ความสัมผัสระหว่าง Visual Management และ Action

คือ เป็นการให้ความสําคัญกับข้อมูลข่าวสารที่จําเป็นในการทํางานผ่านสายตาของพนักงานเห็น “ข้อมูล”

สำหรับให้ผู้คนได้เห็นและรับรู้ ว่าเป้าหมายและผลการทํางานเป็นไปตามที่เป็นไปอย่างชัดเจนอยู่ตลอดหรือไม่ผลลัทธ์ในที่นี้เป็นไปได้ทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ ประสิทธิภาพ ความพึงพอใจของลูกค้า หรือตัวชี้วัดอื่นก็ได้การทำ Visual ที่มักเห็นมีด้วยกัน 2 แบบหลักๆ

Visual Display

          ลักษณะเป็นการแสดงด้วยภาพเพื่อสื่อสารสนเทศการมองเห็น (Visual Information) หรือเพื่อใช้ป้องกันความผิดพลาด (Prevent Mistake) ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ซึ่งมักแสดงด้วยรหัส/แถบสี (Color Coding) หรือการใช้เครื่องหมายแสดงระดับความปลอดภัย ( Safe Range ) หากมองเห็นจะเห็นการได้ตามชีวิตประจำวัน เช่น ป้ายบอกทาง , แผนที่รถไฟ เป็นต้น

1

 

Visual Control

         ลักษณะเป็นการแสดงด้วยภาพเพื่อควบคุม นิยมใช้ในการบริหารโรงงานด้วยหลักการมองเห็น (Visual Factory Management) เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนการปรับปรุงผลิตภาพทั่วทั้งโรงงานโดยครอบคลุมถึงปัจจัยต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นการใช้สัญญาณเสียง (Audio Signals) เพื่อใช้แจ้งเตือนปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงงานหรืออาจเรียกว่า Sound Warning ตัวอย่างvisual control เช่น การเกิดปัญหาเครื่องจักรขัดข้องในสายการผลิต นอกจากนี้ยังใช้สำหรับการแจ้งเวลาเริ่มต้นและหยุดพักการทำงาน

          แต่ไม่ว่าคุณทำ Visual Management แบบไหนคุณจะต้องมีขั้นตอนสำหรับการตอยโต้ เมื่อผลลัพธ์ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางแผน ขั้นตอนนี้ผมถือว่าคำคัญอย่างมาก เพราะการบริหารด้วยการมองเห็น ทำไว้เผื่อให้เราสามารถตรวจสอบและสังเกตได้รวดเร็ว โดยเน้นการใช้สี สัญลักษณ์ หรืออะไรก็ตามที่สามารถตรวจโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ เพราะหากเกิดความผิดปกติก็สามารถแก้ไขได้ทันที

dolcemascolo_wrap1

“ปกติ ก็รู้ชัดว่าปกติ , ผิดปกติ ก็รู้ชัด ว่าผิดปกติ”

เมื่อทราบเราต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบ SDCA และ PDCA

Corrective Action : มุ่งเน้นที่การแก้ไขไปได้โดยปกติอย่างรวดเร็ว 

Preventive Action : มุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น

 

 

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล

FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art