Kaikaku หรือไคคาคุ แปลคร่าวๆ ตามหลักการลีนได้ว่าเป็นการปรับปรุงแบบถอนรากถอนโคน ซึ่งในกิจกรรมของ TPM นั้นมี Planned Maintenance ที่ใช้กัน โดยจะมุ่งเน้นคือการทำ Zero Breakdown แบบการบำรุงรักษาเชิงประสิทธิผล (Productive Maintenance) เป็นเป้าหมายสำคัญ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ หมายถึงการบำรุงรักษาที่ประหยัดที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจนตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักร โดยใช้แนวคิดที่ว่า การควบคุมเครื่องจักรไม่เพียงแต่เป็นการควบคุมหลังจากการได้ติดตั้งเครื่องจักรเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดนั้น จำเป็นต้องควบคุมในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การสำรวจก่อนสร้างหรือซื้อเครื่องจักร การออกแบบ การผลิตเครื่องจักรและติดตั้ง
หากจะทำให้เข้าใจง่ายผมจะแบ่งกิจกรรมเป็น 2 อย่าง คือ ไคเซ็น (ปรับปรุง) และโฮเซ็น (ธำรงรักษา) เพื่ออธิบายวัตถุประสงค์แต่ละขั้นตอนการบำรุงรักษา
Hozen Activity (กิจกรรมโฮเซ็น (ธำรงรักษา))
PM : Preventive Maintenance (บำรุงรักษาเชิงป้องกัน) : เป็นการโฮเซ็น (ธำรงรักษา) ของเครื่องจักร จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขการใช้งานพื้นฐานของเครื่องจักร หมายความว่า ต้องทำให้มีการเดินเครื่องปกติ
DM : Daily Maintenance (การบำรุงรักษาประจำวัน) : เป็นการโฮเซ็น (ธำรงรักษา) ของเครื่องจักรหรือเรียกอีกอย่างว่าการบำรุงรักษาประจำวัน เช่น การหล่อลื่น , การขันแน่น , การปรับแต่ง , การตรวจสอบ และการเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อตรวจวัดความเสื่อมสภาพ
TBM : Time Based Maintenance (บำรุงรักษาตามคาบเวลา) : เป็นการบำรุงรักษาที่ดำเนินการเป็นรอบเวลาที่กำหนดตามคาบเวลา
CBM : Condition Based Maintenance (บำรุงรักษาจากการทำนายสภาพ) : เป็นการบำรุงรักษารูปแบบกำหนดต่อสภาพพยากรณ์การเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนเครื่องจักร โดยใช้เทคนิคการวินิจฉัยเครื่อง แล้วทำการคาดคะเนแนวโน้มตามความเป็นไปของการเสื่อมสภาพ
BM : Breakdown Maintenance (บำรุงรักษาหลังเกิดขัดข้อง) : เป็นการซ่อมเมื่อเครื่องจักรเสีย ที่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าและมักจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูง
PdM : Predictive Maintenance (การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์) : เป็นการบำรุงรักษาที่ใช้วิธีการหรือเทคนิคใหม่ๆ โดยใช้เครื่องมือวัดต่างๆเพื่อติดตามสภาพเครื่องจักร และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อการวางแผนในการซ่อมบำรุง
Kaizen Activity (กิจกรรมไคเซ็น)
CM : Corrective Maintenance (บำรุงรักษาเชิงแก้ไข) : เป็นการแก้ไขปรับปรุงวิธีบำรุงรักษาแต่จะหมายถึงการแก้ไขปรับปรุงตัวเครื่องจักรเพื่อที่จะลดความเสียหายจากการเสื่อมสภาพและค่าใช้จ่ายของการบำรุงรักษาลง กล่าวคือเป็นการปรับปรุง คุณสมบัติของเครื่องจักรให้ดีขึ้นนั่นเอง
MP : Maintenance Prevention (ป้องกันการบำรุงรักษา) เป็นการป้องกันการบำรุงรักษาจะได้ผลก็ต่อเมื่อมีข้อมูลและประวัติของเครื่องรุ่นแรก ๆ โดยละเอียด ซึ่งการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่จะช่วยให้การออกแบบหรือการเลือกซื้อเครื่องจักรบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการป้องกันการบำรุงรักษาได้
สุดท้ายนี้ Planned Maintenance ในบริบทของ TPM นั้นจะให้ความสำคัญของการสร้างระบบบริหารเครื่องจักร พร้อมกับการช่วยสนับสนุนการพัฒนาบุคคลากรขององค์กรให้สามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตัวเอง หรือ Autonomous Maintenance อย่างเป็นระบบ
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#ไม่มีสักวันเดียวที่จะผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนหนึ่งส่วนใดในองค์กร
You must be logged in to post a comment.