ผลของการปรับปรุงที่ไม่สร้างผลกำไร

ผู้บริหาร ได้ถามกับทีมผมว่า

“Saving จากงานปรับปรุงได้ เงินเป็นพันล้านแต่ทำไม บริษัทไม่มีกำไร”  

เมื่อบริษัทมีกำไร คุณปรับปรุง ก็มีกำไรหรือมองคล้ายมีกำไร

หากวันไหนบริษัทขาดทุน สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การลดต้นทุน ตามมาด้วยการการเพิ่มยอดขายของสินค้าทุน

คำถามผมเกิดขึ้นทันที ผ่านการตั้งสมมติฐานว่า

“ งานปรับปรุงทุกอย่าง ต้องสามารถคิดผลตอบแทนทางบัญชีเท่านั้น ”

          จากนั้นผมก็เริ่มตรวจสอบตามสมมติฐาน ก็ได้พบว่างานปรับปรุงกว่า 60% ไม่สามารถคิดเงินทางบัญชีได้ ซึ่งปัญหานี้เกิดจากการคิดคำนวณผลตอบแทนที่มุ่งเน้นค่าแตกต่างจากเป้าหมายหรือมองคล้ายมีกำไรจาการตั้งคำนวณเที่สับซ้อนไปมาเพื่อให้ได้ผลตอบแทน แต่สิ่งที่หน้ากลัวกว่านั้นคือการทำงานปรับปรุงจากการกำหนดจากการอยากทำหรือเป็นคำสั่งจากผู้บริหาร  เพื่อตอบสนองความต้องการของหัวหน้าที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จึงทำให้เกิดปัญหาตามที่ผู้บริหารได้ตั้งคำถาม ซึ่งแนวทางแก้ไขนั้นมีรูปแบบมากมายทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก เช่น Six-Sigma , Lean ,TPS และ TPM  แต่ถ้าจะให้ยั้งยืนผมเสนอให้คุณใช้เครื่องมือบริหาร TPM เป็นระบบการจัดการที่หมาะกับองค์กรที่มีการใช้เครื่องจักรผลิตเป็นหลัก

         โดยกิจกรรมลดความสูญเสียเป็นกิจกรรมหลักของ Focus Improvement หรือ การปรับปรุงเฉพาะจุด ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำกำไรให้องค์กรอย่างแท้จริง เพราะการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต  หมายถึงทำให้บริษัทสามารถ สร้างผลกำไร ได้โดยมีวิธีการ คือการกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป ด้วยการทำให้  “เป็นศูนย์”  และ “ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด” โดย ทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Loss)  ซึ่งเป็นภารกิจหลักและลักษณะเด่นของกิจกรรม TPM  โดยการดำเนินการมีดังนี้

          1.กำหนดความสูญเสียของบริษัท หรือ Loss structure

2.กำหนดโครงสร้างต้นทุน หรือ Cost structure

3.จัดทำ Losses-Cost Matrix เพื่อความสำคัญและลำดับที่ทำก่อน –หลัง

Untitled

รูปการแบ่ง Losses-Cost Matrix

          เมื่อดำเนินการจัดทำ Losses-Cost Matrix เสร็จสิ้น คุณจะได้เห็นตารางความสัมพันธ์ระหว่างความสูญเสียและเงิน ซึ่งโดยปกติเราเองมักจะเลือกเรื่องในการปรับปรุงงานที่ง่ายจะทำก่อนเพื่อให้สำเร็จ แต่ถ้าเป็น TPM โดยเฉพาะ Focus Improvement (Kobetsu Kaizen) คุณจะทำเรื่องการปรับปรุงที่เหมาะสมกับระดับการทำงานของคุณ ตามรูปJob Kaizen TPM  และสุดท้ายนี้อย่างลืมไปทำการคิดเงินที่แผนกบัญชีนะครับ

Untitled

รูปการแบ่ง Job Kaizen TPM

 

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล

FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art

 

Posted in UncategorizedTagged