Basic Lean Tools : 5S

            พื้นฐานที่ทุกคนต้องเรียนรู้ เพราะมันคือทุกอย่างก่อนขยับไปเครื่องมือบริหารที่ยกระดับความก้าวหน้าของคุณ เช่น 3T Model  ซึ่งป็นเครื่องมือบริหารที่สามารถช่วยองค์กรคุณในทุกด้าน  แต่ก่อนที่จะไปถึงคุณสังเกตหรือไม่ว่าตรงกลางของทั้ง 3 วง คือ 5S ซึ่งทุกเครื่องมือใช้ร่วมกัน เพราะมันคือพื้นฐานที่สำคัญของการปรับปรุงและบำรุงรักษา

3T model

              5ส เกิดมาขึ้นจากยุคที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2  สหรัฐอเมริกาที่เข้ายึดครองญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้มีการักษาคุณภาพของชิ้นส่วนอุปกรณ์ โทรคมนาคมที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น เพราะขณะนั้นสินค้าของญี่ปุ่นด้อยคุณภาพมากจากปัญหาดังกล่าวนี่เอง ทางอเมริกาจึงส่งผู้เชี่ยวชาญ คือ Mr. W. Edwards Deming เข้ามาเผยแพร่แนวคิดเรื่องคุณภาพและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต มาดูแลและให้ความรู้ส่งให้ญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตมากที่สุด  โดย QC เป็นหลักการที่มุ่งควบคุมที่ตัววัตถุมากกว่า ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นหลักการง่ายๆ ที่จะสนับสนุนกิจกรรม “รากฐาน” ที่มุ่งไปที่ตัวคนและสภาพแวดล้อม ซึ่งหลักการนั้นก็คือหลัก 5 ส ที่ทางญี่ปุ่นเรียกว่า 5S นั่นเอง

          จริงๆแล้ว 5ส คือการจัดระบบพื้นที่การทำงานและเป็นการจัดระบบงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายขององค์กร หรือเพื่อปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้ดีขึ้นในวงการการผลิตและการบริการ เป็นต้น  โดยการปฏิบัติตามหลัก 5ส ที่แปลมาจากภาษาญี่ปุ่น โดยในญี่ปุ่นเรียกกันว่า Seiri , Seiton ,Seisou,Seiketsu, Shitsuke

Untitled

รูปจาก Iván Martín Bermejo : Japanese meanings from Lean Thinking

             ตามด้วยองค์ Asian Productivity Organization หรือ องค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย เรียกว่า Organization , Neatness ,Cleaning , Standardization ,Training/Discipline  ส่วนประเทศไทยโดย สสท. เรียกว่า สะสาง ,สะดวก ,สะอาด ,สร้างมาตรฐาน, สร้างวินัย  (อ้างอิง อ.อภิชาติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง 5ส จากสสท. ) ไม่ว่าจะเรียกกันยังไง ผมขอสรุปสาระสำคัญแต่ละ ดังต่อไปนี้ ให้เข้าใจ Concept คร่าวๆก่อนล่ะกัน

ส5 : Shitsuke

วัตถุประสงค์ : รักษามาตรฐาน และ ระบบ 5ส

ตัวชี้วัด : ทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา คือการแสดงออกของทัศนคติ และพฤติกรรมด้วยจิตสำนึกที่ดี

เป็นไปตามระเบียบ กฎเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ

 

ส3 : Seisou

วัตถุประสงค์ : ตรวจสอบค้นหา สิ่งผิดปกติ และบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

ตัวชี้วัด : จำนวนสิ่งผิดปกติที่ตรวจพบ

 

ส1 : Seiri

วัตถุประสงค์ : ลดความสูญเปล่า

ตัวชี้วัด : จำนวนสิ่งของหรือระบบงานที่สูญเปล่า หรือ ซ้ำซ้อน ถูกกำจัดออก

 

ส2 : Seiton

วัตถุประสงค์ : เพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงให้ดีขึ้น (ความเร็ว)

ตัวชี้วัด : คุณภาพโดยรวมเพิ่มขึ้น และ ค้นหาสิ่งของได้ภายใน 30 วินาที

 

ส4: Seiketsu

วัตถุประสงค์ : ลดความผันแปร เพิ่มความถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ ปรับปรุงมาตรฐานให้ดีขึ้น

ตัวชี้วัด : พนักงานในหน่วยงานเดียวกันทำงานแทนกันได้

              หากคุณสังเกตการเรียงลำดับทั้ง 5ส ของผมจะพบว่ามันคือขั้นตอนการการดำเนินการปฏิบัติที่อย่างเชื่อมโยงกัน เริ่มจากคุณต้องสร้างวินัยก่อนจากนั้นเริ่มการทำความสะอาดทุกพื้นที่เพื่อหาสิ่งผิดปกติและกำจัด สะสางของที่ไม่จำเป็นออก เหลือแต่ของที่จำเป็นไว้ ตามด้วยการทำให้สะดวก หรือ Kaizen ปรับปรุงให้ดีขึ้นและส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสุดท้ายจบด้วยการสร้างมาตรฐานเพื่อป้องกันการทดถอยของงานนั้นๆ  นึ้ละครับคือขั้นตอนการทำ 5ส แบบวิศวกรเค้นประสิทธิภาพ

             และสิ่งที่ลืมไม่ได้คุณต้องตั้งเป้าหมายของ 5ส ให้ชัดเจน ไม่งั้นมันจะเป็นแค่กิจกรรมที่ทำเพื่อความสวยงามหรือแค่ได้ทำ เท่านั้นเอง

 

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#ไม่มีสักวันเดียวที่จะผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนหนึ่งส่วนใดในองค์กร

ติดตามข่าวสารด้านเพิ่มผลผลิตได้ที่ : www.engiperform.com

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art

 

เอกสารอ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/5S_(methodology)

https://better-operations.com/2015/10/19/5s-done-right/