ทำไมต้องทำ QCC ??
Q.C.C. ย่อมาจาก Quality Control Circle หมายถึงกิจกรรมที่พนักงานในกลุ่มซึ่งจัดตั้งขึ้นมาโดยความสมัครใจได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น วิธีการบริหารนี้ได้ถูกคิดขึ้นโดย Dr.Deming ชาวอเมริกัน ต่อมาชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาแนวคิดดังกล่าวในปี ค.ศ. 1962 จนกระทั่งกลายเป็นกระบวนการในการพัฒนาและปรับปรุงการทำงาน อย่างต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ คำว่า Q.C.C.
ประกอบไปด้วยคำ 3 คำที่มีความหมายดังนี้ คือ
Q คือ Quality หมายถึง คุณภาพใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ คุณภาพงาน คุณภาพชีวิต และ คุณภาพสิ่งแวดล้อม
C คือ Control หมายถึง การควบคุมหรือการกระทำ ให้คุณภาพทั้ง 3 ข้างต้นอยู่ในระดับที่ต้องการ หรือ ในระดับมาตรฐานที่ดี
C คือ Circle หมายถึง วงจรควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 7 ขั้นตอน และยังหมายถึง วงจรเดมมิ่งอันประกอบด้วย PDCA ซึ่งย่อมาจาก Plan, Do, Check, Action
แล้วคุณล่ะทำ QCC กันแบบไหน แบบที่หัวหน้าคิดให้หรือลูกน้องคิดเอง ???
อันนี้แล้วแต่ที่สะดวกเลยนะครับ เพราะการที่คิดมาจากไหนก็ถือว่าเป็นกิจกรรม QCC แต่ขอให้กลุ่มพนักงานทำเองและทำจริงก็พอ
ขั้นตอนการทำนั้นสิน่าสนใจ เพราะ QCC จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่แบ่งพนักงานที่พร้อมจะพัฒนาไปกับองค์กร เพราะการที่มีบุคคลากรสามารถทำงานปรับปรุงได้ก็จะสามารถดำเนินการการไคเซ็น (ปรับปรุง) ที่รองรับแต่ละ Loss ไม่ว่าจะเป็นการลด 7 Major Loss ของเครื่องจักรที่นิยามมาจากสภาพที่ควรจะเป็นหรือจากการค้นหา Loss ตามการเกิดจากลักษณะพิเศษของโรงงาน ทำการคำนวณออกมาเป็นชิงปริมาณ (ยอดเงิน) แล้วเลือกเป็นหัวเรื่องขึ้นมาปรับปรุงเพื่อกำจัด Loss นั้นให้หมดไปหรืออาจจัดเป็นโปรเจคต์ทีม (ทีมรับผิดชอบการไคเซ็น) ต่างหาก เพื่อมุ่งสู่การที่ Loss เป็นศูนย์
ย้ำอีกครั้งนะกิจกรรม QCC หมายถึง กลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการ (3-10 คน) ที่ทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกันมารวมตัวกันอย่างอิสระเพื่อทำกิจกรรมด้านการปรับปรุงงานที่กลุ่มของตนรับผิดชอบอยู่ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลถึงการปรับปรุงคุณภาพโดยไม่มีใครบังคับ
ดังนั้นควรพิจารณาเรื่องที่ให้กลุ่มทำด้วยนะครับ โดยการแบ่งเรื่องสามารถแบ่งได้ดังนี้
Rank A : (Project Team ,ผู้จัดการฝ่าย, ผู้จัดการแผนก)
- การสูญเสียและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อหลายหน่วยงาน
- แหล่งที่ก่อให้เกิดการหกล้นหรือรั่วซึม ที่ปล่อยไว้เป็นเวลานาน
- ปัญหารุนแรง และเร่งด่วน เป็นเหตุให้ส่งมอบล่าช้า ลูกค้าตำหนิ
- ปัญหาซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมระดับสูง
- การปรับปรุงที่ต้องใช้เงินลงทุนมากว่า …. บาท
Rank B (หัวหน้างาน หรือ Staff)
- การสูญเสียและปัญหาที่จำกัดอยู่ภายในหน่วยงาน ความรุนแรง จากแหล่งสกปรกปานกลาง
- แก้ไขจุดบกพร่องของเครื่องจักร เช่น การออกแบบ และรับน้ำหนักของโครงสร้าง การประกอบและวัสดุใช้งาน
- การปรับปรุงที่ต้องใช้เทคโนโลยีปานกลาง
- การปรับปรุงที่ต้องใช้เงินลงทุนระหว่าง…..บาท ถึง ……บาท
Rank C (พนักงานปฏิบัติงาน)
- การสูญเสียที่โอเปอเรเตอร์สามารถกำจัดได้ด้วยตนเอง จากการชี้แนะและช่วยเหลือจากผู้รู้
- ปรับปรุงบริเวณเข้าถึงลำบาก ต่อการเดินเครื่อง ตรวจสอบ และหล่อลื่น เป็นกิจวัตร
- กำจัดแหล่งความสกปรกโดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องจักรมากเกินไป
ต้วอย่างการแบ่งตามรูปตัวอย่าง
#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล
FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN
#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art
You must be logged in to post a comment.