช่น
ตรวจเช็คยาก (TENKEN) : จุด หรือ พื้นที่ที่เข้าไปตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงได้ยาก
ทำยาก ใช้เวลานาน : ลักษณะหรือกระบวนการของงาน ที่มีลักษณะที่ใช้เวลานานหรือทำให้สำเร็จได้ยาก
4.จุดที่เป็นสาเหตุความสกปรก (Contamination sources): ผลิตภัณฑ์, วัตถุดิบ, ของเหลว, ของทิ้ง อื่น ๆ
เชน
ฟุ้ง กระจาย : เช่น เท RM ที่เป็นผง หรือ ของเหลว และเกิดการฟุ้งกระจาย
รั่ว : การหยด รั่ว ออกจากภาชนะ, ท่อ, หน้าแปลน
การทับถม : เกิดการทับถมของฝุ่น, ผงของ FG บนอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือ พื้น
5.จุดที่เป็นสาเหตุให้เกิดของเสีย (Quality defect source): สิ่งแปลกปลอม, การช็อค (shock), ความชื้น, ขนาดเม็ดสาร (Grain), ความเข้มข้น, ความหนืด
เช่น
จุดที่ Defect ไหลเข้ามา : จุดที่มี defect เคลื่อนเข้ามาในพื้นที่
จุดที่ทำให้เกิด Defect : จุดที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิด defect ขึ้น
6.สิ่งของไม่จำเป็น (Unnecessary & Non-urgent items): เครื่องจักรกล, อุปกรณ์ท่อ, เครื่องมือวัด, อุปกรณ์ไฟฟ้า
เช่น
ขยะ : เศษกระดาษ พลาสติก หรือ วัสดุ วางอยู่บนทางเดิน
ชิ้นส่วนตกอยู่บนพื้น เช่น sensor หลุดตกออกมา : ขี้เลื่อย/ขี้เหล็ก เราไม่น่าจะมี
มีสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ : พบสิ่งของ ที่ไม่มีความจำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องกับหน้างาน วางอยู่ในบริเวณที่ทำงานนั้น
7.บริเวณที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe places): พื้น, ขั้นบันได, แสงสว่าง, เครื่องจักรหมุน, อุปกรณ์ยก อื่น ๆ
เช่น
พื้นไม่เรียบ : พื้นที่ไม่เรียบ เช่น พื้นที่เกิดน้ำขัง
พื้นเปียก : พื้นเปียกจากการล้าง ทำความสะอาด หรือฝนสาด
Mistake: เหตุการณ์กำลังเกิด เกิดจากความผิดพลาดในการทำงาน
เลือกใช้กันให้ถูกต้องนะครับ โดยจะเริ่มหา Tag ที่ AM Step 1: Initial cleaning (Cleaning is inspection)
Cr. หนังสือ #Monodzukuri test ฉบับภาษาไทย
😁
😁
😁
#TPMInstructor
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
#Engiperform
You must be logged in to post a comment.