Lean for Standardized Work

        การทำงานที่จะได้ซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น คุณต้องวิธีการทำงานที่เป็น “งานมาตรฐาน” หากอยากจะรู้ว่างานมาตรฐานที่ดีนั้นเป็นอย่างไร ลองสมมติให้พนักงานใหม่ที่เข้ามาปฏิบัติงานตามงานมาตรฐานแล้ว “ผลิตของเสียออกมาหรือไม่” ถ้ายังผลิตของเสียแสดงว่า งานมาตรฐานยังไม่มีประสิทธิผล โดยงานมาตรฐานที่ดีต้องมุ่งเน้นให้เกิด Productivity ซึ่งตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ต้องมีการวัดผล Output/Input

Productivity ต้องมีครบทั้ง 2 ส่วน ได้แก่ ประสิทธิภาพแบะประสิทธิผ

  1. ประสิทธิผล คือ การทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ สามารถตอบสนองความต้องการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความมีจริยธรรม
  2. ประสิทธิภาพ คือ การทำงานโดยลดความสิ้นเปลื้อง ความสูญเปล่าให้น้อยที่สุด เมื่อยล้าที่สุด ใช้เวลาสั้นที่สุด

          หากจะมองการระบบทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผมของยกระบบการผลิตแบบ Toyota ซึ่งระบบนี้ให้ความสำคัญการสร้างงานมาตรฐานที่ผสมผสานระหว่างคน สิ่งของ เครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขของสภาพปัจจุบัน รวมทั้งมุ่งพัฒนาในเรื่องคุณภาพ ต้นทุน ความปลอดภัย และลักษณะงาน   ดังนั้น งานมาตรฐานจึงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของการผลิตแบบ Just In Time

          จริงๆแล้ว Standardized Work หรือ งานมาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ใช้ในเวลาผลิตของโรงงานผลิต โดยรวบรวมงานต่าง ๆ ที่ใช้การเคลื่อนไหวของคนเป็นหลัก เพื่อให้มีวิธีการผลิตอย่างมี ประสิทธิภาพมากที่สุดตามลำดับขั้นตอนโดยไม่มี มุดะ  เงื่อนไขของการสร้างงานมาตรฐานแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

  1. ด้านการทำงาน (เงื่อนไขเวลาที่กำหนด)
  • ให้ความสำคัญการเคลื่อนไหวของคนเป็นหลัก
  • เป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ
  1. ด้านอุปกรณ์ (เงื่อนไขเวลานำไปใช้)
  • ลดข้อขัดข้องของอุปกรณ์ให้เหลือน้อยที่สุด
  • ลดความไม่สม่ำเสมอในไลน์ให้น้อยที่สุด
  1. ด้านคุณภาพ (เงื่อนไขเวลานำไปใช้)
  • ลดข้อขัดข้องเรื่องคุณภาพในไลน์ให้เหลือน้อยที่สุด
  • ลดความไม่สม่ำเสมอของความเที่ยงตรงแม่นยำให้เหลือน้อยที่สุด

การสร้างงานมาตรฐานนั้น ข้อสำคัญที่ผมใช้พิจารณามี 3 เรื่องที่ผมให้ความสำคัญ คือ รอบเวลาทำงาน,ลำดับการปฎิบัติงาน และมีมาตรฐานให้ดูตลอดเลย และการสร้างต้องออกมาในรูปแบบเอกสารเพื่อเป็นการยืนยันผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น

  1. ตารางประสิทธิภาพของแต่ละกระบวนการผลิต
  2. ตารางงานมาตรฐานผสม
  3. แผนภาพงานมาตรฐาน
  4. เอกสารอื่น เช่น WI

  ด้วยเหตุผลนี้การสร้างงานมาตรฐานถึงสำคัญต่อทุกงานที่ต้องการทำแล้วให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งกลไกที่ช่วยให้งานมาตรฐานยกระดับให้สูงขึ้น คุณต้องดำเนินการกิจกรรม Kaizen (ไคเซ็น) ควบคู่ไปพร้อมกัน เพราะการทำไคเซ็นถือเป็นเส้นเลือดชีวิตของงานที่ได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน เพราะการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อต้องการลดความสูญเปล่า (Muda) โดยเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอความเห็น รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานที่เคยถูกกำหนดไว้ก่อนหน้านั้นเอง

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล

FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art