หลังจากที่รู้และดำเนินการ Autonomous Maintenance Zero Step ไปแล้ว เราก็มีความพร้อมสำหรับก่อนเริ่ม AM Step 1 เราทุกคนก็จะทราบแล้วว่าเราทำกิจกรรม Autonomous Maintenance ทำ
- เพื่ออะไรและใครได้
- ประโยชน์จากการดำเนินการบ้าง
ด้วยเหตุนี้เองการทำ Zero Step จึงจำเป็นต่อคนไทย เพราะวัตถุประสงค์ของ Autonomous maintenance ที่แท้จริง คือ เพื่อยกระดับความสามารถด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้กับผู้ควบคุมเครื่องจักร , ด้านการควบคุมสายการผลิต รวมถึงด้านการปรับปรุงและควบคุมเงื่อนไขให้กับผู้ควบคุมเครื่องจักร โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะกำจัดความสูญเสียให้หมด
ก่อนจะเริ่มเราต้องมารู้จักก่อรว่ามีพฤติกรรมที่นำไปสู่เครื่องจักรขัดข้องซึ่งจะมี 3 ข้อตามไฮไลท์สีแดง ซึ่งสามารรแก้ไขได้ถ้าดำเนินการ AM Step 1-3 จะสามารถลดปัญหาเครื่องขัดข้องแน่นอน ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้
- ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขพื้นฐาน
- ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการใช้งาน
- เมื่อขัดข้อง แล้วแก้ไขเฉพาะจุดนั้น ไม่พิจารณาจุดอื่นๆ
- ออกแบบมาไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานจริง
- ไม่มีทักษะในการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องจักร
งั้นเราไปลุยกันำหรับของการทำ AM เรามาเริ่ม AM Step 1 กันเลยนะครับ จากประสบการณ์ที่ผมทำ AM Step 1 มาเราควรเข้าใจบริบทของมันก่อน คือ Autonomous Maintenance Step 1 : Initial Cleaning (Cleaning and Inspection) หรือแปลเป็นไทย ก็คือ การทำความสะอาดและการตรวจสอบ โดยการทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning ทุกซอกทุกมุมของเครื่องจักร โดยวัตถุประสงค์แบ่งเป็น 2 ข้อ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ด้านเครื่องจักร
- กำจัดความเสียหายเล็กน้อยที่เกิดจากความสกปรกและเศษขยะต่างๆ ที่อยู่ตามเครื่องจักร เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพแบบบังคับ
- ทำให้เป็นจุดบพร่องที่ปรากฏเกิดขึ้น แล้วทำการฟื้นฟูสภาพ
- จัดเตรียมเงื่อนไขพื้นฐานสำหรับการขันแน่น ทำความสะอาด เติมน้ำมัน หรือมาตรฐานชั่วคราวของชั่วคราวของ
ด้านคน
- พัฒนาการมอง ให้เห็นว่า จุดบกพร่องของเครื่องผ่านสิ่งผิดปกติทั้ง 7 อย่าง หรือ 7 Abnormal
- เรียนรู้แนวคิด วิธีการฟื้นฟูสภาพ
เมื่อเรารู้วัตถุประสงค์ของ AM Step 1 กันแล้ว ต่อไปผมจะแนะนำขั้นตอนการดำเนินการอย่างง่ายที่ผมใช้ในการของ AM Step 1 โดยการดำเนินการขั้นแรกที่คุณต้องทำ คือ
1.ทำสะอาดเพื่อตรวจวัดการเสื่อสภาพของเครื่องจักร โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ติด Tag ตามจุดบกพร่องและแสดงเป็น Visualize
3.ปลด Tag ( Tag ขาว ต้องปลด 100% นะครับ)
4.เขียน OPL ที่ได้จากการปลด Tag
จากนั้นดำเนินการทำการสรุปข้อมูลเพื่อก้าวไปยัง AM Step 2 : Eliminate sources of contamination and and hard-to-access areas หรือการมาตรการตอบโต้ต่อแหล่งจุดรั่วและจุดที่เข้าถึงยาก
- กราฟจาก KPI (Trend Graph) และ Graph แยกประเภทข้อบกพร่องที่พบ
- CIL Time เวลาในการตรวจสอบ หล่อลื่น (Clean inspection lubricating)
- SOC (Source of Contamination Map) ผังแสดงตำแหน่งแหล่งกำเนิดจุดสกปรก ปนเปื้อน เพาะเชื้อ
- HTA (Hard to Access Map) ผังแสดงตำแหน่งที่เข้าถึงยาก ต่อการทำสะอาด ตรวจเช็ค หล่อลื่น ขันแน่น
- Tag List , Abnormal accumulate , OPL Record
- Provitional Tentative Standard AM Step 1 (มาตรฐานชั่วคราวของชั่วคราวของ Step 1)
จากการนั้นก็ขอประเมินผ่าน Step ตามเอกสารตรวจสอบการผ่าน Step ซึ่งจะมีทั้งหมด 3 ระดับ
Self-audit , Manager audit , Top Management audit
หากจะพูดง่ายๆ AM Step 1 คือ
การทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning
เพื่อตรวจสอบหาสิ่งผิดปกติ
และฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรให้ได้
ตาม Basis condition นั้นเอง
Thought Model
** รายละเอียดทั้งหมดเอกสารของ AM Step 1 มีมากกว่าบทความนี้นะครับ ในบทความหน้าจะแสดงตัวอย่างเอกสารที่ใช้จริงให้ทุกท่านได้รับชมต่อไป
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#ไม่มีสักวันเดียวที่จะผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนหนึ่งส่วนใดในองค์กร
#TPMInstructor
#วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ
You must be logged in to post a comment.