Autonomous Maintenance Step 3 : Establish autonomous maintenance Tentative Standards

               จากการทำ AM Step 2 อย่างจริงจังจะพบว่าการ Kaizen ของ Small group นั้นสามารถช่วยให้เครื่องจักรลดอาการ Breakdown , Minor step และ Defect ได้จริง แต่ที่สำคัญกว่านั้นคุณได้ยกระดับพนักงานของคุณไปแล้วผ่านการทำ AM Step 1 และ 2  หากคุณไม่เชื่อลองเข้าไป Meeting ร่วมกับ Small group ที่บริเวณที่ตั้ง Activity Board  คุณจะเห็นบรรยากาศที่มุ่งมั่นเพิ่มมาขึ้น มีการบอกปัญหาและการแชร์ความรู้การปรับปรุงหรือแก้ไขต่างๆ ผ่านเอกสารชื่อ One point lesson หรือ OPL (วงเล็บนะครับ ถ้าคุณลงมือทำจริง จะเห็นภาพอย่างนี้แน่นอน)

               เพื่อเป็นการยืนยันการทำงาน AM Step 1 และ 2 ว่าทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำ AM Step 3 เป็นการสร้างมาตรฐานชั่วคราวเพื่อป้องกันการทำงานแบบถดถอย ของงานที่ทำ  โดยวัตถุประสงค์ของ AM Step 3 : เป็นการจัดทำการมาตรฐานการทำงานที่สามารถรักษาเงื่อนไขการทำความสะอาด การตรวจสอบ การหล่อลื่น ได้อย่างแน่นอนและในเวลาอันสั้น เพิ่มและปรับปรุงการควบคุมโดยดูด้วยตา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำความสะอาด , ตรวจสอบ

ประโยชน์ของการทำ AM Step 3

Machine

  • ทำความสะอาดสิ่งสกปรกใน Step 1 รักษาระดับที่ด้ฝื้นฟูสภาพจุดบกพร่องแล้ว
  • รักษาระดับของมาตรการต่อแหล่งที่เกิด-จุดที่ยากลำบาก ที่ได้Kaizen ในstep 2
  • ปรับปรุงการควบคุมโดยดูด้วยตา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำความสะอาดตรวจสอบ

Man

  • จัดทำการป้องกันการเสื่อมสภาพให้ได้อย่างแน่นอนในเวลาอันสั้นหรือมาตรฐานการดำเนินการในการเตรียมเงื่อนไขพื้นฐาฯ
  • เสริมสร้างคนที่สามารถ ” กำหนดให้แน่ชัดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด”

เทคนิคที่ผมใช้การตั้งมาตรฐานการปฎิบัติงานที่ดีนั้น ให้ใช้การตั้งคำถามแบบ 5W1H

  1. Why : ทำไมต้องทำ (วัตถุประสงค์)
  2. When : ทำเมื่อไร (ช่วงเวลา-ระยะเวลา)
  3. Who : ใครเป็นคนทำ (คน)
  4. Where : ทำที่ไหน (สถานที่-ตำแหน่ง)
  5. What : ทำอะไร (สิ่งที่เป็นเป้าหมาย)
  6. How : ทำอย่างไร (วิธีการ)

                 การกำหนดให้ชัดเจนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เป็นก้าวแรกของการควบคุมด้วยตนเอง  “ สิ่งที่ควรปฏิบัติตาม ต้องกำหนดด้วยตนเอง” และรูปธรรมที่ต้องมีประกอบไปด้วย 3 Ten Set อย่างของมาตรฐานชั่วคราวใน Jishu Hozen  คือ 1.เอกสารมาตรฐาน 2. Check sheet  3. Inspection Map  โดยความหมายของทั้ง 3 ผมจะสรุปให้เข้าใจง่ายดังนี้

  • เอกสารมาตรฐาน : การกำหนดมาตรฐานปฏิบัติงานของ Operator ในการควบคุมเครื่องจักรให้ “แน่ชัด” แล้วเขียนเป็นเอกสาร
  • Check sheet : นั้นทำไว้เพื่อ การตรวจเช็คดูว่า ได้มีการปฎิบัติตามมาตรฐานหรือไม่ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น และมีการดำเนินการแก้ไขได้อย่างถูกต้องแน่ชัดหรือไม่ “ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งคัด”
  • Inspection Map : เป็นการแสดงเหมือนแผนที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการตกหล่นของการทำความสะอาด-เติมน้ำมัน-ตรวจสอบ รวมทั้งกำหนดเส้นทางการเดินตามตำแหน่งการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพสูงอีกด้วย

** หากเพิ่มการควบคุมด้วยสายตาเข้าไปด้วย ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สุงขึ้นด้วยอยางเป็นระบบ

จากการนั้นก็ขอประเมินผ่าน Step ตามเอกสารตรวจสอบการผ่าน Step ซึ่งจะมีทั้งหมด 3 ระดับ Self-audit , Manager audit , Top audit

เน้นย้ำอีกครั้ง AM Step 3 คือ สร้าง

Tentative Standard (CIL)

by approach VCS and Kaizen

ตัวอย่าง Tentative Standard

Autonomous Maintenance Step 3

บทความ

แนวคิดการทำ Autonomous Maintenance กับแนวคิดสร้างกิจกรรมป้องกันความสูญเสีย http://bit.ly/2OURIZ9

**แนวคิดในการทำ Kaizen 7 Abnormal (AM Step 1) จัดการกันยังไง !!

AM Step 1 : http://bit.ly/2MkyuOB

AM Step 2 : http://bit.ly/2NbPFhV

Visual control : http://bit.ly/2PCHUDl

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#ไม่มีสักวันเดียวที่จะผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนหนึ่งส่วนใดในองค์กร

 

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art

Posted in UncategorizedTagged