รูปแบบการสร้างกำไรสไตส์ TPM

         Total Productive Maintenance ถูกพัฒนาจากหน่วยงาน Japan Institute of Plant Maintenance (JIPM) โดยมีรากฐานมากจากการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ PM : Preventive Maintenance (บำรุงรักษาเชิงป้องกัน)  ซึ่งเป้าหมายเป็นหมายเพื่อลดการใช้แรงงานในอุตสาหกรรม โดยสร้างวิธีเพิ่มผลผลิตและเพิ่มความเชื่อถือผ่านรูปแบบการบริหารการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิต  เพื่อทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้โดยมีวิธีการ คือ การกำจัด Loss ทุกรูปแบบให้หมดสิ้นไป  ด้วยการทำให้  “เป็นศูนย์”  และ “ป้องกันการเกิดซ้ำ , ป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิด” โดย ทุกคนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมเพื่อกำจัดความสูญเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Loss)

รูปแบบการสร้างกำไรสไตส์ TPM

การดำเนินการของ TPM มุ่งเน้นการแก้ไขที่ตัวเองการก่อนระดับ Shop Floor โดยมี 2 ส่วนงานที่เป็นกำลังหลักคือ Production และMaintenance จากการนั้นยกระดับขึ้นไปเป็น Production Process จนไปถึง Business Process และสามารถกำจัดคำนิยามได้ดังนี้

TPM Part I จะมุ่งเน้น “การลดต้นทุนการผลิต”

TPM Part II จะสร้างบริษัทให้สามารถสร้างผลกำไรโดย “การลดต้นทุนผลิตภัณฑ์”

TPM Part III มุ่งเน้น “พัฒนาและยกระดับกระแสเงินสด (Cash Flow)” ให้ดีขึ้น

TPM 3 part

อีกคำถามยอดอิตทำไมต้องทำ TPM ซึ่งผมเองก็ตอบแบบตรงๆ เลยว่าทุกองค์กรต้องการที่จะสร้าง Operational Excellence สำหรับกำหนดเส้นทางสู่เป้าหมายเพื่อการเจริญเติมโตอย่างยั่งยืน ซึ่งผมได้รวบรวมเหตุผลที่องค์กรทำ TPM ถ้าคุณมีครบทั้งองค์ประกอบหรือมี 3 ใน 5 ควรดำเนินการอย่างยิ่ง !!!

  1. องค์กรคุณมีใช้เครื่องจักรเป็นหลักและต้องการไม่ให้เกิดเครื่องจักรขัอข้อง
  2. องค์กรต้องการงานปรังปรุงที่ได้รับผลลัพธ์ในเชิงรูปธรรม
  3. องค์กรต้องการสร้างระบบการพัฒนาบุคคลากรและระบบเชิงป้องกันกับการสูญเสียทั้งหมดล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ
  4. องค์กรต้องการเพิ่มขีดความสามารถวิเคราะห์สาเหตุความสามารถทำไคเซ็น และความสามารถกำหนดเงื่อนไข ให้กับบุคคลากร
  5. องค์กรคุณต้องการสร้างผลกำไรแบบยั่งยืน

 

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ

#วินัยสร้างจากมาตรฐานที่มีประสิทธิผล

FB : www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN

#TPMInstructor #วิศวกรเค้นประสิทธิภาพ #Engiperform #Coach_Art

 

Posted in UncategorizedTagged