หลังจากผ่านการทำความสะอาดแบบ Deep Cleaning อย่างบ้าคลั่งกับการทำ Autonomous Maintenance Step 1 : Initial Cleaning (Cleaning and Inspection) เราเองจะได้ Tag เป็นจำนวนมากจากการค้นหาความบกพร่องตามหลัการ 7Abnormal โดยหลักการฟื้นฟูสภาพให้กับเครื่องจักรเป็นคืนสภาพสู่ Basic Condition หรือ ทำการบำรุงรักษาขั้นพื้นฐาน (ทำความสะอาด หล่อลื่น ขันแน่น ) เป็นพื้นฐานการทำ TPM อย่างแท้จริง
Autonomous Maintenance Step 2 มีวัตถุประสงค์หลัก คือ Eliminate source of contamination and hard to access areas หรือ มาตรการต่อการกำจัดจุดที่เข้าถึงยากและจุดที่ก่อให้เกิดสิ่งสกปรก โดยขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อไคเซ็นแหล่งที่เกิดสิ่งสกปรก ป้องกันการฟุ้งกระจาย ไคเซ็นจุดที่เข้าตรวจสอบได้ยาก เพื่อลดเวลาทำความสะอาด หล่อลื่น ตรวจสอบ และเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงและแก้ไขของพนักงานแต่ถึงรู้วัตถุประสงค์กันแล้วก็ยังมีคำถามากมายในการทำ AM Step 2
ผมเองขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ของวัตถุประสงค์ทั้ง 2 ด้าน ได้ดังนี้
ด้านเครื่องจักร :
- ดำเนินมาตรการแก้ไขต่อเศษขยะ-ความสกปรก-รอยรั่วต่างๆ เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพบังคับ
- ดำเนินการแก้ไขต่อจุดเข้าถึงยากลำบากในการทำความสะอาด-เติมน้ำมัน-ตรวจสอบ ทำ Kaizen ให้ง่ายขึ้น ใช้เวลาน้อยลง เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษา
ด้านพนักงาน :
- เสริมสร้างการต่อยอดในการ Kaizen
- เรียนรู้แนวคิด วิธีการ Kaizen รู้รสชาติความสนุกของ Kaizen
โดยทั่วไปแล้วการทำ Kaizen ของ AM Step 2 กลุ่ม Small group จะต้องขอความช่วยเหลือและคำชี้แนะจากส่วนงานบำรุงรักษา เพราะการปรับปรุงบางอย่างเกินความสามารถของ Small group และประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญประกอบไปด้วย หลัการเคลื่อนไหวหรือแปรรูปของเครื่องจักร , วิธีการแก้ไขจุดปรากฎการณ์ จุดบกพร่องที่เกี่ยวข้องกับจุดที่เข้าที่ยากและก่อให้เกิดสิ่งสกปรก , การเลือกวัสดุชนิดต่างๆ เทคนิคการผลิต วิธีการใชเครื่องมือต่างๆ และเรื่องความปลอดภัยของการใช้เครื่องจักร เป็นต้น
พูดให้เข้าใจง่ายๆ ขั้นตอนนี้ก็คือการลงมือทำ
“ เน้นทำไคเซ็น เพื่อทำงานได้ง่าย
ใช้เวลาน้อยลง เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษา ”
จากการนั้นก็ขอประเมินผ่าน Step ตามเอกสารตรวจสอบการผ่าน Step ซึ่งจะมีทั้งหมด 3 ระดับ
Self-audit , Manager audit , Top audit
ขอเน้นย้ำสำหรับการทำ AM Step 2 การวัดผลลัพธ์นั้นจะต้องรับรู้ในเชิงปริมาณ ต่อ “สถานที่จริง-ของจริง-สถานการณ์จริง” ให้มีความแน่นอน และสำคัญจะต้องประเมินเป็นตัวเงินให้ได้ด้วยครับ
หลักการปรับปรุงอย่างง่ายที่ใช้กันของขั้นตอน AM Step 2 คือ ECRS
E = Eliminate (กำจัดออก)
เทคนิคที่สำคัญ คือ เน้นลดขั้นตอนในการทำความสะอาด ตรวจสอบ หล่อลื่น ขันแน่น โดยเน้นการพิจารณาคุณค่าของงาน
C= Combine (รวมเข้าด้วยกัน)
เทคนิคที่สำคัญ คือ พยายามรวมแสดงจุด ตำแหน่ง การยืนมอง เพื่อการตรวจสอบอยู่ในที่จุดเดียวกัน
R= Rearrange (จัดเรียงใหม่)
เทคนิคที่สำคัญ คือ ลดการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็น หรือ การรอคอย เป็นต้น
S= Simplify (ทำให้ง่าย)
เทคนิคที่สำคัญ คือ คิดให้ยากและทำให้ง่าย
**แนวคิดในการทำ Kaizen 7 Abnormal (AM Step 1) จัดการกันยังไง !!
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#ไม่มีสักวันเดียวที่จะผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนหนึ่งส่วนใดในองค์กร
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art