Planned Maintenance Concept

Keikaku Hozen หรือ Planned Maintenance  คือออะไร ???

ทำไมต้องทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร ???

คนที่อยู่โรงงานอาจจะเข้าใจว่า แผนบำรุงรักษาเครื่องจักรมาจากผู้ผลิตเครื่องจักรและส่วนงานวิศวกรรมแค่เอามาทำแผนตามเอกสารที่แนบมาให้ในวันที่ซื้อเครื่องจักร แต่สิ่งที่คุณยังไม่ทราบบางครั้งซื้อการเครื่องจักรที่เราซื้อมานั้นมีแค่แผนบำรุงรักษาแค่ผิวเผินหรือไม่มีเลยด้วยซ้ำ หนักไปกว่านั้นบางทีเป็นเครื่องจักรมือ 2 และ 3

หากจะให้เข้าใจง่ายๆ  

คือการบำรุงรักษาเครื่องจักรก็เหมือนการป้องกันโรคที่จะเกิดนั้นเอง

แนวคิด PM

Planned Maintenance    ถือเป็นแกนหลักที่จะทำให้ TPM นั้นสำเร็จ เพราะเสานี้ประกอบไปด้วยวิศวกรซึ่งมีความชำนาญด้านเครื่องจักรและเป้าหมายของกิจกรรมหลัก คือ การสร้างระบบบำรุงรักษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์มี 3 ส่วนหลักดังนี้

  1. เพื่อเพิ่มระยะเวลาเดินเครื่องจักรให้ยาวนานขึ้น (MTBF) และลดเวลาในการซ่อมเครื่องจักรให้สั้นลง (MTTR)
  2. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้ต่ำลง
  3. เพื่อยกระดับเทคโนโลยีของเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้สูงขึ้น

PM 1

รูปจาก JIPM

        หากมองไปถึงวัตถุประสงค์ของการบริหารงานด้วย TPM เอง จะพบว่าการทำ TPM Part I จะมุ่งเน้น “การลดต้นทุนการผลิต” ซึ่งเป็นการเพิ่มความเข็มแข็งของโรงงานและส่วนที่ PM ต้องจัดการ คือ Zero Breakdown ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของ PM Pillar และส่วนประกอบที่สำคัญที่จะทำให้ Zero Breakdown ประกอบเสาหลักอยู่ 2 เสา คือ Autonomous Maintenance และ Planned Maintenance  และประเภทการบำรุงรักษาตามแผนงาน Planned Maintenance สามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

  • PM : Preventive Maintenance (บำรุงรักษาเชิงป้องกัน)
    • TBM   :  Time Based Maintenance (บำรุงรักษาตามคาบเวลา)
    • CBM   :  Condition Based Maintenance (บำรุงรักษาจากการทำนายสภาพ)
  • BM     :  Breakdown Maintenance (บำรุงรักษาหลังเกิดขัดข้อง)
  • CM :  Corrective Maintenance (บำรุงรักษาเชิงแก้ไข)
  • MP : Maintenance Prevention (ป้องกันการบำรุงรักษา)
  • PdM : Predictive Maintenance (การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์)

โดยดำเนินการเบื้องต้นคุณต้องแบ่งงานและแบ่งความความรับผิดชอบให้ส่วนงานผลิต AM แล้วแต่การประเมินข้องแต่ละโรงงาน จากนั้น ตามตารางข้างล่าง

PM 2

           ตามมาด้วยการบริหารเครื่องจักรผ่านบทบาทสำคัญของหัวหน้า Planned Maintenance ที่ต้องสร้างระบบการบริหารงานบำรุงรักษาภายใต้แนวความคิดการบำรุงรักษาเครื่องจักรในการผลิต นั่นก็คือ คิดว่าจะบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างไร หรือพูดง่ายๆว่าคือ บริหารการบำรุงรักษาเครื่องจักร (Maintenance Management)  โดยการมุ่งเน้นไปการทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ 4 เฟส ซึ่งแต่ละเฟสจะทำไปพร้อมกับการทำ Autonomous Maintenance  เพราะหากคุณทำอยู่ข้างเดียวงานก็อยากที่จะสำเร็จ เพราะกลุ่มงานที่อยู่ประจำเครื่องจักรจริงๆเป็น Small Group ของ AM Pillar ดังนั้น PM Pillar เองก็ต้องเตรียมให้ความรู้และข้อมูลไปสอนพนักงาน AM ด้วยนะครับ

PM 6

รูปแนวคิดการทำให้เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์

         หากท่านใดสนใจการสร้างแผนบำรุงรักษาสามารถอ่านบทความได้ที่ 10 Step เทพ :Planned Maintenance !! และอีกหนึ่งถ้าเลือกคือการวางระบบผ่านระบบกลไกการบำรุงรักษาเครื่องจักร ซึ่งเป็นเพียงข้อแนะนำเท่านั้น คุณเองต้องประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรของคุณ

PM 5

         สุดท้ายนี้ Planned Maintenance ในบริบทของ TPM นั้นจะให้ความสำคัญของการสร้างระบบบริหารเครื่องจักรพร้อมกับการช่วยสนับสนุนการพัฒนาบุคคลากรขององค์กรให้สามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตัวเอง หรือ Autonomous Maintenance อย่างเป็นระบบ

 

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#ไม่มีสักวันเดียวที่จะผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนหนึ่งส่วนใดในองค์กร

FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art

 

Posted in UncategorizedTagged