ยกระดับ 5ส ด้วยภาพภ่าย Visual feedback photography

          VFP มาจากคำเต็มว่า Visual Feedback Photography หรือ การปรับปรุงพื้นที่ (5ส) ด้วยภาพถ่าย เป็นการการปรับปรุงพื้นที่ 5ส ด้วยภาพถ่าย คือ การถ่ายภาพเปรียบเทียบการปรับปรุงแก้ไขพื้นที่ 5ส ก่อนและหลังแก้ไขอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการทำ 5ส โดยขั้นตอนการดำเนินการมีทั้ง 12 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 จัดประชุมกลุ่ม : หัวหน้างานและผู้ประสานงาน VFP ประจำกลุ่ม ประชุมกลุ่มเพื่ออธิบายถึงความสำคัญ ประโยชน์และขั้นตอนของ VFP

ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มเริ่มตรวจสอบและค้นหาจุดที่มีปัญหา : กลุ่มจะเริ่มตรวจและค้นหาจุดที่มีปัญหาในสถานที่หรือพื้นที่ทำงานโดยใช้ตารางตรวจสอบ 5ส

ขั้นตอนที่ 3 ถ่ายภาพจุดที่มีปัญหา : เมื่อกลุ่มได้พบจุดที่มีปัญหาแล้วจะถ่ายรูปไว้โดยกำหนดจุดถ่ายภาพระยะและมุมกล้องไว้ (เพื่อการถ่ายภาพครั้งต่อไป) กำหนดลำดับหมายเลขของภาพถ่ายและวันที่ที่ถ่ายภาพ ควรถ่ายภาพในมุมที่ไม่แคบจนเกินไป เพื่อจะได้สามารถมองเห็นภาพรวมว่าคืออะไร

ขั้นตอนที่ 4 จัดทำผังถ่ายภาพจุดที่มีปัญหา : กลุ่มจัดทำผังภาพถ่ายจุดที่มีปัญหา 24 ภาพ โดยอัดภาพถ่ายปัญหาละ 3 ภาพ

ขั้นตอนที่ 5 เลือกจุดที่มีปัญหาจากภาพถ่าย : พิจารณาแต่ละภาพและตัดสินใจเลือกภาพถ่าย 6 ภาพ มาติดบนแผนผังภาพแสดงการปรับปรุงสถานที่ทำงาน (Visual feedback photography chart)

ขั้นตอนที่ 6 จัดทำแผนผัง VFP : จัดทำแผนผังภาพแสดงการปรับปรุงสถานที่ทำงาน (visual feedback photography chart) โดยนำภาพที่ 3 (ที่ติดทับไว้บนภาพที่ 2 จากขั้นตอนที่ 4) ติดในช่องรอบที่ 1 (round 1) และดำเนินการดังนี้

  • กำหนดวันที่ และเวลาในการถ่ายภาพครั้งต่อไป
  • กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละปัญหา
  • กรอกข้อความในช่องคำแนะนำ แผนก และผู้รับผิดชอบ
  • ติดแผนผังVFPบนบอร์ดและแขวนไว้ในสถานที่ที่เหมาะสมและทุกคนสามารถมองเห็นได้สะดวก

ขั้นตอนที่ 7 ดำเนินการปรับปรุงและแก้ไข : ผู้รับผิดชอบแต่ละปัญหาจะนำกลุ่มของตนทำการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่แสดงไว้ในภาพ จนกระทั่งแก้ไขสำเร็จตามแผนที่วางไว้ ซึ่งกลุ่มจะต้องกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จที่แน่นอนและสมาชิกในกลุ่มเห็นชอบร่วมกัน

ขั้นตอนที่ 8 ถ่ายภาพครั้งที่ 2 หลังการปรับปรุงแก้ไข : กลุ่มต้องถ่ายภาพครั้งที่ 2 ตามวันและเวลาที่กำหนด ณ จุดเดิม ระยะเดิมและมุมกล้องเดิม

ขั้นตอนที่ 9 ติดภาพถ่ายครั้งที่ 2 บนแผนผัง VFP : กลุ่มติดภาพถ่ายครั้งที่ 2 ในช่องรอบที่ 2 (round 2) ให้ตรงแถวเดียวกับภาพถ่ายครั้งที่ 1

VFP 3

ตัวอย่างตาราง visual feedback photography chart

ขั้นตอนที่ 10 จัดประชุม รายงาน ประเมินผล และวางแผนปรับปรุงครั้งต่อไป : จัดประชุมสรุปผลความก้าวหน้า และงานที่ยังค้าง รวมทั้งวางแผนการปรับปรุงครั้งต่อไป สมาชิกกลุ่มกรอกข้อความลงในช่องคำแนะนำและให้คะแนนประเมินผลในผัง VFP กลุ่มกำหนดวันและเวลาในการถ่ายภาพครั้งต่อไป

ขั้นตอนที่ 11 ดำเนินการตาม ขั้นตอนที่ 7-10 ซ้ำอีก : กลุ่มเริ่มดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่ 7-10 ซ้ำอีก จนกระทั่งครบทั้ง 4 ครั้ง (รอบ)

ขั้นตอนที่ 12 เลือกปัญหาใหม่ (ขั้นตอนที่ 5) หลังการปรับปรุงครบ 4 ครั้ง (รอบ) : เมื่อกลุ่มดำเนินการปรับปรุงครบ 4 ครั้ง (รอบ) แล้ว ให้พิจารณาว่าจะปรับปรุง ปัญหาเดิมอีกหรือไม่ ถ้าไม่ ให้ดำเนินการเลือกปัญหาใหม่ต่อไปอีก 6 ภาพ โดยทำตาม ขั้นตอนที่ 5 ถึงขั้นตอนที่ 12 อีก จนกระทั่งรูปภาพที่ติดบนแผนผังแสดงปัญหาที่พบใน สถานที่ทำงาน (workplace problem chart) หมดแล้วจึงเริ่มถ่ายภาพปัญหาอีก 24 ภาพใหม่อีกครั้ง

               เคล็ดลับวิธีที่ผมประยุกต์ใช้กับการดำเนินการ VPF และได้ผล คือ เน้นการดำเนินการให้เสร็จภายใน 1 เดือน เพราะว่าตามหลักการกฎ 21 วัน ทำให้เป็นความเคยชิน ของ Dr.Maxwell Maltz ได้นำเสนอทฤษฎี 21-Day Habit Theory ได้เขียนลงในหนังสือ Psycho-Cybernetics  โดยมีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ว่า เกิดขึ้นจากตัวเอง โดยเชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยการตั้งมโนภาพในจิต เกี่ยวกับการปรับปรุงพฤติกรรมของเรา และกระทำซ้ำต่อเนื่องกันจนถึงยี่สิบเอ็ดวัน ก็จะตกผลึกกลายเป็นพฤติกรรมถาวรของเรา

VFP

รูปตัวอย่างการทำ VFP

     

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#ไม่มีสักวันเดียวที่จะผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนหนึ่งส่วนใดในองค์กร

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #hozenkaizen