5 Step Implement to Makigami analysis

                Makigami analysis or Roll paper analysis มีวัตถุประสงค์ : เพื่อใช้ในการค้นหาความสูญเสียที่ซ้อนเร้นอยู่ในการปฏิบัติงานแต่ล่ะขั้นตอน หรือค้นหาความสูญเสียที่ขัดขวางการไหลของงานสิ่งที่สำคัญต้องเขียนตามสภาพความเป็นจริง (Fact base) ที่เป็นอยู่ เพื่อที่จะได้เห็นจุดบกพร่องทั้งหมด ซึ่งจะขับเคลื่อนผ่าน Pillar 7 : Office Improvement  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ TPM โดยกลุ่มงานที่ทำงานในสำนักงานเป็นหลัก โดยวัตถุประสงค์ต้องการทำให้ส่วนงานสนับสนุนมีประสิทธิภาพ สร้างมาตรฐาน มีความสามารถหลากหลายและสร้างที่ทำงานที่ทำให้ทำงานง่าย

          ผมเองได้มีโอกาสได้ Coaching กิจกรรม OI ทั้งหมด 4 โรงงานแบบจริงจัง ซึ่งพบว่างานสำนักงานมีความสูญเสียซ้อนเร้นที่แตกต่างกันและค้นพบว่าคุณต้องเริ่มวิเคราะห์แบบกลุ่มแบบข้ามสายงานหรือ cross functional team สำหรับสร้างโมเดลแหล่งความสำเร็จ ซึ่งเมื่อทำสำเร็จ คุณจะมีความมั่นใจเพื่มมากขึ้น รวมถึงการขยายผลได้อย่างรวดเร็วด้วย ซึ่งขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้

5 ขั้นตอนของการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในสำนักงานด้วยการวิเคราะห์ Makigami

  1. การวิเคราะห์หน้าที่งานและกำหนดหัวข้อเรื่อง : ทำการวิเคราะห์หน้าที่งานและทำการสำรวจปริมาณงานของบุคคลและสถานประกอบการ Flow chart ต้องมีความชัดเจนความเป็นมาของกิจกรรมและเลือกหัวข้อที่จะท้าทาย เลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น หรือหัวข้อที่มีการทำบ่อยๆ

  1. สำรวจความจริง : รวบรวมการไหลของงานและสภาพความจริง โดยใช้ Makigami แสดงสภาวะที่มีอยู่จริงโดยใช้ฟอร์มต่างๆ หรือเอกสารต่างๆ ที่เป็นของจริง (แนะนำ : การทำเมทริกซ์ของความสูญเสีย (Losses)-กระบวนการ (Process)

Process loss OI

3. ค้นหาปัญหาและแยกแยะประเภทความสูญเสีย : บันทึกปัญหาลงใน Post it และติดบน Makigami สำรวจจำนวนเวลา-คน, Lead time ความยากง่ายของแต่ละงาน และการตำแหน่งของการวิเคราะห์ Makigami ใน “Work unit”

Makigami workunit

  1. จัดทำข้อเสนอในการปรับปรุงและดำเนินการปรับปรุง : จัดระเบียบปัญหาด้วยกราฟ Pareto Loss ดำเนินการโดย List up หัวข้อปรับปรุง

 

  1. ยืนยันผลลัพธ์และรักษาสภาพ : แสดงให้เห็นว่างานใด สามารถปรับปรุงได้แล้ว ลงใน Makigami จัดทำระบบโดยจัดทำเป็นมาตรฐานการทำงาน

 

สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น การเลือกงานที่ทำประจำ (Routine) โดยเลือกหัวข้อ ลดขั้นตอนการทำงาน หรือลดกระบวนการทำงานตามความสนใจของตนเอง

 

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#ไม่มีสักวันเดียวที่จะผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนหนึ่งส่วนใดในองค์กร

ติดตามข่าวสารด้านเพิ่มผลผลิตได้ที่ : www.engiperform.com

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art

Posted in UncategorizedTagged