เครื่องจักรที่คุณซื้อมาใช้ คุณใช้เครื่องจักรเต็มประสิทธิภาพแล้วหรือยัง ?
การวัดประสิทธิภาพเครื่องจักรที่นิยามใช้กันในระดับสากลมีชื่อเรียกว่า Overall Equipment Efficiency หรือ OEE โดยส่วนใหญ่การคำนวณ OEE จะมีค่าที่บ่งบอกประสิทธิภาพด้วยกัน 3 ค่า คือ Availability Rate , Performance Rate , Quality Rate และนำค่าทั้ง 3 มาคูณกัน
OEE = อัตราเดินเครื่อง x ประสิทธิภาพเดินเครื่อง x อัตราคุณภาพ
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิต แต่ละค่าจะมุ่งเน้นไปที่ตัวชี้วัดที่แตกต่าง ซึ่งตามทฤษฎีของ JIPM จะมีการหยุดและความสูญเสียหลักๆ ด้านเครื่องจักรด้วยกัน 8 ประการ เพื่อให้แน่ใจว่าการคำนวณที่จะถูกต้องคุณต้องรู้ความสูญเสียและบันทึกค่าให้ถูกต้อง
Availability Rate : มุมมองจะเน้นที่เรื่องของเวลา
(1) Failure losses = หยุดเครื่องจักรเสีย สาเหตุมาจากปัจจัยภายในเครื่องจักรหรือเครื่องเสีย คือ การหยุดฟังก์ชั่นของเครื่องจักร หรือ การตกต่ำของฟังก์ชั่นของเครื่องจักร
(2) Setup and adjustment losses = หยุดการปรับตั้งเครื่องจักรก่อนเริ่มและการปรับแต่งระหว่างการผลิต หรือระหว่างตั้งแต่งานผลิตปัจจุบันสิ้นสุดลง และมีการเปลี่ยนงานเป็นแบบอื่น และปรับ ลองแปรรูป จนกระทั่งได้เป็นของดีอย่างสมบูรณ์
(3) Cutting blade change losses = หยุดการเปลี่ยนใบมีดระหว่างการผลิต หยุดเพื่อเปลี่ยนหินลับ คัตเตอร์ มีดกลึง เป็นต้นหรือการเปลี่ยนต่างๆ เช่น เปลี่ยนล๊อตสินค้าการผลิต
(4) Start-up losses = หยุดจากการเริ่มต้นผลิตที่เกิดในตอนเริ่มต้นการผลิต ระหว่างสตาร์ทเครื่องจักร วิ่งลองเครื่อง จนเงื่อนไขการแปรรูปมีความเสถียร
(8) Shutdown (SD) losses = หยุดตามเวลาที่หยุดเครื่องจักรเพื่อทำการบำรุงรักษาตามแผนที่วางไว้ หรือวันหยุดต่างๆ
Performance Rate : มุมมองจะเน้นที่เรื่องของความเร็ว
(5) Minor stoppage and idling losses = หยุดจากเครื่องจักรเล็กๆ น้อยๆ และการเดินเครื่องจักรเปล่า หรือ Short stop
(6) Speed losses = ความสูญเสียจากความเร็วตกจากมาตรฐานที่กำหนด หรือที่เกิดจากผลต่างของความเร็วในการเดินจริงกับความเร็วที่ออกแบบของเครื่องจักร
Quality Rate : มุมมองจะเน้นที่เรื่องของเสียแบบนับจำนวน
(7) Defect and rework losses = ความสูญจากการผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพกลับมาเข้าขบวนการผลิตซ้ำอีกครั้ง หรือเพื่อทำการซ่อมแซมของดีที่ซ่อมได้ให้เป็นของดี
เพื่อให้เห็นอย่างง่ายๆผมเลยทำรูปการกำหนดความสูญแต่ละช่วงให้เห็นการบันทึกว่าจะแบ่งช่วงการบันทึกยังไงและตรงไหนเรียกว่าอะไร
รูปการกำหนดความสูญแต่ละช่วง
ค่าทั้งหมดจะต้องบันทึกไว้สำหรับการคิดคำนวณและเป็นฐานข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและยกระดับเครื่องจักรให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สุดท้ายนี้ก็จะทำให้ทราบได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบการผลิตของเราบ้าง ซึ่ง OEE จะเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นสภาพโดยรวมในระบบการผลิตนั่นเอง
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
ติดต่องาน www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art
You must be logged in to post a comment.