Zero Accident เป็นหนึ่งเป้าหมายหลักของ TPM ที่ต้องทำให้โรงงานนั้นไม่เกิดอุบัติเหตุ โดย TPM มุ่งเน้นการสร้างระบบที่จะทำให้อุบัติเหตุและมลภาวะเป็นศูนย์ ซึ่งจะทำเป็นขั้นตอนได้หลักได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : การค้นหาตำแหน่งที่ไม่มีความปลอดภัย
ขั้นตอนที่ 2 : มาตรการแก้ไขตำแหน่งที่ก่อให้เกิดความปลอดภัย
ขั้นตอนที่ 3 : ทบทวนเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหามาตรการที่ป้องกันในสภาวะที่พนักงานขาดสมาธิและไม่ระมัดระวังในช่วงขณะ อาจเรียกได้ว่าเป็นการปรับปรุงให้เครื่องจักรมีระบบป้องกันความพรั้งเผลอ หรือ Pokayoke ซึ่งการสร้างระบบของ SHE Pillar นี้จะเป็นลักษณะที่ต้องหาจริตขององค์กรตนเอง เพราะส่วนใหญ่จะเน้นการทำระบบ OHSAS 18001 (เอกสารเท่านั้น) และไม่ได้เกิดการปรับปรุงจริงที่หน้างาน สิ่งที่ TPM แตกต่างจากระบบมาตรฐานแต่สามารถทำให้เกิดรูปธรรมได้จริง โดยจุดมุ่งหมายของ TPM
คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิตเพื่อทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้
โดยมีวิธีการกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป
ด้วยการทำให้ “เป็นศูนย์” และ “ ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด ”
และทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์ ( Zero Loss ) และ SHE Pillar ก็จะทำให้เครื่องจักรให้ปลอดภัยและพัฒนาคนให้มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย
ผู้จัดการ SHE Pillar คนหนึ่งมาปรึกษาผมเรื่องการบริหารเสาและสร้างระบบขับเคลื่อนกิจกรรม ซึ่งผมเองก็ได้สร้าง Model คร่าวๆ เพื่อใช้ในการทำงานโดยอ้างอิงตามแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัย
・ ความปลอดภัยเป็นพื้นฐานของการบริหารธุรกิจ
・ การเพิ่มผลผลิตและความปลอดภัยเป็นหนึ่งเดียวกัน
・ มาตรการความปลอดภัยเชื่อมโยงสู่ความถูกต้องในการผลิต
・ ความปลอดภัยทำให้การสื่อสารดีขึ้น
・ ความปลอดภัยช่วยป้องกัน Loss ของเครื่องจักร
การสร้างระบบผมเองแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ดังนี้
1.มาตรการต่อแหล่งต้นตอที่เป็นปัจจัยอันตราย
– การเตรียมการ
สำรวจสภาพปัจจุบันที่พื้นที่หรือโรงงานของท่านเพื่อสำรวจสภาพที่แท้จริงของงานที่แย่ที่สุด โดยการลงพื้นที่หน้างานแบบ Genba
– สำรวจวิเคราะห์
การตรวจสอบปัจจัยอันตรายโดยรวมโดยเสาะหาเงื่อนไข 3M1E ของสภาพที่ควรจะเป็นจากกฎหมาย,กฎระเบียบบริษัท , ความรู้ในอดีต Know How หรือจาก drawing มาตรฐาน หรือใบสั่งงาน เป็นต้น
– พิจารณา/ไคเซ็นปัจจัยอันตราย
จัดทำลำดับปัจจัยอันตรายจากการเทคนิคการหาสาเหตุที่แท้จริง (Why Why Analysis, PM Analysis, FMECA, FTA เป็นต้น)
ไคเซ็นปัจจัยอันตรายในการตอกลิ่มเพื่อเป็นมาตรการในการป้องกัน ให้ดำเนินการโปกาโยเกะอย่างกระตือรือร้น
กำหนดเงื่อนไขให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ โดยกำหนดมาตรฐานที่สามารถงานหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือจัดทำ One Point Lesson ความปลอดภัย
2.การบำรุงรักษาความปลอดภัย
– สร้างมาตรฐาน
จัดทำและฝึกอบรมมาตรฐานการตรวจสอบและผู้จัดการต้องทำการฝึกอบรมสมาชิกกลุ่มอย่างจริงจัง เพื่อให้เข้าใจในโครงสร้าง ฟังก์ชั่น และกลไกของเครื่องจักรเพื่อให้รู้ว่าทำไมจึงต้องตรวจสอบแบบนั้น เพื่อให้ปฏิบัติงานได้ด้วยความปลอดภัย
– รักษาและยกระดับความปลอดภัย
ดำเนินการวินิจฉัย (audit) ความปลอดภัย ทบทวนแก้ไขมาตรฐาน/เกณฑ์ความปลอดภัย เพื่อยกระดับกิจกรรมความปลอดภัย อย่างก้าวกระโดดและดำเนินการประเมินล่วงหน้าด้านความปลอดภัยกับเครื่องจักรใหม่
สุดท้ายนี้การที่จะทำให้อุบัติเหตุเป็นศุนย์ได้ก็ต้องดำเนินการร่วมกันหลายเสา เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างเสาความปลอดภัยกับเสาอื่น อย่างเป็นระบบและทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรม TPM
” Zero Accident ด้วย TPM “
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art
You must be logged in to post a comment.