การดำเนินกิจกรรมดูแลรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง หรือ Autonomous Maintenance นั้นมีหลักการนึงที่ผมใช้ดำเนินการเป็นประจำซึ่งจะทำให้การทำ AM นั้งมีอย่างมีประสิทธิภาพอย่างมาก นั้นก็คือ หลักการ 5 Gen
หลัการ 5 Gen ประกอบไปด้วย Genba , Genbutsu , Genjitsu , Genri และ Gensoku ซึ่งทั้ง 5 หลักการนี้เป็นสิ่งแรกที่ผมให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดย 3G แรก นั้นสำคัญกับการดำเนินการ AM Step 1-3 เนื่องจาก Ganba walk กับ Autonomous Maintenance เป็นการลงไปเห็นที่จุดเกิดเหตุเองนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะการหาสิ่งผิดปกติที่เครื่องจักรนั้น เพื่อนำไปแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ใช่นั่งเทียนที่ออฟฟิตหลักการ 3 Gen ที่ว่าคือ
- Genba แปลไทย : สถานที่ / หน้างานจริง หมายถึง การลงไปสำรวจที่หน้างานจริง
- Genbutsu แปลไทย : สิ่งของ/ชิ้นงานที่เป็นตัวปัญหาจริง หมายถึง การดูสังเกตและจับต้องชิ้นงานที่ผลิตได้จริงหรือตัวสินค้าที่จัดเก็บอยู่จริงหรือชิ้นงานที่กำลังถูกตรวจสอบอยู่
- Genjitsu แปลไทย : สถานการณ์จริง หมายถึง เหตุการณ์หรือสถานะการณ์ที่เกิดปัญหาจริง เช่น สภาพแวดล้อมหรือกระบวนการ ขั้นตอนการทำงานหรือช่วงเวลาที่ผลิตของเสียบ่อยๆ หรือที่เกิดปัญหาได้บ่อยๆ
เมื่อผ่านการใช้หลักการ 3 Gen แล้วหากคุณอยากเห็นเป็นรูปธรรมจริงๆ คุณต้องผ่าน AM Tool สำหรับการขับเคลื่อน Small group Activity ได้แก่ One Point Lesson , Activity Board , Meeting โดยการกิจกรรมเล่านี้เป็นการยืนยันให้เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะการ Activity Board คือการติดตามงานของหัวหน้างงานและดูความคืบหน้าของกิจกกรรมที่ทำ หรือง่ายๆจะเข้าใจในรูปแบบ PDCA เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนว่า
“ ขณะนี้จะต้องทำอะไรบ้าง ”
“ มีปัญหาอะไรอยู่บ้าง “
“ แก้ไขแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ”
และเมื่อคุณการดำเนินกิจกรรมดูแลรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ถึง Step 4 จะเริ่มใช้อย่างเต็มที่ เพราะทั้ง 2 หลักนี้จะเป็นการใช้หลักการวิเคราะห์ โดยหลักการ 2 Gen ที่ว่าคือ
- Genri แปลไทย : ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจริง หมายถึง หลักการที่ใช้ในการทำงาน หรือมาตรฐานการผลิตในปัจจุบัน, สมมุติฐานในการแก้ไขหรือตรวจสอบ สูตรการผลิต หรือส่วนประกอบในการผลิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- Gensoku แปลไทย : เงื่อนไขประกอบที่เกี่ยวข้องจริง หมายถึง ข้อจำกัด ข้อตกลง หรือกฏที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
ด้วยเหตุผลนี้เองการที่เราลงพื้นที่หน้าจริง สถานที่จริง เจอของจริง จะทำให้เราสามารถตัดสินใจและเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง และท้ายที่สุดก็จะพัฒนาการทำงานสู่รูปแบบ Daily Management เพื่อเป็นสร้างให้งานที่ทำประจำให้ได้ตามภารกิจและเป้าหมายที่วางไว้ หากไม่ได้ตามเป้าหมายต้องมีการปรับปรุงแก้ไขและปรับปรุงงานเดิมทีละเล็กทีละน้อยอย่างต่อเนื่องให้ดีขึ้น หากคุณบริหารงานประจำได้จะส่งผลต่อการป้องกันการถดถอย ( Standardization for prevention ) ของงานคุณ ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นก้าวแรกของการพัฒนาบุคคลากรให้เข้าใจหลักการบริหาร
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art